ด้วยความด้อยปัญญาทางด้านธุรกิจ เลยไม่รู้ว่าอย่างนี้มันผิดรึเปล่า หรือเค้าทำกันจนเป็นปกติแล้ว พอได้ไปเจอมา แล้วสงสัยก็เลยฝากถามด้วยครับ (ตัวเต็มๆ มีอีกยาวเลย แต่เสียตังค์)
------------------------------------------
12 ก.พ. 37
นายชัยรัตน์ เชียงพฤกษ์ พนักงานรักษาความปลอดภัยของ บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) จำกัด (มหาชน) จำนวน 2,460,000 หุ้น
11 เม.ย. 37
นายชัยรัตน์ เชียงพฤกษ์ ถือหุ้น บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,350,342 หุ้น
น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี คนรับใช้ที่บ้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้น บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 6 ล้านหุ้น
น.ส.บุญชู เหรียญประดับ คนรับใช้ที่บ้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้น บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,680,000 หุ้น
25 ต.ค. 37
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย
1 พ.ย. 37
นิตยสาร "WHo's WHO In Business & Finance" ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 พฤศจิกายน 2537, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ในราวกลางปี 2537 นายชัยรัตน์ เชียงพฤกษ์, น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี และ น.ส.บุญชู เหรียญประดับ ถือหุ้นในบริษัทต่างของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมกันเป็นมูลค่ากว่า 11,295.37 ล้านบาท
28 ธ.ค. 37
นายชัยรัตน์ เชียงพฤกษ์ ถือหุ้น บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น (ยูคอม) จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 ล้านหุ้น
น.ส.บุญชู เหรียญประดับ ถือหุ้น บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น (ยูคอม) จำกัด (มหาชน) จำนวน 4.15 ล้านหุ้น
3 ก.พ. 38
นายชัยรัตน์ เชียงพฤกษ์ ถือหุ้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เพิ่มเป็น 7,380,000 หุ้น
11 ก.พ. 38
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
10 เม.ย. 38
นายชัยรัตน์ เชียงพฤกษ์ ถือหุ้น บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น (ยูคอม) จำกัด (มหาชน) เพิ่มเป็น 3,125,000 หุ้น
น.ส.บุญชู เหรียญประดับ ถือหุ้น บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น (ยูคอม) จำกัด (มหาชน) เพิ่มเป็น 8.3 ล้านหุ้น
18 ก.ค. 38
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ส.ส.กรุงเทพมหานคร ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา
28 ส.ค. 38
นายชัยรัตน์ เชียงพฤกษ์ ถือหุ้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ลดลงเหลือ 6,950,000 หุ้น
5 ม.ค. 39
น.ส.บุญชู เหรียญประดับ ถือหุ้น บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น (ยูคอม) จำกัด (มหาชน) ลดลงเหลือ 4.15 ล้านหุ้น
10 เม.ย. 39
นายชัยรัตน์ เชียงพฤกษ์ ถือหุ้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ลดลงเหลือ 3,000,000 หุ้น
26 เม.ย. 39
น.ส.บุญชู เหรียญประดับ ถือหุ้น บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มเป็น 2,670,000 หุ้น
14 ส.ค. 39
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
2 ม.ค. 40
น.ส.บุญชู เหรียญประดับ ถือหุ้น บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น (ยูคอม) จำกัด (มหาชน) ลดลงเหลือเหลือ 3.225 ล้านหุ้น
15 ส.ค. 40
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี โดยไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
26 ก.ย. 40
นายชัยรัตน์ เชียงพฤกษ์ ถือหุ้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ลดลงเหลือ 2,504,685 หุ้น
8 ต.ค. 40
นายชัยรัตน์ เชียงพฤกษ์ ถือหุ้น บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มเป็น 1,657,600 หุ้น
น.ส.บุญชู เหรียญประดับ ถือหุ้น บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ลดลงเหลือ 1,824,700 หุ้น
11 ต.ค. 40
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ 2540 ซึ่งมีบทบัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เป็นรัฐมนตรีต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ
7 พ.ย. 40
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินย้อนหลังสำหรับการเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2540
4 ธ.ค. 40
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินย้อนหลังสำหรับการพ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540
4 ธ.ค. 41
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเนื่องมาจากการพ้นตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 1 ปี
25 เม.ย. 42
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
29 ก.ค. 42
คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้ บริษัท โอเอไอพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กู้ยืมเงิน โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงิน 7 ฉบับ ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2542 - 23 สิงหาคม 2543 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปี รวมเป็นเงินกู้จำนวน 800 ล้านบาท
31 ส.ค. 42
คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้ บริษัท อัพคันทรี แลนด์ จำกัด กู้ยืมเงิน โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับ ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2542 คิดอัตราดอกเบี้ยตาม MLR ของธนาคารกสิกรไทย รวมเป็นเงินกู้จำนวน 110 ล้านบาท
ให้ บริษัท โอเอไอ คอนซัลแตนท์ แอนด์ แมนเนจเมนท์ จำกัด กู้ยืมเงิน โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับ ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2542 คิดอัตราดอกเบี้ยตาม MLR ของธนาคารกสิกรไทย รวมเป็นเงินกู้จำนวน 32 ล้านบาท
22 ก.พ. 43
คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้ บริษัท เจ้าคุณอุตสาหกรรมและการเกษตร จำกัด กู้ยืมเงิน โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี รวมเป็นเงินกู้จำนวน 160.2 ล้านบาท
21 มี.ค. 43
คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้ บริษัท มิลเลนเนียม เฮ้าส์ จำกัด กู้ยืมเงิน โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 21 มีนาคม 2543 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปี รวมเป็นเงินกู้จำนวน 38.6 ล้านบาท
27 เม.ย. 43
คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้ นางบุษบา ดามาพงศ์ กู้ยืมเงิน โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 27 เมษายน 2543 รวมเป็นเงินกู้จำนวน 118.9 ล้านบาท โดยผู้ให้กู้ไม่คิดอัตราดอกเบี้ย และผู้กู้สัญญาว่าจะใช้คืนเมื่อถูกทวงถาม
1 ก.ย. 43
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ นายพานทองแท้ ชินวัตร กู้ยืมเงิน โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงิน 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งลงวันที่ 30 สิงหาคม 2543 อีกฉบับหนึ่งลงวันที่ 1 กันยายน 2543 รวมเป็นเงินกู้ 409.2 ล้านบาท และให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กู้ยืมเงิน โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 1 กันยายน 2543 เป็นเงินกู้จำนวน 20 ล้านบาท
คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ กู้ยืมเงิน โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 16 มีนาคม 2542, วันที่ 29 ธันวาคม 2542 และวันที่ 1 กันยายน 2543 รวมเป็นเงินกู้จำนวน 450.3 ล้านบาท
ให้ นายพานทองแท้ ชินวัตร กู้ยืมเงิน โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับ ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2543 จำนวน 2 ฉบับ ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จำนวน 1 ฉบับ และลงวันที่ 1 กันยายน 2543 จำนวน 1 ฉบับ รวมเป็นเงินกู้จำนวน 5,056.3 ล้านบาท
โดยทุกรายการ ผู้ให้กู้ไม่คิดอัตราดอกเบี้ย และผู้กู้สัญญาว่าจะใช้คืนเมื่อถูกทวงถาม
จากคุณ :
lastphenix
- [
16 พ.ย. 48 18:10:12
]