ความคิดเห็นที่ 4
/* คลังสมอง */ คอลัมน์คลังสมองฉบับนี้ขอเสนอปัญหาของระบบควบคุมการลงทุนในตลาดอนุพันธ์ที่หละหลวม โดยหยิบยกกรณีล้มละลายของบริษัทแบริ่งส์ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา การลงทุนที่ผิดพลาดของบริษัท แบริ่งส์ ฟิวเจอร์ สิงคโปร์ ในตลาดตรา สารอนุพันธ์ (Financial Derivatives) อันทำให้บริษัทขาดทุนเป็นเงินกว่า 500 ล้านปอนด์ ซึ่งมากกว่ามูลค่าทรัพย์สินรวมของกลุ่ม แบริ่งส์ทั้งหมด ส่งผลให้บริษัทแบริ่งส์ บราเธอร์ มหาชน ซึ่งเป็น 1 ใน 6 ของกิจการวาณิชธน กิจที่เก่าแก่ที่สุดของอังกฤษล้มละ ลายลง แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศอังกฤษจะได้เข้ามาช่วยเหลือโดยพยายามหาผู้มาซื้อกิจ การ แต่ผลการขาดทุนที่ไม่อาจประเมินมูลค่าได้ว่าจะไปหยุดอยู่ที่เท่าไร ทำให้ไม่มีสถาบัน การเงินใดกล้าซื้อกิจการ ฝันที่จะทำให้ แบริ่งส์ บราเธอร์ฯ ฟื้น จึงอันตรธานไปในที่สุด การขาดทุนครั้งมโหฬารนี้ เป็นผลมาจากการที่นาย นิค ลีสัน หนุ่มนักวาณิชธนากรวัย 28 ปี ที่มีพื้นฐานครอบครัวมาจากชนชั้นกลางของอังกฤษ แต่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นนัก วาณิชธนากรชั้นหัวแถว ก่อนหน้านี้เขาได้เคยสร้างผลกำไรอย่างงามให้กับแบริ่งส์ฯ จนถึง ขั้นได้รับรางวัลเป็นเรือยอร์ชพร้อมเงินอีกจำนวนหนึ่งตามสัดส่วนกำไรเป็นผลตอบแทน ด้วยความมั่นใจในตัวเอง นิค ลีสัน จึงได้ตัดสินใจลงทุนในพันธบัตร และตรา สารอนุพันธ์ ซึ่งอิงกับดัชนีนิคเคอิในตลาดล่วงหน้าโอซากาของญี่ปุ่น เป็นจำนวน 15,000- 20,000 สัญญา แต่ละสัญญามีมูลค่าประมาณ 120,000 ปอนด์ โดยหวังว่าดัชนีนิคเคอิจะ ปรับตัวสูงขึ้น อันจะทำให้การตัดสินใจลงทุนของเขาได้กำไรอย่างงาม แต่ฝันของนิค ลีสัน ก็ตัองมีอันเป็นไป เมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหว ดัชนีนิคเคอิดิ่งลง การลงทุนของเขา จึงกลายเป็นการลงทุนที่ผิดพลาดอย่างช่วยไม่ได้ นิค ลีสัน รู้ว่าไม่อาจแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้แน่แล้ว จึงตัดสินใจหนีออกจาก สิงคโปร์ โดยมีข่าวว่าเขาได้หลบซ่อนตัวอยู่ในมาเลเซีย ตำรวจมาเลเซียได้เตรียมการจับ กุม แต่ในที่สุด นิค ลีสัน ก็ปรากฏตัว ที่ท่าอากาศยานแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี และ ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวในที่สุด หลังจากนั้นทางการสิงคโปร์ก็ได้ขอให้ทางเยอรมนีส่งตัวกลับไป ดำเนินคดีที่สิงคโปร์ ข่าวการขาดทุน์ของบริษัท แบริ่งส์ฯ ดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบไปยังตลาดหุ้นทั่วโลก ให้ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะตลาดหุ้นโตเกียว ดัชนีนิคเคอิปรับตัวลดลงกว่า 800 จุด และ ปิดลงต่ำกว่าระดับ 17,000 เป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน ส่งผลกระทบด้านจิตวิทยาให้ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงทันทีถึงกว่า 40 จุด ขณะเดียวกัน หุ้นของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนสยาม ซึ่งเป็นตัวแทนในการส่งผ่านคำสั่งซื้อขายหุ้นของแบริ่งส์ ถูกเทขายออกมาเป็น จำนวนมาก เนื่องจากนักลงทุนเกรงว่า บริษัทจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ผู้บริหารของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนสยาม ได้ออกมาชี้แจงว่า ทางบริษัทฯ ไม่ได้รับผล กระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะเป็นการทำธุรกิจร่วมกันเท่านั้น ไม่ได้มีการถือหุ้น ระหว่างกันแต่อย่างใด ทำให้ดัชนีกระเตื้องขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังติดลบกว่า 20 จุด มาปิดที่ 1,270.77 มีมูลค่าการซื้อขายรวม 6,044 ล้านบาท เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัท แบริ่งส์ ฟิวเจอร์ สิงคโปร์ ดังกล่าว ถือเป็นบทเรียน ที่มีค่ายิ่งของรัฐบาลสิงคโปร์และบรรดาสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ขาดระบบดูแลตรวจสอบ การลงทุนที่เหมาะสมรัดกุม ซึ่งทางการสิงคโปร์ ก็ได้ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว และ รัฐสภาสิงคโปร์ได้ให้การรับรองกฎหมาย ที่มีความเข้มงวดมากกว่าเดิม เพื่อป้องกันมิให้ เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย สำหรับประเทศไทย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นกรณีศึกษาที่ดี เนื่องจากตามแผนพัฒนา ระบบการเงิน พ.ศ. 2538-2543 ได้มีโครงการที่จะจัดตั้งตลาดอนุพันธ์ขึ้นมา โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักลงทุนได้มีเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน ดังนั้นจึงควรมี การจัดระบบควบคุมการลงทุนที่รัดกุมชัดเจน เพราะการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ เป็นการ ซื้ออนาคต ผลที่จะตามมาไม่อาจทราบได้ในทันที เป็นที่น่ายินดีว่าทางรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ดังเห็นได้จากคำ กล่าวของนายสมชัย ฤชุพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่ว่า กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และจะถือเป็นบท เรียนในการจัดตั้งตลาดอนุพันธ์ และใน การหามาตรการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อไป นอกจากนี้ นายวิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ให้ความ สำค้ญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยได้ออกหนังสือเวียนไปยังธนาคารต่าง ๆ เพื่อให้รายงาน ระบบการควบคุมข้อมูลภายในเกี่ยวกับธุรกรรม และการค้าตราสารอนุพันธ์ มาให้ เพื่อที่ จะทราบว่ามีระบบป้องกันความเสี่ยงที่เพียงพอหรือไม่
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือได้ว่า ภาครัฐมีบทเรียนที่ต้องหาทางป้องกัน และมาตรการ แก้ไข อันจะเป็นหนทางในการพัฒนาระบบการเงินไทย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ มั่นคงได้ ซึ่งจะทำให้ตลาดอนุพันธ์เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่แท้จริงต่อไป ไม่ ใช่เครื่องมือสร้างความหายนะอย่างที่เกิดขึ้นกับกลุ่มแบริ่งส์ฯ ที่ผ่านมา จาก ข้อมูลข่าวอิเล็กโทรคส์ สำนักข่าวไทย
ที่มา : http://www.fedu.uec.ac.jp/ATPIJ/sakkayaphab/vol2-6/VOL2-6.txt
****************************************************************
ไปดูหน้าตานายลีสันได้ที่บล๊อก k.roadtrip
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=roadtrip&month=07-2005&date=30&group=2&blog=1
จากคุณ :
nat1234
- [
21 พ.ย. 48 20:05:33
]
|
|
|