ความคิดเห็นที่ 5
ดีเซลจากพืช ทางเลือกใหม่ของพลังงาน
จากสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณมาก โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลใช้มากถึง 43 ล้านลิตรต่อวัน คิดเป็น 46.6 % ของปริมาณน้ำมันที่ใช้ภายในประเทศ มีสัดส่วนการใช้สูงกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ราคาน้ำมันก็ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งความต้องการเสริมสร้างความมั่นคงในด้านพลังงานของประเทศ รวมถึงความต้องการลดมลพิษเพื่อให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ทำให้มีหลายหน่วยงานได้ทำการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบภายในประเทศ เช่น น้ำมันพืชชนิดต่างๆ น้ำมันพืชใช้แล้ว ฯลฯ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใช้แทนน้ำมันดีเซล เรียกว่า ไบโอดีเซล
ไบโอดีเซล ( Biodiesel) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำน้ำมันพืชชนิดต่างๆ หรือน้ำมันสัตว์มาสกัดเอายางเหนียวและสิ่งสกปรกออก ( Degumming) จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการทางเคมี ( Transesterification) โดยการเติมแอลกอฮอล์ เช่น เอทานอล หรือเมทานอล และตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ ภายใต้สภาวะที่มีอุณหภูมิสูง เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างของน้ำมันจาก Triglycerides เป็น Organic Acid Esters เรียกว่าไบโอดีเซล และได้กลีเซอรอลเป็นผลพลอยได้ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมยา เครื่องสำอาง ฯลฯ วัตถุประสงค์ของกระบวนการดังกล่าวคือ ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของน้ำมันในเรื่องความหนืดให้เหมาะสมกับการใช้งานกับเครื่องยนต์ดีเซล และเพิ่มค่า cetane number
การใช้ไบโอดีเซลสามารถลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นผลจากการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ได้ส่วนหนึ่ง เนื่องจากองค์ประกอบของไบโอดีเซลไม่มีธาตุกำมะถัน แต่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 10 % โดยน้ำหนัก จึงช่วยการเผาไหม้ได้ดีขึ้นและลดมลพิษซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอนคาร์บอนมอนนอกไซด์ ฝุ่นละออง ฯลฯ นอกจากนี้ไบโอดีเซลมีคุณสมบัติในการหล่อลื่นดีกว่าน้ำมันดีเซล จึงมีการนำไบโอดีเซลมาใช้ผสมน้ำมันดีเซลในสัดส่วนต่างๆ กัน หรือใช้โดยไม่ต้องผสมกับน้ำมันดีเซลเลยก็ได้ แต่ไบโอดีเซลเป็นตัวทำละลายที่ดี จึงอาจทำให้ท่อทางเดินน้ำมัน ซึ่งทำจากยางและพลาสติกบวม และรั่วได้ ดังนั้นการใช้ไบโอดีเซลในรถยนต์จะต้องสอบถามบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ก่อนว่าสามารถใช้ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงได้หรือไม่
ประเทศไทยมีการเพาะปลูกพืชน้ำมันหลายชนิดใช้ในการบริโภค เช่น ถั่วเหลือง ปาล์ม-น้ำมัน ถั่วลิสง มะพร้าว ละหุ่ง งา ฯลฯ ในบรรดาพืชน้ำมันทั้งหมด ปาล์มน้ำมันมีปริมาณผลผลิตสูงและราคาถูก จึงเหมาะสมในการนำมาผลิตไบโอดีเซล แต่ในการผลิตควรคำนึงถึงปริมาณและความต้องการใช้น้ำมันในการบริโภคและในอุตสาหกรรมด้วย เช่น ในปี 2545 มีผลผลิตปาล์มน้ำมัน 4 ล้านตัน หรือน้ำมันปาล์ม 68,000 ตันต่อเดือน ตลาดมีความต้องการใช้ 55,000 ตันต่อเดือน จะเหลือน้ำมันปาล์มส่วนเกิน 13,000 ตันต่อเดือน นั่นคือปริมาณของน้ำมันที่จะนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์ไม่มากนัก ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนให้รอบคอบ เพื่อให้คุ้มค่าที่สุดในเชิงเศรษฐศาสตร์
ในต่างประเทศมีการผลิตและจำหน่ายไบโอดีเซล เช่น สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม สวีเดน ฝรั่งเศส ออสเตรีย เยอรมัน ฯลฯ โดยนิยมนำไปผสมเป็นสูตรต่างๆ เช่น B2 ( ไบโอดีเซล 2%: ดีเซล 98%) มีจำหน่ายในมลรัฐมินนิโซตา และ B20 ( ไบโอดีเซล 20%: ดีเซล 80%) มีจำหน่ายในรัฐไอโอวา ประเทศสหรัฐอเมริกา B5 ( ไบโอดีเซล 5%: ดีเซล 95%) มีจำหน่ายในประเทศฝรั่งเศส B100 ( ไบโอดีเซล 100%) ใช้ในประเทศเยอรมันและออสเตรีย เป็นต้น ไบโอดีเซลที่ผลิตและจำหน่ายเป็นการค้าในต่างประเทศต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนด ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรฐาน ASTM D 6751 สหภาพยุโรปได้กำหนดมาตรฐาน EN 14214 ประเทศเยอรมันได้กำหนดมาตรฐาน DIN 51606 ส่วนประเทศไทยมีการผลิตไบโอดีเซลในระดับโรงงาน ที่อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกำลังผลิต 30,000 ลิตรต่อวัน โดยใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันพืชใช้แล้วเป็นวัตถุดิบ ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อใช้ในกิจการตนเอง โดยใช้กับเรือเฟอรี่ และใช้ในการศึกษาวิจัยเท่านั้น ดังนั้นหากมีผลการศึกษาในเรื่องดังกล่าวชัดเจนมากขึ้น และมีความพร้อมในการใช้และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ กรมธุรกิจพลังงานก็จะดำเนินการกำหนดมาตรฐานน้ำมันไบโอดีเซลเพื่อบังคับใช้ต่อไป แต่อย่างไรก็ตามสำหรับน้ำมันดีเซลทั่วไป กรมธุรกิจพลังงานได้มีการกำหนดมาตรฐานควบคุมคุณภาพอยู่แล้ว
สำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน มิถุนายน 2546 ขอจงทรงพระเจริญ
จากคุณ :
Jack Wealth
- [
6 ธ.ค. 48 11:09:15
]
|
|
|