ความคิดเห็นที่ 1
ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2548 (แสดงเป็นกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง(ถ้ามี)) ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว 1. นายณัฐวุฒิ์ มโนสุทธิ 68,273,600 32.51 2. นายราชศักดิ์ สุเสวี 24,289,600 11.57 3. น.ส.สุวิมล ภัทรสุวรรณกุล 20,000,000 9.52 4. นายเขมรัฐ โอสถาพันธุ์ 19,736,800 9.40 5. กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์* 9,000,000 4.29 6. นายกมล เอี้ยวศิริกุล 5,180,000 2.47 7. นางศิริรัตน์ จารุสมบัติ 5,000,000 2.38 8. บริษัทหลักทรัพย์ อินเทลวิชั่น จำกัด (มหาชน) 3,600,000 1.71 9. นางทยา ทีปสุวรรณ 3,100,000 1.48 10. นางวิมลรัตน์ กุลดิลก 3,000,000 1.43 รวม 161,180,000 76.75 หมายเหตุ: * กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ ประกอบด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 5,842,851 หุ้น และบริษัท บริหารสินทรัพย์ จตุจักร จำกัด จำนวน 3,157,149 หุ้น จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2548 ปรากฏดังนี้ ระยะเวลาห้ามจำหน่าย ผู้ถือหุ้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารงานของบริษัท (Strategic Shareholders) ได้แก่ ผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุม กรรมการและผู้บริหารของบริษัทรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคลดังกล่าว รวมทั้งผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5 ของทุนชำระแล้วและผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือหุ้นรวม 155,500,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 74.05 ของทุนชำระแล้วของบริษัท ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหลักทรัพย์ทั้งหมดของตนออกขาย ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัท กลับมาทำการซื้อขายในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยในช่วง 6 เดือนแรก ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทยอยขายหลักทรัพย์ได้ร้อยละ 25 ของจำนวนหลักทรัพย์ที่ถูกห้ามขายทั้งหมด และใน 6 เดือนถัดไปสามารถทยอยขายหลักทรัพย์ได้อีกร้อยละ 25 ของจำนวนหลักทรัพย์ที่ถูกห้ามขายทั้งหมด บริษัทได้ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งสามารถสรุปเป็น 5 ขั้นตอน ได้ดังนี้
1. การลดทุนของบริษัทลงกึ่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2547 บริษัทได้ลดทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วของบริษัท จากจำนวน 210,000,000 บาท โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 21,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท คงเหลือเป็นทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำระแล้วจำนวน 105,000,000 บาท โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10,500,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทได้นำส่วนที่ลดทุนดังกล่าวหักกลบกับผลขาดทุนสะสมของบริษัท
2. การโอนสินทรัพย์ให้กับเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ บริษัทได้โอนอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และเครื่องจักร เพื่อชำระหนี้บางส่วนให้แก่เจ้าหนี้ผู้ถือหลักประกันในระหว่างปี 2545 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 271.78 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในปี 2547 บริษัทได้ใช้สิทธิซื้อคืนที่ดินและโรงงานผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่จังหวัดสมุทรปราการ จากเจ้าหนี้ของบริษัท ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด โดยใช้วงเงินกู้ใหม่จากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง
3. การเพิ่มทุนของบริษัท เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 105,000,000 บาท เป็น 2,100,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญจำนวน 199,500,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท แบ่งขายเป็นสองกลุ่มดังนี้ - กลุ่มที่ 1 จำนวน 42,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท จัดสรรให้เจ้าหนี้เดิมของบริษัทโดยวิธีการแปลงหนี้เป็นทุนของบริษัทที่ราคาหุ้นละ 5.00 บาท - กลุ่มที่ 2 จำนวน 157,500,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ของบริษัท ในราคาหุ้นละ 3.80 บาท
4. การชำระคืนหนี้ให้กับเจ้าหนี้ บริษัทได้ชำระหนี้ในส่วนของเงินต้น รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 233.21 ล้านบาท โดยมีแหล่งเงินทุนมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท และเงินเพิ่มทุนจากผู้ร่วมทุนรายใหม่
5. การลดหนี้ในส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยค้างชำระ ภายหลังการชำระหนี้ดังกล่าว บริษัทได้รับการลดหนี้จากเจ้าหนี้ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,609.68 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทได้ได้ดำเนินการชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อเดือนกันยายน 2547
จากการดำเนินการข้างต้น ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของบริษัท เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2547 เนื่องจากบริษัทได้ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการเป็นผลสำเร็จ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
ภายใต้การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการข้างต้น บริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นและโครงสร้างการจัดการ โดยมีกลุ่มผู้ร่วมทุนใหม่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท คิดเป็นสัดส่วนรวมประมาณร้อยละ 75 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว 2,100 ล้านบาท และมีคณะกรรมการและทีมผู้บริหารมืออาชีพชุดใหม่มาบริหารงานแทนคณะกรรมการและทีมผู้บริหารชุดเดิม โดยทีมผู้บริหารชุดใหม่มีนโยบายที่จะขยาย การประกอบธุรกิจ โดยเน้นการเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างในลักษณะ Main Contractor และเป็นที่ปรึกษาโครงการ ก่อสร้าง ซึ่งทำให้บริษัทมีช่องทางในการประกอบธุรกิจเพิ่มมากขึ้น และสามารถเติบโตตามการขยายตัวของภาวะการก่อสร้างในปัจจุบัน และมีฐานะการเงินมั่นคงขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์พิจารณาในการขอพ้นเหตุเพิกถอนและย้ายหลักทรัพย์กลับสู่หมวดอุตสาหกรรม ปกติตามหนังสือเวียนของตลาดหลักทรัพย์ที่ บจ.(ว) 28/2547 ฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2547 และได้ดำเนินการตามเงื่อนไขการผ่อนปรนคำสั่งเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นการชั่วคราว ตามหนังสือแจ้งที่ วค. 159/2547 ที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดครบถ้วนแล้ว ดังนี้ 1. งบการเงินรวมของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 และวันที่ 30 กันยายน 2548 ซึ่งผ่านการตรวจสอบ และการสอบทานจากผู้สอบบัญชี แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวกจำนวน 394.57 ล้านบาท และ 422.44 ล้านบาท ตามลำดับ 2. บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานในธุรกิจหลักในงวด 4 ไตรมาสล่าสุด เท่ากับ 26.07 ล้านบาท ซึ่งสรุปได้ดังนี้
หน่วย: บาท ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 รวม ปี 2547 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2548 (ก.ค.-ก.ย.) (ต.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-มี.ค.) (เม.ย.-มิ.ย.) กำไรก่อนรายการ พิเศษ 1,347,467 20,928,179 11,428,781 11,637,700 45,342,127 หัก รายได้จากการ ประนอมหนี้ 0 7,478,849 0 0 7,478,849 หัก รายได้จากการ ตัดจำหน่ายหนี้สิน 0 0 8,516,439 379,371 8,895,810 หัก รายได้จากการ ยกเลิกโครงการ 0 0 0 11,100,000 11,100,000 หัก รายได้อื่น* 0 328,208 348,493 (78,622) 598,079 บวก ต้นทุนจากการ ยกเลิกโครงการ 0 0 0 8,800,000 8,800,000 กำไรสุทธิจากการ ดำเนินงาน 1,347,467 13,121,122 2,563,849 9,036,951 26,069,389
จากคุณ :
Jack Wealth
- [
7 ธ.ค. 48 09:38:23
]
|
|
|