ความคิดเห็นที่ 15
ไปเสริชข่าวเก่าๆ เรื่องก๊าซจากสำนักข่าวไทยมาให้ครับ จาก http://rdd.mcot.net/top/43/eco/eng_pipeline_burma/eng_pipeline_burma01.htm
**************************
23 พ.ค.43 - คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) กู้เงินในประเทศ โดยการออกพันธบัตร หรือกู้เงินจากธนาคารของรัฐ จำนวน 15,800 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนถาวรสำหรับภาระ Take-or-Pay ตามสัญญา ซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยานาดา จำนวน 10,000 ล้านบาท และเพื่อนำไปชำระคืนเงินกู้จากการออกพันธบัตรในประเทศ ที่จะครบกำหนดชำระในปี 2543 จำนวน 5,800 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ พิจารณาเงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ของการกู้เงินดังกล่าวได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
24 พ.ค.43 -จากกรณี ครม.อนุมัติการออกพันธบัตรเงินกู้เป็นจำนวนเงิน 15,800 ล้านบาท เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปจ่ายค่าก๊าซ ให้กับประเทศพม่านั้น นางภินันท์ โชติรสเศรณี รองประธานกลุ่มอนุรักษ์กาญจนบุรี ที่คัดค้านโครงการวางท่อส่งก๊าซไทย-พม่า มาตั้งแต่เริ่มโครงการ ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลนายชวน หลีกภัย นายกฯ ไม่สนใจต่อการคัดค้าน รวมทั้งการที่จะแก้ไข ในสัญญาที่สามารถจะเป็นเหตุผลที่จะระงับโครงการไว้ก่อน โดยจะทำต่อเมื่อภาวะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้น จึงค่อยดำเนินโครงการ ต่อไป หากภาครัฐยอมฟังเหตุผลของฝ่ายคัดค้านบ้าง และบางคนไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ในวันนี้คงไม่ต้องรอให้ ครม.อนุมัติเงิน เป็นหมื่นล้านมาจ่ายค่าก๊าซให้กับพม่า
นางภินันท์ กล่าวต่อว่า เป็นเรื่องอัปยศมาก ที่ประเทศไทยยังต้องให้รัฐมนตรีของพม่าเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อทวงหนี้ โดยมีการอ้างเหตุผลว่ามีการบรรจุค่าก๊าซหมื่นล้านบาทของไทยไว้ในรายรับของงบประมาณประจำปีของพม่า เพื่อขอให้ไทยรีบจ่าย เงินดังกล่าวโดยด่วน และหากชักช้าประชาชนชาวพม่าจะเดือดร้อน ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องรีบออกพันธบัตรขูดรีดเงินคนไทย เพื่อนำเงินไปใช้ค่าก๊าซให้กับพม่า ขณะเดียวกันกลุ่มนักอนุรักษ์เมืองกาญจน์ เตรียมยื่น ป.ป.ช.สอบนายชวน กรณีความล้มเหลวของ โครงการท่อก๊าซไทย-พม่า เนื่องจากเป็นผู้รู้เห็นเป็นใจทำให้รัฐเกิดความเสียหาย ต้องจ่ายเงินนับหมื่นล้านบาทค่าก๊าซฟรีๆ ให้พม่า ทั้งที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์
29 พ.ค.43 - ชาวไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ผวาท่อก๊าซ ปตท.ทรุด เนื่องจาก มีการยุบตัวของดินบริเวณแนววางท่อก๊าซไทย-พม่า เป็นแนวยาว กว้าง 2 เมตร ลึก 1.80 เมตร ยาวประมาณ 20 เมตร บริเวณเคพี 115-116 ของ ปตท.เร่งให้ ปตท.เข้าไปแก้ไข ระบุสาเหตุ เกิดจากฝนตกหนักกัดเซาะดินที่ไหลจากที่สูงมาที่ต่ำ
ภาพจาก นสพ.ข่าวสด 30 พ.ค.43
1 มิ.ย.43 - รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะทำงานเจรจาปัญหาเรื่องค่าก๊าซธรรมชาติตามสัญญา Take or Pay เปิดเผยว่า ในการเจรจาเพื่อรับผิดชอบร่วมกันระหว่าง กฟผ.กับ ปตท.มีการหารือกันถึงภาระดอกเบี้ยที่แต่ละฝ่ายจะต้องรับผิดชอบกรณีไม่ สามารถรับก๊าซธรรมชาติจากพม่าตามสัญญา ในขณะที่ กฟผ.ได้เสนอให้มีการอ้าง"เหตุสุดวิสัย" การก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรีที่ล่าช้า เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศ มีผลทำให้ไม่สามารถรับก๊าซจากพม่าได้ ซึ่งสามารถยกขึ้นมาอ้างเป็นข้อยกเว้นไม่ต้อง จ่าย Take or Pay ได้ ในประเด็นนี้ ปตท.แสดงท่าทีไม่เห็นด้วย เพราะอาจจะนำไปซึ่งการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมาพิสูจน์ ซึ่งไม่ แน่ใจว่าไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ในขณะที่ ครม.เองได้อนุมัติให้มีการออกพันธบัตรเพื่อนำเงินมาจ่ายเป็นค่า Take or Pay แล้ว
3 ก.ค.43 - ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ นัดสืบพยานโจทก์คดีที่พนักงานอัยการ ประจำศาล จ.กาญจนบุรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุลักษณ์ ศิวลักษณ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ นักคิดนักเขียนชื่อดัง ในความผิดฐานขัดขวางการทำงานของพนักงาน ปตท.คำฟ้อง ระบุว่า ระหว่างวันที่ 2-6 มกราคม 2541 จำเลยกับพวกร่วมกันขัดขวางการทำงานของเครื่องจักร ที่กำลังวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากสหภาพพม่า ปตท.ได้กำหนดเขตการวางท่อจากชายแดน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ไปยังโรงไฟฟ้าความร้อนที่ อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งในชั้นสอบสวน จำเลยให้การรับสารภาพและให้การปฏิเสธในชั้นศาลว่ากระทำด้วยความสุจริต เปิดเผยไม่ได้ขัดขวางการทำงานของ ปตท.ที่คัดค้านเพราะทำลายป่าไม้ในพื้นที่อนุรักษ์ เขตอุทยานแห่งชาติ
โดยพนักงานอัยการได้นำพยาน คือ นายอำนวย ลายไม้ พนักงาน ปตท. ตำแหน่งผู้จัดการส่วนปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยก่อสร้าง ท่อก๊าซ เบิกความว่า จำเลยเป็นผู้นำในการขัดขวางมีผู้คัดค้านประมาณ 50 คน ทาง ปตท.ไม่สามารถทำงานได้ พยานจึงไปร้องทุกข์ที่ สภ.อ.ทองผาภูมิ ให้ดำเนินคดีกับจำเลยเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2541 เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมจำเลยได้ ซึ่งการกระทำของจำเลยกับพวกทำให้ ปตท.เสียหายไม่สามารถมอบพื้นที่ให้บริษัทรับเหมาก่อสร้างได้ บริษัทรับเหมาจึงเรียกค่าเสียหายจาก ปตท.เนื่องจากโครงการล่าช้า และอาจถูกทางสหภาพพม่าเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้ พยานเบิกความเรื่องๆ อื่นจนเสร็จ ศาลจึงนัดสืบพยานโจทก์อีกครั้งวันที่ 31 สิงหาคมนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุลักษณ์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลว่าบทบัญญัติ พ.ร.บ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2521 มาตรา 30,53 ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในข้อกฎหมาย โจทก์แถลงว่าจะคัดค้านภายใน 15 วัน หากไม่ยื่นคัดค้านภายใน 15 วันจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้
7 ส.ค.43 - นายศุภชัย พาณิชย์ภักดิ์ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า ระหว่างไทย-สหภาพพม่า ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นนวันที่ 4 ส.ค. 2543 ร่วมกับพลจัตวาพีโซน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่า ที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า ว่า ฝ่ายพม่าได้ขอบคุณไทยที่ได้ชำระเงินค่าก๊าซธรรมชาติจำนวน 283 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ได้ชำระไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ก.ค.2543 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นค่าก๊าซที่ไทยซื้อจากแหล่งยาดานา
25 ส.ค.43 - การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เตรียมเจรจาเลื่อนการรับก๊าซออกไปอีก พร้อมชำระค่าดอกเบี้ยก๊าซให้ พม่า 300 ล้านบาท เพราะไทยจ่ายเงินล่าช้ากว่ากำหนด แต่ยืนยันการจ่ายเงิน Take or pay ส่งผลดีต่อไทยสูง ทำให้โรงไฟฟ้าราชบุรี สามารถใช้ราคาก๊าซถูกกว่าราคาปัจจุบันมาก ขณะเดียวกันยังต้องจับตาราคาน้ำมันเตาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น มีสิทธิทำให้ราคาก๊าซใน อนาคตเพิ่มสูงขึ้นอีก
30 ต.ค.43 - นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ปตท. ก๊าซธรรมชาติ ปตท. กล่าวว่า จากภาระราคาน้ำมันแพงส่งผลให้ ไทยได้ประโยชน์จากราคาก๊าซฯ ตาม สัญญาเทคออร์เพย์จากพม่า เพราะเท่ากับว่าต้นทุนก๊าซฯ ถูกกว่าราคาก๊าซฯ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ปตท. พยายามเจรจากับเจ้าของแหล่งพม่าและแหล่ง อ่าวไทยเพื่อลดปริมาณการรับก๊าซ เพื่อใช้ก๊าซฯ ที่ได้จ่ายเงิน ไปแล้วให้มากที่สุด หากทำได้จะทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลง
จากคุณ :
nat1234
- [
13 ธ.ค. 48 11:48:25
]
|
|
|