จากหลักฐานเอกสารโบราณของจีน อาหรับ ชวา มลายู และจารึกของชาวอินเดีย
ที่ปรากฎ นามเมืองของรัฐสำคัญแห่งหนึ่งบนแหลมมลายู
ซึ่งออกเสียงตามสำเนียงในแต่ละภาษา เช่น หลังยาซูว หลังยาซีเจีย (ภาษาจีน
พุทธศตวรรษที่ 11-12 และ 16-18) ลังคาโศกะ อิลังกาโศกะ (ภาษาสันสกฤต
ภาษาทมิฬ พุทธศตวรรษที่ 9 และพุทธศตวรรษที่ 16) เล็งกะสุกะ (ภาษาชวา
พุทธศตวรรษที่ 20) ลังคะศุกา (ภาษาอาหรับ พุทธศตวรรษที่ 21) ลังกะสุกะ
ลังกาสุกะ (ภาษามลายู พุทธศตวรรษที่ 24)
ชื่อที่ปรากฏนี้ นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกัน
ที่เคยตั้งอยู่ในรัฐเคดะห์ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
และจังหวัดปัตตานีในประเทศไทย
แต่ในสมัยหลังศูนย์กลางของเมืองแห่งนี้น่าจะอยู่ในจังหวัดปัตตานี
เนื่องจากชาวพื้นเมืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 25
ยังกล่าวว่าเมืองปัตตานี
พัฒนาขึ้นมาจากเมืองลังกาสุกะสอดคล้องกับตำนานเมืองไทรบุรีที่กล่าวว่า
ราชามะโรงมหาวงค์ทรงสร้างลังกาสุกะบนฝั่งตะวันตกที่เคดะห
์และพระราชนัดดาของพระองค์ได้มาสร้างลังกาสุกะที่ปัตตานี
ชาวพื้นเมืองปัตตานีเรียกบริเวณแถบนี้ว่าลังกาสุกะมาจนกระทั่งแม่น้ำปัตตานีเปล­ี่ยนทางเดิน
( หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี ,2539:107) ราวพุทธศตวรรษที่ 19
ชุมชนลังกาสุกะเริ่มเสื่อมลงไปเนื่องจากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และศาสนาวัฒธรรมข­องชาวเมือง
ได้เปลี่ยนแปลงไป นักวิชาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเชื่อว่า
ปัตตานีเป็นที่แวะพักจอดเรือ
เพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้าชาวจี­นทางตะวันออก
และชนพื้นเมืองบนแผ่นดินและตามหมู่เกาะใกล้เคียงต่าง ๆ
นอกจากนั้นยังเชื่อมั่นอีกด้วยว่าปัตตานีเดิมเป็นอาณาจักรที่เก่าแก
่ตามที่ปรากฎในเอกสารโบราณที่กล่าวมา
หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงร่องรอยของความเจริญร่งเรืองในอดีตของปัตตานีที่บริเ­วณอำเภอยะรัง
เป็นซากร่องรอยของเมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนทับกันถึง 3 เมือง
มีซากเป็นโบราณสถานปรากฏอยู่ไม่น้อยกว่า 40 แห่ง
ซากเนินโบราณสถานบางแห่งได้รับการขุดแต่งและอนุรักษ์ไว้ เช่น
โบราณสถานบ้านจาเละ 3 แห่ง
ซึ่งเป็นซากอาคารศาสนสถานก่ออิฐที่มีการขัดแต่งประดับฐานชั้นล่าง ๆ
และยังค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น สถูปจำลองดินเผ่า พระพิมพ์ดินดิบ
และดินเผาบางชิ้นมีตัวอักษรซึ่งนักภาษาโบราณอ่านและแปลว่าเป็นอักษรปัลลวะ
( อินเดียใต้)
จากคุณ :
ryner
- [
21 มี.ค. 50 01:09:54
]