ความคิดเห็นที่ 4
โดยหลักการของการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ปากหลุมนั้น ใช้วิธีคิดจากต้นทุน หรือ cost plus เอาต้นทุน บวกด้วยกำไรพอสมควร เป็นหลักการที่ใช้มาตลอดและเป็นที่ยอมรับ
ประเด็นก็คือว่า ก๊าซหุงต้ม (LPG) เมื่อเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ หรือผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน ต้นทุนส่วนเพิ่มจริงๆ นั้นเกือบไม่มีเลย เพราะการคิดต้นทุนการแยกก๊าซธรรมชาติ กับกำไรบางส่วนได้รวมอยู่ในราคาก๊าซธรรมชาติที่ขายให้การไฟฟ้า หรือขายให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรม อื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ไปแล้ว
อีกด้านหนึ่งเช่นเดียวกันต้นทุนต่างๆ ของโรงกลั่นน้ำมันก็ได้สะท้อนอยู่ในค่าการกลั่นน้ำมัน และสะท้อนอยู่ในราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อเป็นดังที่กล่าว ก็อาจพอสรุปได้ว่า ก๊าซหุงต้ม (LPG) มีต้นทุนเพื่อ ให้ได้มาต่ำมาก เพราะต้นทุนส่วนใหญ่ได้ถูกสะท้อนไปกับราคาขายก๊าซธรรมชาติ และราคาน้ำมันสำเร็จรูปแล้ว
แต่โครงสร้างการตั้งราคาขายก๊าซหุงต้ม (LPG) กลับสวนทางอย่างสิ้นเชิงกับการตั้งราคาขายก๊าซธรรมชาติ โดยเอาราคาประกาศปิโตรมิน ของทางตะวันออกกลาง ที่ซาอุดีอาระเบีย เป็นเกณฑ์ เหมือนการันตีกำไรให้เอกชน
โดยที่รัฐได้รายได้จากภาษีเพียง 3.5บาทต่อกิโลกรัม แต่รัฐกลับต้องชดเชยสูงถึงประมาณ 5 บาทต่อกิโลกรัม รัฐไม่ได้อะไรเลย
ซ้ำร้ายกว่านั้นเอกชนผู้ส่งออก อาทิเช่น ปิคนิค, ปตท. ,สยามแก๊ส, worldgas, ยูนิค ,คาลเท็กซ์ คงส่ง ออกกันพอควร (ปตท.อาจจะมีหน้าที่หลักที่จะต้องจัดให้ผู้ใช้ในประเทศมีก๊าซหุงต้มใช้เพียงพอก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงส่งออก) วิธีการจัดสรรโควตาส่งออกในอดีตก่อนปี 2549 นั้น ใช้วิธีตกลงกัน จัดสรรกันเองในกลุ่ม ผู้ค้า
คงต้องมีผู้ได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้ เป็นประเด็นที่นำสืบต่อไปน่าจะไม่ยากล่ะครับ
จากคุณ :
กฤษ
- [
8 ก.ค. 51 02:34:48
A:125.24.34.26 X: TicketID:159337
]
|
|
|