 |
มองการส่งเสริมการลงทุน ในมาเลเซีย
หันมามองเพื่อนบ้านของเรา จากผลสำรวจ Global Competitiveness Report 2008-2009 ที่ทำการสำรวจโดย World Economic Forum (WEF) จากประเทศทั้งหมด 134 ประเทศ ปรากฏว่า สิงค์โปร อยู่ในอันดับที่ 5 มาเลเซียอยู่อันดับที่ 21 และประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 34 หากเปรียบเทียบระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ไทยและมาเลเซียแข่งขันกันสูงในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ มูลค่าการลงทุนจากโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเฉพาะในภาคการผลิตในช่วงปี 2542 - 2548 มูลค่าการลงทุนของมาเลเซียประมาณ 28,748.44 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่การลงทุนในไทย มีมูลค่า 27,059.35 ล้านเหรียญสหรัฐ
มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของเรา มีประสบการณ์ยาวนานในการใช้นโยบายเศรษฐกิจ บทเรียนของมาเลเซียจึงน่าสนใจและมีความหมายต่อประเทศไทย บทความนี้จะรายงานแนวคิดการใช้นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายการเกษตร และ อุตสาหกรรมแบบ ของมาเลเซีย เพื่อเป้นตัวอย่างหนึ่ง ในการพิจาณา ดังที่ปราชญ์หลายท่านกล่าวไว้ว่า ....รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง....
ขณะนี้มาเลเซียเร่งออกมาตรการส่งเสริมบรรยากาศด้านการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้าประเทศและเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขัน ที่สำคัญ ได้แก่
-- ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากปัจจุบัน 28% เป็น 27% ในปี 2550 และ 26% ในปี 2551 และเหลือ 25% ในปี 2552 -- เพิ่มงบประมาณรายจ่ายภาครัฐด้านการพัฒนาการศึกษานวัตกรรม การวิจัยและการพัฒนา เพื่อพัฒนาไปสู่การผลิตที่เพิ่มมูลค่าและนำประเทศสู่เป้าหมายการเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2563 -- เสริมความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมโลจีสติกส์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ โดยวางแผนจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาโลจีสติกส์แห่งชาติและศูนย์โลจีสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งเพิ่มงบประมาณรายจ่ายภาครัฐด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน -- ทางรัฐบาลมาเลเซีย ได้ประกาศแผนพัฒนาอุตสากรรมของมาเลเซียฉบับที่สามสำหรับใช้ในช่วงปี 2549 - 2563 ซึ่งในแผนดังกล่าว ได้กำหนด อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ ที่จะมีประโยชน์และต้องเร่งให้เกิดการพัฒนา ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กโลหะพื้นฐาน เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร ยา ปิโตรเคมี สิ่งทอ ยาง ไม้ เป็นต้น -- ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนและส่งเสริมการส่งออก โดยมีมาตรการส่งเสริมสนับสนุนหลากหลาย ทั้งในส่วนการยกเว้นภาษีอากร และมาตรการ Investment Allowance สำหรับการชักจูงอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษรัฐบาลมาเลเซียยังได้กำหนดมาตรการเพิ่มเติม Pre-Package Investment Scheme พร้อมกับกองทุนเพื่อลงทุนในธุรกิจยุทธศาสตร์ (Strategic Investment Fund)
นอกจากมาตรการต่างๆที่ส่งเสริม การลงทุนในมาเลเซีย ในเชิงนโยบายแล้ว ในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน อาทิเช่น ราคาพลังงาน ประเทศมาเลเซียก็ยังคงมีมาตรการ ที่พยายามรักษาความได้เปรียบในช่วงที่ผ่านมา และยังได้พยายาม เสริมสร้างบรรยากาศทางธุรกิจ โดยดำเนินการผ่านมาตรการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบและกฎหมายอันป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ อำนวยความสะดวกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมความโปร่งใส และเสริมสร้างความมั่นใจว่าระบบสิทธิและประโยชน์ของมาเลเซียจะสามารถแข่งขันได้กับของประเทศคู่แข่งอื่นๆ
ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=katanyoo&month=02-2009&date=16&group=5&gblog=38
จากคุณ :
kaataii2
- [
23 ก.พ. 52 14:31:12
]
|
|
|
|
|