 |
ความคิดเห็นที่ 11 |
|
จำนวนคนอ่านล่าสุด 866 คน วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7029 ข่าวสดรายวัน
แม่โขงแห้ง
รุ้งตัดแวง
สปาย-กลาส
ฤดูแล้งนี้ น้ำในแม่น้ำโขงเหือดแห้งมากกว่าที่เคย
ชาวไทยริมโขงถึงกับเอ่ยปากว่าตั้งแต่เกิดมา ยังไม่เคยเห็นน้ำในแม่น้ำโขงแห้งถึงขนาดนี้ เรียกได้ว่าแห้งมากที่สุดในชั่วอายุคน
เกาะแก่งหลายแห่งที่ซ่อนตัวอยู่ใต้น้ำมาตลอดก็ปรากฏขึ้นมาให้เห็น เรือขนาด ใหญ่สัญจรไม่ได้
"ลาว" เพื่อนบ้านของไทยที่ใช้ชีวิตร่วมแม่น้ำโขง หรือ แม่น้ำของ บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าน้ำโขงลดมากกว่าที่เคยเห็น
โครงการชลประทาน 7 แห่งที่ต้องผันน้ำจากแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านเวียงจันทน์เพื่อนำไปใช้ในการเกษตร มีน้ำไม่เพียงพอ ทุ่งนาในเมืองหาดทรายฟอง เมืองปากงึม ในแขวงเวียงจันทน์กว่า 23,000 ไร่จะขาดน้ำในไม่ช้านี้เพราะระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงระดับ วิกฤต
ตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา น้ำโขงลดลงมากเป็นประวัติการณ์และยังลดลงอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำลดลง 10 เซนติเมตรทุกวัน
โครงการชลประทาน 2 แห่งที่หมู่ บ้านดอนและหมากฮิ้วในเมืองปากงึมเข้าขั้นวิกฤตแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายชลประทานต้องขุดร่องน้ำให้น้ำไหลเข้าสู่สถานีสูบน้ำตั้งแต่ เดือนธ.ค. จนถึงตอนนี้ ส่วนโครง การชลประทานอื่นๆ ยังใช้การได้อยู่ แต่ปล่อยน้ำไม่ได้เพราะระดับน้ำต่ำเกินไป สถานีสูบน้ำบางแห่งจึงต้องขุดน้ำบาดาลมาใช้แทน
กระทรวงเกษตรและป่าไม้เสนองบประมาณ 2.5 ล้านบาทเพื่อขุดร่องน้ำแล้วปล่อยน้ำจากสถานีสูบน้ำให้ชาวบ้านใช้ในไร่นา และยังของบเพิ่มอีก 3.6 ล้านบาทเพื่อย้ายสถานีสูบน้ำเพราะระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ และจะลดลงต่ำสุดในเดือน เม.ย. และ พ.ค. ที่ใกล้เข้ามา
คาดว่าภัยแล้งจะขยายอาณาเขตกินพื้นที่ในเมืองแสงทอง สีโคดตะบองและ สีสัตตะนากในแขวงเวียงจันทน์ ส่งผลกระทบต่อนาข้าว 57,000 ไร่และโครง การชลประทานอีก 39 แห่ง
แล้งนี้จึงหนักหนากว่าทุกปี
//////////////////////////
^ ^ ^
การสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำโขงไม่ใช่ปัญหาเฉพาะของคนปากแม่น้ำโขง ทว่าเป็นปัญหาร่วม
ของมนุษยชาติที่เขื่อนได้ปิดกั้นทำลายสายชีวิต ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
เป็นแหล่งที่มาของชีวิต เพราะผลกระทบจากเขื่อนในลำน้ำโขงเป็นปัญหาใหญ่ที่ซับซ้อน
เขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนของจีนที่สร้างเสร็จและเปิดใช้งานไปแล้ว 3 เขื่อน และอีกเขื่อนที่
สร้างเสร็จและกำลังกักเก็บน้ำคือเขื่อนเสี่ยววาน ซึ่งถือว่าเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในตอนบน
จาก 15 เขื่อนในแผนการสร้างของจีน และในแม่น้ำโขงตอนล่างมีแผนการสร้างเขื่อนอีก
12 เขื่อน ซึ่งอยู่ในอัตราเร่งสำคัญที่จะทำให้พื้นที่ปากแม่น้ำโขงขาดน้ำจืดไหลอย่างพอ
เพียงในหน้าแล้ง
ความสำคัญของนิเวศวัฒนธรรมและความมั่นคงทางอาหารของประชาชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ
ที่แท้จริงของชีวิตผู้คนในแต่ละประเทศมากกว่าเม็ดเงิน ตัวเลขจีดีพี และตัวเลขในตลาดการเงิน
เป็นไปได้ไหมว่า...ในการต่อสู้เรื่องเขื่อน คือ การไม่สร้างเขื่อนขวางกั้นลำน้ำใด แต่
ร่วมกันแสวงหาพลังงานทางเลือกอื่นๆ ที่ให้ประโยชน์ยั่งยืนและเคารพสิทธิของประชาชนใน
แต่ละท้องถิ่นมันจะเป็นไปได้หรือไม่....
จากคุณ |
:
อุบลแมน
|
เขียนเมื่อ |
:
12 มี.ค. 53 09:50:20
|
|
|
|
 |