 |
ความคิดเห็นที่ 2 |
คิดรายวันของคุณได้เท่าไหร่ คูณ ด้วย หกสิบเท่าของอัตรารายวันของลูกจ้าง
เช่น คุณได้เงินเดือน เดือนละ 6,000 บาท รายวันเฉลี่ย 200 บาท คูณ ด้วย 60 เท่าของอัตรารายวันนั้น = 200 x 60 = 6,000 บาท
ดังนั้น ผู้ค้ำประกันจะชดใช้เงินในจำนวนไม่เกินหกสิบเท่าของอัตรารายวันของลูกจ้างเท่านั้น เกินกว่านั้นนายจ้างไม่มีสิทธิเอากับลูกจ้างอีก ส่วนผู้ค้ำประกันก็ไล่เบี้ยเอากับลูกจ้างอีกที หลักการนี้เป็นไปตาม ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจาก ลูกจ้าง พ.ศ. 2551 ข้อ 10
ดังนั้น กฎหมายกำหนดให้ไม่เกินเท่าไหร่ นายจ้างก็ต้องเรียกตามนั้นครับ เกินกว่านี้ ถือว่าขัดต่อกฎหมายแรงงาน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นที่ผิดแผกแตกต่างจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ข้อตกลงนั้นเป็น โมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 และ 150 ตามลำดับ
ปล. เขาไม่ค่อยยอมเอาหลักประกันเป็นเงินหรอกครับ มันเสี่ยงเกินไปตอนเลิกจ้าง เพราะถ้าเลิกจ้าง นายจ้างของคุณก็ต้องคืนทั้งหลักประกัน และหรือต้องเพิ่มดอกเบี้ยให้คุณอีกในกรณีที่นายจ้างผิดนัด นายจ้างมีแต่เสียทั้งขึ้นทั้งล่อง สู้เขาเอาหลักประกันด้วยตัวบุคคลจะดีซะกว่าอีก
ประกาศ > http://www.nipatandpartnerslawyer.com/newlaw.html
แก้ไขเมื่อ 26 ส.ค. 53 05:39:50
แก้ไขเมื่อ 26 ส.ค. 53 05:37:35
จากคุณ |
:
กระบี่เก้าเดียวดาย
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ส.ค. 53 05:35:52
|
|
|
|
 |