ความคิดเห็นที่ 5 |
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับกฏกรัทรวงที่ออก โดยเฉพาะ กฎกระทรวงว่าด้วย การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง พ.ศ.2553
คือ การให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการไกล่เกลี่ย
โดยมีการให้นายอำเภอโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการจังหวัด "แต่งตั้ง" ผู้ไกล่เกลี่ย ตามที่ มีผู้มาสมัครไว้ตาม กฏกระทรวงข้อที่ 3-4-5
โดยมี"ค่าตอบแทน"ให้ผู้ไกล่เกลี่ย เป็นค่าตอบแทน/ข้อพิพาท และ ค่าเดินทาง
ตามที่ระบุท้ายกฏกระทรวงให้ค่าตอบแทนดังนี้
ประธานผู้ไกล่เกลี่ย 1250-บาท -6250-บาท ผู้ไกล่เกลี่ย 1000-บาท-5000 บาท / ข้อพิพาท
ค่าเดินทางตามจ่ายจริงครั้งละ 200-บาทไม่เกิน 500-บาท
แต่อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้มีการจัดทำโดย สำนักงานศาลยุติธรรมอยู่แล้ว โดยมีคณะผู้ประนีประนอมประจำศาลอยู่แล้ว ถ้าเป็นไปได้ น่าจะพัฒนาจากคณะผู้ประนีประนอมประจำศาล โดยให้ สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นเจ้าภาพทำไปเลยจะดีหรือไม่ครับ การมีคณะผู้ไกล่เกลี่ยในระดับอำเภอและรับผิดชอบโดยอำเภอเป้นเจ้าภาพ จะเป็นปัญหาว่ามีการตั้งหน่วยงานมาทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกันหรือไม่ครับ
การคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย จะบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือชัดเจนเพียงใด ในที่สุด ไม่พ้นผู้ที่มีอิทธิพลในแต่ละท้องที่ ที่จะเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยหรือไม่ครับ
โดยภาพรวมๆแล้ว เห็นว่าเจตนารมย์ของกฏกระทรวงนี้ดี ในส่วนที่ให้ "ประชาชนมีส่วนร่วม" ในการระงับข้อพิพาท ซึ่งคงต้องรอดูการบังคับใช้และผลตอบรับในอนาคตกันต่อไปครับ
จากคุณ |
:
อุบลแมน
|
เขียนเมื่อ |
:
21 ก.ย. 53 13:21:44
|
|
|
|