 |
มันต้อง "นิยาม" ความจนก่อนครับ ว่าไอ้ที่ว่า "จน" นี้เราหมายถึงอะไรกัน
นิยามแบบของ UN ก็อีกแบบหนึ่ง นิยามแบบขององค์กรอื่นๆก็อาจเป็นอีกแบบหนึ่ง อาจใช้ GDP มาเป็นตัวกำหนดความรวย-ความจน อาจใช้มูลค่ายอดหนี้ของประเทศมากำหนดความจน
หรืออาจใช้เรื่องอื่นๆมาเป็นตัวกำหนดก็เป็นได้เช่นกัน
เช่น หากจะนับเอาแบบเหตุปัจจุบัน อาจเป็น "เฮติ" ที่น่าจะจนที่สุดในโลก เพราะแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดทำให้เมืองที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเสียหาย ทำให้ผู้คนไม่มีจะกิน โครงสร้างพื้นฐานของประเทศล่มจนหมด
และไม่มีสิ่งที่ทำกำไรให้ประเทศเดินก้าวหน้าได้ในเร็วๆนี้แน่นอน
ดังนั้นมันต้องจำกัดความคำว่าจนก่อนครับ
เพราะบางประเทศดูเหมือนจะจน แต่เขาก็มีทรัพยากรณ์ธรรมชาติแยะ
บางประเทศมีขนาดเล็กนิดเดียวเอง แต่พลเมืองมีการศึกษาดี ซึ่งนั่นก็คือ "ต้นทุน" เช่นกัน
บางประเทศเป็นเกาะเล็กนิดเดียว แต่ดันโชคดีที่ได้รัฐบาลดีมีคุณภาพ เลยทำให้เขามีรายได้ประชากรต่อหัวสูง
ตัวอย่างง่ายๆก็คือ หนี้สินของรัฐบาลต่อหัวประชากรญีปุ่น 66,690 ดอลล่า ในขณะที่ของประเทศไนจีเรียกลับมียอดหนี้ต่อหัวต่ำกว่ามากมาย แต่ทำไมคนทั่วโลกจึงมองว่าไนจีเรีย "จน" กว่าพี่ยุ่นเขาละครับ
หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ที่เขาจัดกันเมื่อปีที่แล้ว...ย้ำนะครับว่าปีที่แล้ว
ประเทืศอังกฤษมียอดหนี้ 300 ล้านล้านบาท ส่วนของไทยเรามียอดหนี้ (ตอนนั้น) 2.2 ล้านล้านบาท แต่คงไม่ต้องบอกนะครับว่าตามสายตาแล้วใครจนกว่าใคร
ประเทศที่มีหนี้เยอะ อาจมีศักยภาพในการบีโภคก็เป็นได้ ซึ่งนั่นอาจจะไม่ได้หมายถึงว่าเขา "จน" ครับ
อีกทั้งการเป็นหนี้ไม่ใช่เกิดจากการกู้ยืมอย่างเดียว เพราะอาจมีต่างชาติเข้ามาซื้อพันธบัตรก็เป็นได้
เช่นในกรณีของจีนได้ชื่อว่าเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของอเมริกา แต่ใช่ว่าลุงแซมแกไปกู้ยืมจีน ...
หากเพราะจีนนำทุนสำรองไปซื้อพันธบัตรของพวกมะกันเพื่อกินดอกครับ
ผมอาจตอบไม่ตรงคำถามเท่าไรนัก เพราะมันต้องนิยามก่อนจริงๆครับ ว่าคำว่า "จน" นั้น มันมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ลองศึกษาดูได้ที่ CIA World Factbook
ผมอยากจะอ่านมาเล่าสรุปให้ฟังเหมือนกัน แต่...แหะ แหะ....ผมไม่กระดิกหูกับภาษาปะกิดครับ...
จากคุณ |
:
ตุ้ม แม็คคาร์ทนี่ย์ (Toom McCartney)
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ธ.ค. 53 07:46:45
|
|
|
|
 |