 |
ขออนุญาต อ้างอิงเวปดังนี้ และคัดลอกคำอธิบายบางส่วนมาให้ดูครับ
ผมอ่านมาหลายเวป อธิบายไม่ตรงกันเลย
เมื่อมาขอความรู้ที่เวปนี้ ก็ได้คำแนะนำจากคุณ ElvisPresleyLiverpoolFC ว่าสิ่งที่ผมเข้าใจนั้น ตรงข้ามทั้งหมด
แต่ คุณ NiyomC และ คุณ aftertime แจ้งตรงกันว่า ข้อ 3,4,5 นั้นถูกต้อง
เมื่อพยายามหาเวปต่าง ๆ ดู ก็รู้สึกไม่แน่ใจเข้าไปครับว่า แท้ที่จริงเป็นอย่างไรกันแน่
อ้างอิง : http://www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=3&id=79818
ตอบ : เรื่องการบังคับคดี โดยทั่วไปเข้าใจกันว่า ถ้าหากครบกำหนดเวลา 10 ปีแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะหมดสิทธิในการบังคับคดี แต่ความในเป็นจริงแล้ว...หาได้เป็นเช่นนั้นไม่
เพราะถ้าหากเมื่อเจ้าหนี้ได้ทำการยื่นเรื่อง “บังคับคดี” ให้กับหน่วยงานราชการ ที่มีชื่อเรียกว่า “กรมบังคับคดี” ภายในระรยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาแล้ว...ก็ถือว่าเจ้าหนี้ได้ปฎิบัติหน้าที่ของ ตัวเอง ในการยื่นเรื่องเพื่อขอ “บังคับคดี” กับลูกหนี้เสร็จสิ้นแล้ว
ดังนั้น ต่อมา...หากจะมีการยึดทรัพย์สินของจำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ต่อให้ระยะเวลาเกิน 10 ปีไปแล้วก็ตาม…ก็ยังสามารถตามยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตลอดไป ไม่มีระยะเวลากำหนดอีกแล้ว(ยึดได้เรื่อยๆ จนกว่าหนี้จะหมด) เพราะเรื่องการบังคับคดี(ยึดทรัพย์)นี้ ได้ไปตกอยู่ในความควบคุมดูแลของ “กรมบังคับคดี” แล้ว...ไม่ได้อยู่ในมือของเจ้าหนี้อีกต่อไป
จึงถือได้ว่า...เจ้าหนี้ได้ทำหน้าที่ “ยื่นเรื่อง” เพื่อขอ “บังคับคดี” เอาจากลูกหนี้ ภายในระยะเวลาตามที่กฏหมายกำหนดไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเอง (เจ้าหนี้มีเวลาในการ“ยื่นเรื่อง”เพื่อขอ บังคับคดี ภายในระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันมีคำพิพากษา...หากไม่รีบยื่นเรื่องภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็จะไม่สามารถยื่นเรื่องได้อีกเลย เนื่องจากหมดระยะเวลาในการยื่นเรื่อง) อ้างอิงจาก : ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271
****จขกท สงสัยครับว่า ถ้ายื่นเรื่องแล้ว ในปีที่ 9 กรมบังคับคดีจะบังคดีไปเรื่อย ๆ แบบไม่จำกัดเวลา หลังจากนั้นในปีที่ 11 จขกท สามารถเยื่อนเรื่องอื่นอีกได้หรือไม่ครับ เช่น อายัดรถคันใหม่ที่เพิ่งสืบพบ หรือ อายัดเงินในบัญชีธนาคาร
คำพิพากษาศาลฎีกา 4816/2528
การร้องขอให้บังคับตามคำพิพากษา ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ขั้นแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ขั้นตอนต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว และจากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คำพิพากษา เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนครบถ้วนแล้ว ภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ส่วนการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปยึดทรัพย์เมื่อใดนั้น เป็นขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้นเจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปยึดทรัพย์จำเลยเกิน 10 ปี ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปีแล้ว ดังนั้นเมื่อแพ้คดีมา 10 ปี แล้วเจ้าหนี้ยังยึดทรัพย์ได้ด้วยเหตุดังกล่าว
แก้ไขเมื่อ 17 ม.ค. 54 20:21:15
จากคุณ |
:
The Cole
|
เขียนเมื่อ |
:
17 ม.ค. 54 20:15:38
|
|
|
|
 |