จริงๆแล้วไม่ใช่ปัญหาโลกแตกอะไรหรอกครับ กติกากำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้ว.. แต่เราไม่ได้สนใจว่า กบข.คืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร โดยเฉพาะบางทีผมได้ยินข้าราชการเองนั่นแหละที่เป็นคนพูดว่า ข้าราชการไม่มีบำนาญอีกแล้ว...ฟังแล้วอึ้งเลยครับ... ตกลงมานเคยศึกษาเรื่องของตนเองหรือเปล่าฟ่ะนี่...สักแต่ว่าพูดไปเรื่อยเปื่อย... บางทีทาลึ่งเอาไปบอกน้องใหม่ด้วยซ้ำ....
มาดูกติกากันดีกว่า.... เอาหลักๆนะครับ....เพราะอาจมีรายละเอียดมากกว่าที่เอามาลง
พรบ. กบข.
เกี่ยวกับสิทธิการรับบำเหน็จบำนาญ
มาตรา 45 สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เมื่อสมาชิกภาพของ สมาชิกสิ้นสุดลง
เกี่ยวกับกรณีใดที่ได้บำเหน็จ กรณีใดที่ได้บำนาญ
บำเหน็จ มาตรา 47 สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ บำนาญ มาตรา 48 สมาชิกตาม มาตรา 35 ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับบำนาญเงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
บำเหน็จตกทอดกรณ๊ตาย มาตรา 58 ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการและความตายนั้น มิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเองหรือในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย ให้จ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทของสมาชิกหรือผู้รับบำนาญตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าสมาชิกผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน (2) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน (3) บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน มาตรา 60 ในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย นอกจากทายาท จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดตาม มาตรา 58 แล้ว ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันด้วย มาตรา 64 บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของสมาชิก ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการของผู้ตาย มาตรา 65 บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญ ให้จ่ายสามสิบเท่าของอัตราบำนาญที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับ ในกรณีที่ได้มีการรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย การจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามวรรคหนึ่ง ให้หักเงินออกจากบำเหน็จตกทอดที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน
วิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ บำเหน็จ มาตรา 62 การคำนวณบำเหน็จให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ บำนาญ มาตรา 63 การคำนวณบำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ย หกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการหารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย การคำนวณบำนาญของผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตาม มาตรา 38 หากเวลาราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ยังไม่ครบห้าปีอัตรา เงินเดือนเฉลี่ยที่จะนำมาคำนวณบำนาญให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
http://www.kodmhai.com/25362540/253625401/453-35-93.html#t4
จากคุณ |
:
ข้างบูรพา
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ก.พ. 54 06:27:36
|
|
|
|