 |
คุณ ปรานยิ่งดี ครับ
กรณีนี้กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด และกำหนดโทษ แล้วไงครับ การจับกุมผู้ที่ซื้อเสียงเพื่อให้โหวตโน จึงไม่ได้ขัดต่อ ป.อาญา มาตรา 2 และ รัฐธรรมนูย มาตรา 39 แต่อย่างใด
เพราะการกาช่องไปประสงค์ลงคะแนน คือการให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองทุกคน ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ในความเห็นของผม จ้างคนเพื่อให้นอนหลับทับสิทธิก็ผิดเช่นกัน
โดยคำว่า ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด หมายความว่า มีพรรคการเมือง หรือผู้สมัคร ที่จะไม่ได้รับการลงคะแนน เพราะการให้หรือ เสนอให้ครับ เปรียบเทียบเหมือนการฆ่าผู้อื่น ที่ผู้อื่นหมายถึงใครก็ได้ จะคนเดียวหลายคนก็ได้ และผู้ฆ่าไม่จำเป็นต้องประสงค์จะฆ่านายกว่านาย ข แค่ประสงค์ต่อผลให้มีคนตายก็พอ (ถ้าตีความแบบคุณ โอซามา บิน ลาเดน ย่อมไม่อาจถูกจับกุมฐาน เป้นผู้ใช้ฆ่าผู้อื่น เพราะการขับเครื่องบินชนตึกเวิร์ลเทรด ไม่ได้ประสงค์ฆ่า นาย ก นาย ข แต่ต้องการฆ่าทุกคน ที่ อยู่ในตึก ในขณะนั้นแบบเหมารวม)
จริงครับว่ากฎหมายอาญาต้องตีความเคร่งครัด แต่ไม่ได้หมายความว่าตีความจนไม่เกิดผลบังคับใดๆเลย บางครั้ง ศาลก็เคยตีความในลักษณะขยายความเพื่อให้ วัตถุประสงค์ของกฎหมายบรรลุผล เช่นเคยมีฎีกา ตีความว่าการลักกระแสไฟฟ้า หรือ ลักสัญญาณโทรศัพท์เป็นลักทรัพย์ ทั้งที่ตัวกฎหมายจริงๆ เขียนว่า "เอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น" และทรัพย์ ใน ป.พ.พ. คือวัตถุมีรูปร่าง แต่ไฟฟ้าไม่มีรูปร่างซะหน่อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2501 การลักกระแสไฟฟ้า ย่อมเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 หรือ 335 แล้วแต่กรณี
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2501)
________________________________ เรื่อง สมคบกันลักทรัพย์ (กระแสไฟฟ้า)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกที่ยังไม่ได้ตัว สมคบกันลักทรัพย์ (กระแสไฟฟ้า) ของการไฟฟ้ากรุงเทพ ฯ กรมโยธาเทศบาล เป็นราคา ๙ บาท ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา ๒๙๓,๒๙๔,๖๓
จำเลยปฏิเสธ
ศาลอาญาพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา ๒๙๓ ให้จำคุกคนละ ๖ เดือน แต่ให้รอการลงโทษไว้ ๑ ปี ให้จำเลยใช้ค่ากระแสไฟฟ้า ๙ บาทด้วย
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ ๒ ไม่ได้ร่วมทำผิดด้วยพิพากษาแก้ให้ยกคำฟ้องจำเลยที่ ๒
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๒ ด้วย จำเลยที่ฎีกาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ ๑ เฉพาะข้อกฎหมายที่ว่า กระแสไฟฟ้าไม่ใช่ทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา จึงย่อมลักกันไม่ได้
ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่มีมติว่า การลักกระแสไฟฟ้าย่อมเป็นผิดตามประมวลกฎหมาย มาตรา ๓๓๔ หรือ ๓๓๕ แล้วแต่กรณี
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าตามรูปคดียังไม่พอจะเอาผิดแก่จำเลยที่ ๒ ฐานสมคบกับจำเลยที่ ๑ ลักกระแสไฟฟ้ารายนี้
พิพากษายืน ( สารรักษ์ประนาท - ประมูล สุวรรณศร - ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2545 สัญญาณโทรศัพท์เป็นกรรมวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องที่ศูนย์ชุมสายประจำภูมิภาคของการสื่อสารแห่งประเทศไทยผู้เสียหาย แล้วแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นคลื่นวิทยุส่งไปยังเครื่องรับปลายทางในต่างประเทศ เครื่องรับปลายทางจะแปลงสัญญาณกลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดที่จำเลยต่อพ่วงเป็นตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากสายโทรศัพท์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
แก้ไขเมื่อ 20 พ.ค. 54 13:45:51
แก้ไขเมื่อ 20 พ.ค. 54 13:44:26
จากคุณ |
:
อี้จับสี่
|
เขียนเมื่อ |
:
20 พ.ค. 54 13:29:03
|
|
|
|
 |