ตอบคุณจขกท. เหตุที่การล้มละลายทำให้ บุคคลล้มละลายจะประกอบ"วิชาชีพ"บางอย่างไม่ได้เช่นทนาย หรือ ขาดคุณสมบัติหากเป็นข้าราชการนั้น
ความเห็นส่วนตัว ผมเห็นว่า ผู้ประกอบวิชาชีพและข้าราชการ จะต้องมีความรับผิดชอบใน"วิชาชีพ"และในตำแหน่งหน้าที่ของตนมากกว่าผู้อื่น กฏหมายที่กำหนดการประกอบวิชาชีพของพวกเขา จึงต้องกำหนดมาตรฐานในการดำรงตำแหน่งให้สูงกว่าคนทั่วไปครับ และ หากมีเหตุเกิดกับตัวเขาและเข้ากับหลักเกณฑ์ที่จะต้องออก ก็ต้องออกครับ
ซึ่งจะไปโทษกฏหมายล้มละลายก็ไม่ได้ เพราะ กฏหมายล้มละลายไม่ได้ห้ามการ เข้า-ออกจากตำแหน่ง ในวิชาชีพหรืออาชีพข้าราชการนั้นๆ คงต้องไปดูในส่วนกฏหมายเฉพาะที่กำหนดเงื่อนไขในการ เข้า-ออกจากตำแหน่งนั้นๆมากกว่า ทุกกฏหมายที่ร่างออกไปและบังคับใช้ย่อมมีเหตุผลในตัวเสมอครับ
เช่น กฏหมายที่เกี่ยวข้องในการกำหนดคุณสมบัติที่จะครองตำแหน่งข้าราชการ คือ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๓๖ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
(๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๖) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.พ. ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ
การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด
ในกรณีตามวรรคสอง ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้
//////////
อย่างไรก็ตาม ใน พรบ.ข้างต้นก็ให้ทางออกไว้ว่าบุคคลล้มละลายก็อาจรับราชการต่อไปได้ โดยไปขอยกเว้นตามระเบียบของ กพ. (ตามความในวรรคท้าย)
จะได้ไม่ได้ก็อีกเรื่องครับ
ยังไงๆคุณ จขกท. ลองให้คุณพ่อคุณแม่ ลองใช้ช่องทางดังกล่าวดูครับ
ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมเพียงเท่านี้ครับ