 |
ธนาคารมีสิทธิหรือดุลพินิจที่จะไม่จ่ายเงินให้กับผู้ทรง ที่นำเช็คมาเรียกเก็บเงินได้ กล่าวคือ เมื่อมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น (๑) เมื่อไม่มีเงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายเพียงพอที่ธนาคารจะจ่าย เงินตามเช็คนั้นได้ ซึ่งอาจเป็นกรณีที่ไม่มีเงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายเลย หรือมีน้อยกว่าจำนวนที่สั่งจ ่าย เช่น สั่งจ่าย ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่มีเงินในบัญชีของผู้สั่งจ่าย ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) เมื่อผู้ทรงนำเช็คไปเบิกเงินเมื่อเกินหกเดือน นับแต่วันที่ผู้สั่งจ่ายออกเช็ค (วันที่ผู้สั่งจ่ายระบุไว้ในเช็คว่าเป็นวันออกเช็ค) (๓)เมื่อธนาคารได้รับการบอกกล่าวว่าเช็คฉบับที่มีผู้เรียกเก็บเงินนั้นสูญหายไปจากผู้ทรงหรือถูกลักไป ซึ่งอาจเป็นการบอกกล่าวโดยผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงก็ได้ แต่ถ้าธนาคารเห็นว่าแม้มีกรณีต่างๆ ดังกล่าวเกิดขึ้นก็ยังควรจ่าย เงินให้แก่ผู้นำเช็คมาเรียกเก็บเงินก็สามารถทำได้อยู่ อย่างไรก็ตามในบางกรณีนั้นธนาคารต้องไม่จ่ายเงินให้ผู้ที่นำเช็คมา เรียกเก็บเงิน เพราะอำนาจและหน้าที่ในการใช้เงินของธนาคารหมดลง กล่าวคือ เมื่อมีเหตุการณ์อย่างใดอย ่างหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น (๑) เมื่อผู้สั่งจ่ายห้ามธนาคารใช้เงิน (๒) เมื่อธนาคารรู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย (๓) เมื่อธนาคารรู้ว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว หรือ มีคำสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็นคนล้มละลาย หรือได้มีการประกาศโฆษณาคำสั่ง ดังกล่าว กรณีตามข้อ (๒) และข้อ (๓) นั้นจะถือว่าธนาคารรู้ก็ต่อเมื่อ ผู้ที่มีอำนาจจัดการธนาคารตามกฎหมายรับรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าว เช่น ผู้จัดการธนาคารรู้ว่าผู้สั่งจ่ายตายหรือล้มละลายจึงจะถือว่าธนาคารได้รับรู้
จะยุ่งยากภายหลังนะครับ
หากลูกไม่สามารถเปิดบัญชีได้เอง หาคนที่ไว้ใจได้เปิดให้ซิครับ
จากคุณ |
:
uthai_y
|
เขียนเมื่อ |
:
25 มิ.ย. 54 12:10:51
|
|
|
|
 |