แย้งคห. 84
1.จริงอยู่ศาลโลกตัดสินให้กัมพูชาชนะ ไทยยอมปฏิบัติแต่ไม่ได้ไม่แย้ง รัฐบาลสมัยนั้นแย้งว่า
ข้าพเจ้าใคร่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า ในการตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนอันชัดแจ้งเกี่ยวกับสิทธิใดๆ ที่ประเทศไทยมีหรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
ดังนั้น การที่นพดลไปเซ็นต์ให้เขมรจดทะเบียนปราสาทพระวิหาร เท่ากับว่าเราขายสิทธิ์ที่จะเรียกร้องเอาปราสาทกลับคืนมาในอนาคต
2. พื้นที่ทับซ้อนเห็นตรงกันว่าไม่ยอมยกให้เขมรแน่ ฉะนั้นถ้าเราไม่ถอนตัวจากที่ประชชุมมรดกโลกตอนนั้นเลย เราก็จะแพ้ด้วยถูกกฎหมายปิดปากเมื่อที่ประชุมทำการโหวต เพราะให้กัมพูชาเสนอ propose ของเขาในข้อที่หก ที่ใช้ศัพท์ว่า "review ความคืบหน้าในการบูรณะปราสาทในการประชุมครั้งที่36 (ครั้งหน้า)" ซึ่ง review มีความหมายเป็นนัยว่า มีข้อตกลงกันแล้วแต่ให้มาสรุปทวนความก้าวหน้า แปลความลึกๆได้ว่าไทยยอมให้กัมพูชาบูรณะ แสดงว่าไทยยอมให้กัมพูชาทำแผนจัดการ ซึ่งสุ่มเสี่ยงว่าไทยอาจเสียดินแดนในอนาคต
การที่คุณสุวิทย์ถอนตัวตอนนั้น ทำให้ไทยไม่ต้องผูกพันกับมติที่ประชุม แล้วผลลัพธ์ต่อมาก็เป็นผลดีกับไทย คือยูเนสโกยอมถอนข้อ6 ออกจากที่ประชุม พวกเขา(ยูเนสโก)จึงมาให้ข่าวภายหลังได้ว่า ไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนจัดการ(เพราะไม่ได้พิจารณาข้อหก) ..ซึ่งหลายคนก็เลยเข้าใจผิดว่าไทยทำตัวเหมือนเด็ก ไม่มีเหตุผล หรือขี้แพ้ชวนตี