นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน นับว่าเป็นข่าวดีของผู้ใช้แรงงานทุกคนครับ
แต่ขณะเดียวกัน ก็น่าจะเป็นข่าวที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่สำหรับ ผู้ประกอบการ เพราะ ต้นทุนสำคัญ(คือค่าจ้างนั่นแหละ)ต้องเพิ่มขึ้นไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้น ก็คงมีผลต่อ"ราคา" ของสินค้า ที่น่าจะปรับเพิ่มขึ้นไปด้วย
ซึ่งคงต้องมีการ คุย หลายๆฝ่ายครับ ว่าจะแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ แต่ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆในทันที
เพราะ มีกฏหมายบังคับขั้นตอนการปรับขึ้นค่าแรงไว้อยู่ ดังนี้
:: พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 78 ให้มีคณะกรรมการค่าจ้างประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนฝ่ายรัฐบาลสี่คนผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละห้าคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ และข้าราชการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นเลขานุการ
ลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและ ผู้แทนฝ่ายลูกจ้างตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรี กำหนด
มาตรา 79 คณะกรรมการค่าจ้างมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายค่าจ้าง
(2) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ข้อแนะนำภาค เอกชนเกี่ยวกับการกำหนดค่าจ้างและการปรับค่าจ้างประจำปี
(3) กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน
(4) กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ลูกจ้างควรได้รับตามความ เหมาะสมแก่สภาพเศรษฐกิจและสังคม
(5) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพัฒนาระบบค่าจ้าง
(6) ให้คำแนะนำด้านวิชาการและแนวทางการประสาน ประโยชน์แก่หน่วยงานต่าง ๆ ในภาคเอกชน
(7) รายงานเสนอรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละครั้งเกี่ยวกับภาวะ ค่าจ้างและแนวโน้มของค่าจ้างตลอดจน มาตราการที่ควรจะได้ ดำเนินการ
(8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมาย อื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างหรือ ตามที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมอบหมาย
ในการเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการค่าจ้าง จะมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรายได้ของประเทศด้วยก็ได้
มาตรา 80 ให้กรรมการค่าจ้างซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ในกรณีที่กรรมการค่าจ้างซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจาก ตำแหน่งก่อนวาระ ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการในประเภทเดียว กันเป็นกรรมการแทน และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับ วาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน เว้นแต่วาระของกรรมการ เหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้
ในกรณีที่กรรมการค่าจ้างซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจาก ตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้ กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้แต่งตั้ง กรรมการใหม่เข้ารับหน้าที่ ซึ่งต้องแต่งตั้งให้เสร็จสิ้นภายใน เก้าสิบวันนับแต่วันที่กรรมการเดิมพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา 81 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตาม มาตรา 80 กรรมการค่าจ้างซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจาก ตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะขาดประชุมตามที่กำหนด สามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ
มาตรา 82 การประชุมคณะกรรมการค่าจ้างต้องมีกรรมการ เข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด โดยมี กรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคน จึง จะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน หรืออัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม มาตรา 79 จะต้องมีกรรมการเข้าประชุม ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด โดยมีกรรมการ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละสองคนจึงจะเป็นองค์ ประชุม และต้องได้มติอย่างน้อยสองในสามของกรรมการที่เข้า ประชุม
ในการประชุมเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำคราวใด ถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ในวรรคสอง ให้จัดให้มีการ ประชุมอีกครั้งหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งหลังนี้แม้จะไม่มีกรรมการซึ่งมาจากฝ่ายนายจ้าง หรือฝ่ายลูกจ้างเข้าร่วมประชุม ถ้ามีกรรมการมาประชุมไม่น้อย กว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด ก็ให้ถือเป็นองค์ ประชุม และต้องได้มติอย่างน้อยสองในสามของกรรมการที่เข้า ประชุม
มาตรา 83 ในการประชุมคราวใด ถ้าประธานกรรมการ ไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มา ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนน เสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีก เสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 84 ให้คณะกรรมการค่าจ้างมีอำนาจแต่งตั้งคณะ อนุกรรมการดังต่อไปนี้เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่ง อย่างใดแทนคณะกรรมการได้
(1) คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
(2) คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด
(3) คณะอนุกรรมการอื่นที่คณะกรรมการเห็นสมควรกำหนด
ให้คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดองค์ประชุมและวิธีดำเนินงาน ของคณะอนุกรรมการได้ตามความเหมาะสม
มาตรา 85 ในการปฏิบัติหน้าที่ให้คณะกรรมการค่าจ้าง หรือคณะอนุกรรมการ หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างหรือคณะ อนุกรรมการมอบหมายมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสาร หรือวัตถุใด ๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
(2) ให้หน่วยงานหรือบุคคลใดให้ความร่วมมือในการสำรวจ กิจการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจได้
(3) เข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของ นายจ้างในเวลาทำการเพื่อศึกษา สำรวจ วิจัย ตรวจสอบ หรือสอบถามข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะใช้ใน การพิจารณาตาม มาตรา 79 ในการนี้ ให้นายจ้างหรือบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกส่งหรือแสดงเอกสาร หรือ ให้ข้อเท็จจริงและไม่ขัดขวางการปฏิบัติการตามหน้าที่ของ บุคคลดังกล่าว
มาตรา 86 ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม มาตรา 85 ให้ กรรมการค่าจ้าง อนุกรรมการ หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้าง หรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย แสดงบัตรประจำตัวหรือ หนังสือมอบหมายแล้วแต่กรณี ต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวกรรมการค่าจ้างและอนุกรรมการตาม วรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 87 ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานให้คณะกรรมการค่าจ้างศึกษา และพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรา ฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคา ของสินค้า ความสามารถของธุรกิจผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จะกำหนดให้ใช้ เฉพาะกิจการประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภทหรือใน ท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งก็ได้
การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต้องไม่ต่ำกว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด
ถ้าไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่ใดให้ถือ ว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานเป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของ ท้องที่นั้น
มาตรา 88 เมื่อได้ศีกษาข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 87 แล้ว ให้คณะกรรมการค่าจ้าง กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพร้อมทั้งรายละเอียดต่างๆ ตามที่ เห็นสมควรเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 89 ประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม มาตรา 88 ให้ใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างนั้นจะมีสัญชาติ ศาสนา หรือเพศใด
มาตรา 90 เมื่อประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ มีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ให้นายจ้างที่อยู่ในข่ายบังคับของประกาศกำหนดอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำปิดประกาศดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย เพื่อให้ ลูกจ้างได้ทราบ ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง ตลอดระยะ เวลาที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
มาตรา 91 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการค่าจ้างขึ้นใน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมและให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อ ไปนี้
(1) จัดทำแผนงาน โครงการเสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้าง และคณะอนุกรรมการ
(2) ประสานแผนและการดำเนินการของคณะกรรมการค่าจ้าง และคณะอนุกรรมการตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(3) รวบรวม ศึกษา วิจัย วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ เศรษฐกิจ แรงงาน ภาวะการครองชีพ การขยายตัวของตลาด แรงงาน ผลิตภาพแรงงาน การลงทุน การย้ายถิ่นฐาน และข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ ค่าจ้างและคณะอนุกรรมการ
(4) เสนอแนะผลการศึกษา และผลการพิจารณาข้อมูลทาง วิชาการ และ มาตราการเสริมอื่นๆ ต่อกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการ พัฒนาระบบค่าจ้างและรายได้
(5) ติดตามและประเมิณผลการปฏิบัติงานตามมติของคณะ กรรมการค่าจ้าง
(6) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการค่าจ้างหรือคณะกรรมการ มอบหมาย
////////////
จากข้อกฏหมายข้างต้น จึงเห็นว่ายังต้องมีขั้นตอนในการคุยกัน ระหว่าง ตัวแทนลูกจ้าง ตัวแทนนายจ้าง ตัวแทนของรัฐ และต้องมีการสำรวจ-วิจัยอีกพอควร จึงจะกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมได้
อย่างไรก็ตาม ในคห.ส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะเท่าที่ได้กันปัจจุบันของแรงงานระดับล่างๆ ก็ไม่น่าเพียงพอแก่การเลี้ยงตัวเองและครอบครัว
ได้แต่หวังว่า จะหา "จุดสมดุลย์" ของค่าจ้างที่เหมาะสม คือ ลูกจ้างอยู่ได้ นายจ้างอยู่ได้ ราคาสินค้าไม่ขึ้นไปมากนัก ถ้าหาจุดสมดุลย์นั้นๆเจอ ยังแต่จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนครับ