 |
จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๒๓๗ เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้น มิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมีให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน
-----------------------------------------------------------------------------------------
จากมาตรานี้ ขอยกตัวอย่างอย่างง่ายๆ
สมมุติว่าคุณถูกฟ้องร้อง เป็นหนี้ 10ล้านบาท นานหลายปี คุณไม่จ่าย เจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะยึดทรัพย์สินของคุณไปขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้
ทีนี้สมมุติว่าคุณไม่มีเงินสด แต่มีทรัพย์สินติดตัวดังนี้ อสังหาริมทรัพย์ ราคา 5ล้าน ทองคำ 200บาท ราคาตลาด ณ ขณะนั้น บาทละ 25,000 คุณไม่อยากให้ ก็เลยโอนโอนโฉนดหรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์หรืออะไรก็แล้วแต่ ไปให้ญาติพี่น้อง พี่ป้าน้าอาของคุณ โดนโอนให้ไปเลยแบบฟรีๆ
ส่วนทองคำ คุณไปถามเพื่อนว่าสนใจมั้ย อั๊วะขายต่อลื้อ บาทละ 100บาท รวมเบ็ดเสร็จก็ 20,000 บาท เพื่อนซื้อไป กลายเป็นกรรมสิทธิของเพื่อน
ผลลัพธ์คือคุณเหลือเงินสด 20,000 บาท ให้เจ้าหนี้มายึดเอาไป
ถามว่าในกรณีแบบนี้ เจ้าหนี้จะทำยังไง ?
นั่นคือที่มาของมาตรา ๒๓๗ ซึ่งเป็นตัวบทกฏหมายของไทย ซึ่งตัวกฏหมายของเยอรมันเอง หรือตัวกฏหมายระหว่างประเทศ "อาจจะ" มีข้อแตกต่างปลีกย่อยไปจากนี้ แต่หากตีความโดยอาศัยมาตรา ๒๓๗ เป็นแนวทาง
การที่รัฐบาลมีสถานะเป็นลูกหนี้ ทำให้การแก้ต่างว่าตัวเครื่องไม่ใช่ของรัฐ เพราะ "ให้" คนอื่นไปแล้วนั้นฟังไม่ขึ้น ควรจะมองหาช่องทางอื่นในการโต้แย้งเสียจะดีกว่า
จากคุณ |
:
charoka
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ก.ค. 54 00:03:27
|
|
|
|
 |