 |
แปรรูป...อืมมมม....
ในอนาคตอีกไม่นานนี้ คาดว่า Unesco จะประกาศให้ รฟท. เป็นมรดกโลกที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ครับ
ผมเป็นคนรักรถไฟ หลงเสน่ห์รถไฟ
นั่งมาหัวเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ นั่งตั้งแต่หัวลำโพง ทะลุไปยัน KL ข้ามฝั่งเข้าไปสิงคโปร์มาแล้วหลายรอบ พอไปเปรียบเทียบกับม้าเหล็กของเพื่อนบ้านแล้วน้อยใจครับ
น้อยใจที่เมืองไทยมีนักการเมือง และ สหภาพฯ ที่แสนห่วย
การแปรรูปมันไม่ง่ายหรอกครับ ตราบใดที่ยังมีสหภาพเป็นก้างขวางคออยู่
ถ้ามันง่ายจริงๆป่านนี้รัฐบาลก่อนหน้านี้ทุกๆรัฐบาลเขาคงทำกันไปแล้ว
อินเดียเคยมรีรถไฟที่ห่วยในระดับตำนาน แต่เขากัดฟันกลืนเลือด ยอมเจ็บครั้งเดียว
เขาฮึดแปรรูป จัดการบริหารเสียใหม่ จนตอนนี้รถไฟเมืองโรตีสามารถทำกำไร และเริ่มมีชื่อเสียงในการให้บริการแล้ว
ในบางสาย เช่น สาย"ราชธานี" คุณๆที่รักต้องจองกันเหงือกบวมกว่าจะได้นั่ง
ของไทยเรายังไม่มีอะไรเปลี่ยนครับ ยำเนื้อ และ ข้าวผัดรถไฟที่แสนชืด ยังเป็นเมนูนิยม
ส่วนรถไฟเมืองผู้ดีก็ใช่ย่อยนะขอรับ
สมัยที่ "นางสิงห์เหล็ก" มากาเร็ต แธ็ทเชอร์ เป็นใหญ่ที่บ้านเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่ง นางได้กระทำการในแบบที่ชายอกสามศอกยังต้องอาย
แธ็ทเชอร์สั่งแปรรูปกิจการที่ล้าหลัง เป็นไขมันถ่วงประเทศ สหภาพก็สหภาพเถอะ มาเจอนางสิงห์เหล็กเข้า ห ง อ ห ม ด ล า ย ไ ป เ ล ย ย่ะ !!!!!!!!!!!!
แต่ที่ประเทศสารขัณฑ์ที่รักของเรา หากคุณคิดจะแปรรูปการรถไฟแล้วละก็ คุณจะเจอข้อหา "ขายชาติ" ในทันทีพะยะค่ะ
บรรดาแกนนำสหภาพไดโนเสาร์ทั้งหลาย จะประสานเสียงกันว่า "นี่คือสมบัติของ ร.5"
แต่พวกมันคงลืมไปว่าพระองค์ท่านคงไม่มีพระประสงค์ให้เราย่ำอยู่กับที่แน่ๆ
เรามีขนส่งระบบรางเป็นประเทศในลำดับต้นๆของเอเชีย แต่ผ่านไปร้อยปี ชาวบ้านเขาไปถึงไหนแล้ว ส่วนเรากลับถอยหลังเข้าคลอง การแปรรูปไม่ได้หมายถึงการขายกิจการให้เอกชนไปทั้งหมด 100% แต่เป็นการจัดการระบบการบริหารให้พ้นจากการทำงานเช้าชามเย็นชามครับ
แปรรูปแล้วรัฐอาจมีสัดส่วนในการถือหุ้นเท่าไรก็ว่ากันไป รัฐจะถือเท่าไร ,เอกชนจะผ้าป่าสามัคคีอีกเท่าไร..มันมีสัดส่วนอยู่
ที่ไหนๆเขาก็ให้ความสำคัญกับขนส่งระบบรางทั้งนั้น เพราะสามารถขนคนเดินทางได้จำนวนทีละมากๆ และช่วยลดภาระการนำเข้าน้ำมันของชาติได้
ยังไม่ต้องคิดถึงไฮสปีดเทรนหรอกครับ เอาแค่รถไฟที่เรามีอยู่วิ่งเข้า-ออกให้ตรงเวลาก่อนก็พอ เพราะรถไฟความเร็วสูงนั้นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่ผมก็เชื่อว่าหากเปิดให้เอกชนมาลงทุน ก็มีคนเอาแน่นอน
แหมมม...บ้านเมืองอื่นเขาสร้างกันโครมๆ แล้วบริหารกันกำไรจนสะดือบวม เอกชนเขาไม่โง่ลงทุนในโครงการที่มองแล้วจะเจ๊งหรอก
เราอาจจะกำหนดไปเลยว่า เขาต้องจ่ายค่าเวนคืน ค่าวางราง วางระบบ ค่าขบวนรถ โดยเขาจะได้สัมปทานกี่ปี เมื่อครบระยะสัมปทานแล้วก็จะตกเป็นของรัฐโดยอัติโนมัติ
ส่วนวิธีกำหนดค่าโดยสาร ก็อาจต้องโยงไปถึงตัวสัมปทานเพื่อจูงใจเอกชน
โดยหลักการให้สัมปทานก็ต้องเปลี่ยนใหม่... วิธีคิดแบบเก่าต้องเลิกให้หมด...คิดใหม่ซะบ้าง
จากที่รัฐเคยคิดแต่ว่า "ใครจ่ายสัมปทานให้รัฐสูงสุด ก็จะได้ดำเนินกิจการ" เปลี่ยนเป็น "ใครให้ผลประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ก็จะได้สัมปทาน"
ผลประโยชน์สูงสุดที่ว่า ก็คือราคาค่าโดยสารที่ประชาชนรับได้ครับ
ส่วนเรื่องค่าโดยสารที่ว่ากันว่าแพงไปจะไม่มีคนขึ้น อันนั้นผมมองว่าไม่ใช่ปัญหาหรอกครับ เพราะรถไฟปกติก็ยังมีอยู่
รถไฟความเร็วสูงคุณจะเอามาวิ่งบนรางปกติไม่ได้อยู่แล้ว มันจะต้องเวนคืน และวางราง วางระบบใหม่ กันทั้งหมด
การวางรางจะต้อง "ตรง" ให้มากที่สุด เพื่อที่รถไฟจะได้ใช้ความเร็วได้อย่างเต็มที่ ทางโค้ง จุดตัดกับรถยนต์ จะต้องมีให้น้อยที่สุด อาจต้องทำสะพานข้าม หรือทำอุโมงค์ลอดก็ต้องทำ
ที่สำคัญรถไฟความเร็วสูงไม่ได้จอดบ่อยครับ จาก กทม.อาจไปจอดนครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิถต์ ลำปาง แล้วเชียงใหม่เลย
ส่วนรถไฟปกติก็ทำให้มันตรงเวลา คนที่เบี้ยน้อยหอยน้อยก็ยังได้ใช้บริการอยู่
ที่ญี่ปุ่นเคยมีกรณีเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟ สาเหตุเพราะรถไฟขบวนดังกล่าวเกิดการล่าช้าไปประมาณ 5 วินาที
แม่นแล้ว...คุณๆอ่านไม่ผิดหรอก...5 วินาที
คนขับเห็นดังนั้นเลยเร่งความเร็วเพื่อชดเชย 5 วินาทีที่เสียไป จนรถเกิดการเหวี่ยงตัวในช่วงที่เข้าโค้งและเกิดอุบัติเหตุ เหตุครั้งนี้ทำให้ผู้ว่ารถไฟ และ รมต.ที่ดูแลลาออกจากตำแหน่งครับ !!!
นักการเมืองไทยเห็นข่าวนี้แล้วหัวเราะกันใหญ่ ค่าที่ว่านักการเมืองญี่ปุ่นทำไมหน้าบางกันเหลือเกิน
และยังไม่นับเรื่องของอภิสิทธิ์ สส. และ สว. ที่สภาฯให้สิทธิ์ในการใช้บริการรถไฟฟรีๆ ในการกลับภูมิลำเนาเพื่อลงพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่
แต่ พณ หัวเจ้าท่านเหล่านี้ก็แทบไม่เคยมาใช้บริการรถไฟเลย ส่วนใหญ่จะนั่งกันแต่เครื่องบิน เพราะสภาจ่ายค่าตั๋วให้คนเหล่านั้น
เมื่อไม่เคยมาสัมผัสรถไฟ แล้วมันจะเข้าใจคนใช้รถไฟได้อย่างไร ???
แต่ไม่ว่าจะค่าตั๋วรถไฟ หรือ เครื่องบิน นั่นก็คือเงินภาษีของคุณๆที่รักทั้งหลายครับ
กลับมาที่รถไฟความเร็วสูง ใครที่มีเงินแต่ไม่อยากนั่งเครื่องบินก็นั่งรถไฟความเร็วสูงซะ
หาก กทม.-เชียงใหม่ ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ผมว่าคงมีหลายคนเปลี่ยนจากเครื่องบินมานั่งรถไฟ
เพราะเครื่องบินอาจจะใช้เวลาแค่ชั่วโมงเดียวเท่านั้น แต่หากรวมเวลาที่คุณต้องออกจากบ้านไปสนามบิน ไปเช็คอินก่อนเวลาตามที่สายการบินกำหนด มันก็ถึงไม่ต่างกันเท่าไร
แต่รถไฟนั้นพาคุณเข้าไปถึงในเมืองเลย ในขณะที่สนามบินจะอยู่นอกเมืองทุกสนามบิน รวมเวลาแล้ว ผมว่าสูสีกันมากจริงๆแบบต้องถ่ายรูปตัดสินเลยครับ
แต่ก็นั่นแหละ...สหภาพมันไม่ยอมหรอก
ผมยกตัวอย่างกรณีที่ทุกวันนี้ รฟท.ให้เอกชนมาสัมปทานเดินรถในบางสาย เขาต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐ และต้องมีค่าประกอบการต่างๆ แต่ทำไมรถด่วนพิเศษของเอกชนถึงสามารถทำกำไรได้ แถมยังมีอาหาร ของว่าง ผ้าเย็น เสิร์ฟอีกต่างหากด้วย
ส่วนรถในสายอื่นๆที่ดำเนินการโดย รฟท.กลับบอกว่าขาดทุน
เอาหัวแม่ตรีนคิดก็คงพอมองออกกันนะครับ..ไม่ต้องถึงขนาดสมองหรอก..
ทุกครั้งที่สหภาพประท้วง ผมชอบสนับสนุนการประท้วงของสหภาพครับ
เพราะเป็นโอกาสอันดีที่รัฐจะ "ไล่ออก" ให้หมด ถือโอกาสนี้เอาเหลือบพวกนี้ไปให้พ้นๆซะเลย แล้วสังคายนาการรถไฟเสียใหม่ทั้งหมด
ยิ่งหากคุณๆได้รู้เห็นว่าคนอย่างนายสมศักดิ์ โกสัยสุข อดีตแกนนำฯ ว่าร่ำรวย ล่ำซำ ขนาดไหนแล้ว...หึหึหึ...คุณๆคงหายสงสัยเลย ว่าทำไมพวกนี้ถึงไม่ยอมให้มีการแปรรูปการรถไฟแห่งประเทศสารขัณฑ์
นักการเมืองอกสามศอกของบ้านเรา หากทำไม่ได้ ก็กรุณาอายผู้หญิงอย่างมากาเร็ต แธ็ทเชอร์ บ้างเถอะ !!!!!
เสียดายภาษีที่จ่ายไปทุกเดือนจริงๆ......ฮ่วยยยย...
แม้มันจะแย่แค่ไหน ผมก็ยังรักรถไฟไทย และจะยังคงเลือกเป็นอย่างแรกในการเดินทาง เพราะเสน่ห์ของรถไฟมันยากที่จะบรรยายจริงๆ
แต่ผมขอสาปส่ง ผู้บริหาร ,นักการเมือง และ สหภาพฯ ครับ
มีแต่คนรักรถไฟเท่านั้น .....ที่จะเข้าใจคนรักรถไฟด้วยกัน.....
แก้ไขเมื่อ 03 ส.ค. 54 16:30:45
จากคุณ |
:
ตุ้ม แม็คคาร์ทนี่ย์ (Toom McCartney)
|
เขียนเมื่อ |
:
3 ส.ค. 54 16:16:23
|
|
|
|
 |