 |
"เฟื่องว่าจ้างให้ฟ้าขับรถยนต์ของตนไปส่งเสื้อผ้าให้กับเพื่อนของเฟื่อง" ข้อสอบเจาะจงใช้คำว่า "ว่าจ้าง" ไม่ใช่ "กระทำการแทน"หรือคำอื่นใดในทำนองเดียวกัน เช่น "ใช้ หรือมอบหมาย" การตีโจทกย์ตรงนี้ต้องมัดว่าเป็นเรื่องของ "จ้างทำของ" ดังตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๗๖/๒๕๑๐ และ ๑๙๕๒/๒๕๒๒
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๗๖/๒๕๑๐
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เจ้าของรถยนต์บรรทุก ได้ให้จำเลยที่ 1 ซ่อมจำเลยที่ 1 รับซ่อม แต่รถเสียเพียงเล็กน้อย จำเลยที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 1 ขับรถไปส่งที่ถนนผดุงกรุงเกษม จำเลยที่ 1 ขับรถไปส่งแล้วขับกลับ เมื่อถึง สี่แยกโรงเรียนนายร้อยจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทชนกับรถจักรยานยนต์ ของบุตรผู้เสียหาย ทำให้บุตรผู้เสียหายถึงแก่ความตาย โจทก์ขาดไร้ผู้อุปการะ จากผู้ตายคิดค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี จำเลยที่ 1 ขับรถไปส่งจำเลยที่ 2 จนเกิดเหตุ กระทำในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของ จำเลยที่ 2 ขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหาย
ก่อนจำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การโจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำไปในฐานะตัวแทน หรือทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 เป็นช่างรับซ่อม การรับซ่อมรถ ไม่ใช่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ขับรถไปส่งจำเลยที่ 2 เป็นการ ทดลองรถ จำเลยที่ 2 มิได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนนำรถไปส่ง อู่เพื่อซ่อม เงินที่โจทก์เรียกร้องเรียกไม่ได้เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้ขาดอุปการะ ไม่ใช่ผู้ทุพพลภาพ ไม่มีสิทธิฟ้องร้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างจำเลยที่ 2 เพราะการ ซ่อมรถเป็นการจ้างทำของ ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 มิได้ควบคุมจำเลยที่ 2 ไม่ได้ตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การขับรถกลับอู่ จำเลยที่ 2 ไม่ได้นั่งไปด้วย เป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 โดยลำพัง จำเลยที่ 2 ไม่ได้มอบหมายหรือ สั่งให้จำเลยที่ 1 กระทำการแทน จำเลยที่ 1 มิใช่เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 จ้างจำเลยที่ 1 ซ่อมรถ เป็นการจ้างทำของ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับจ้าง จำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างไม่อยู่ในความควบคุม บังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงานหรือบงการแก่ ผู้รับจ้าง จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2
พิพากษายืน
( ชิต บุณยประภัศร - ลออง จุลกะเศียน - แถม สิริสาลี )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๘๒/๒๕๒๒ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 1 จ้างนายไพบูลย์ไปยึดรถยนต์ ของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นลักษณะของสัญญาจ้างทำของ โดยความสำเร็จ ของงานเป็นวัตถุประสงค์ของสัญญาจ้าง ผู้ว่าจ้างไม่ต้องไปสั่งการอย่างใด ในการทำงานผู้รับจ้างมีสิทธิที่จะทำการใด ๆ ได้เพื่อให้ได้ผลงานโดยมิต้อง ฟังคำสั่งของผู้ว่าจ้างและเป็นสัญญาระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง มิใช่ สัญญาจ้างแรงงานระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 จ้างนายไพบูลย์ ไปยึดรถยนต์คันเกิดเหตุแล้วนายไพบูลย์ได้จ้างจำเลยที่ 2 ไปยึดอีกต่อหนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 มิได้อยู่ในฐานะนายจ้าง ลูกจ้าง และไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์คัน เกิดเหตุไปชนรถยนต์ของโจทก์ในระหว่างที่ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไปส่งให้ นายไพบูลย์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในการกระทำละเมิดของ จำเลยที่ 2 พิพากษายืน
( สันติ์ ธีรนิติ - มงคล วัลยะเพ็ชร์ - สนิท อังศุสิงห์ )
จากคุณ |
:
boxxcatt
|
เขียนเมื่อ |
:
11 ส.ค. 54 17:08:48
|
|
|
|
 |