ใช่ครับคุณ คห.1
ผิดคือผิด
แต่ประเด็น ตามข่าวคือ กรณีถ้าเป็นการกระทำตามหน้าที่จริงๆ
ภาครัฐควรเข้ามาดูแล ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่นั้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ตามกฏหมายข้างต้น แม้เจ้าหน้าที่ที่ทำละเมิด จะไม่ต้องถูกฟ้องให้รับผิดส่วนตัวตามมาตรา 5 ก็ตาม
แต่ ถ้าหน่วยงานของรัฐใช้ค่าเสียหายไปให้ผู้เสียหายเพียงใด เจ้าหน้าที่ๆทำละเมิดนั้น อาจถูกไล่เบี้ยจากหน่วยงานของรัฐที่ชดใช้ค่าเสียหายไดครับ ดังนี้
มาตรา 8 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้ เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรง สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใด ให้คำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี เป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงาน ของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่อง ลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะ ส่วนของตนเท่านั้น
////////////
ตามมาตรา 8 หมายความว่า ถ้าการทำละเมิดของเจ้าหน้าที่นั้นๆ แม้จะเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่อันจะทำให้เขาไม่ต้องถูกฟ้องให้รับผิดส่วนตัวก็จริง แต่หาก การกระทำละเมิดเกิดจาก "ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง" ของเขา เช่น ขับรถเร็วเกินไปแล้วไปชนรถคนอื่น ดังนี้ ถ้าหน่วยงานของรัฐใช้ค่าเสียหายไปเท่าไหร่ ก็อาจมา "ไล่เบี้ย"เอากับเจ้าหน้าที่คนนั้นได้ต่อไปครับ
เข้าใจว่ากฏหมายนี้ คงเพื่อคุ้มครองฝ่ายผู้เสียหายจากการทำละเมิดให้ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย และ คุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่ตั้งใจทำงานให้กล้าทำงานนั่นเอง
แต่ก็นะ หน่วยกู้ภัย-เจ้าหน้าที่กู้ภัย ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตาม พรบ.ความรับผิดฯหรือไม่ ??
จากคุณ |
:
อุบลแมน
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ต.ค. 54 10:17:33
|
|
|
|