 |
ถึงจะบอกให้เจ้าหนี้ยึดบ้านไปเลย แต่ศาลไม่อาจมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ยึดบ้านทันทีได้
1. ศาลจะพิพากษาใหุ้คุณใช้หนี้คงค้าง+ดอกเบี้ย (อาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากในฟ้องถ้าศาลเห็นว่าสูงไป) โดยระบุว่า หากไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบถ้วน ให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ตามคำพิพากษา หากขายทอดตลาดได้เงินไม่พอใช้หนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้จนครบถ้วน 2. ออกคำบังคับให้คุณชำระหนี้ภายใน 30 วัน 3. หลังจาก 30 วัน แล้วคุณไม่ชำระ เจ้าหนี้มาขอออกหมายบังคับคดี 4. ศาลออกหมายบังคับคดี เจ้าหนี้รับไปตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการยึดทรัพย์จำนอง 5. นำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด 6. ขายได้เงินเท่าใด นำมาคำนวณหักลบกับยอดหนี้คงค้าง (ต้นเงิน+ดอกเบี้ย) 7. ถ้ายอดหนี้คงค้างมากกว่าราคาบ้านที่ขายได้ (เช่น หนี้ทั้งหมด 1,000,000 บาท แต่ขายบ้านได้แค่ 800,000 บาท เหลือหนี้อีก 200,000 บาท) จำเลยก็ต้องใช้หนี้ส่วนขาดอีก 200,000 บาท ให้เจ้าหนี้ด้วย ถ้าไม่ใช้ เจ้าหนี้ก็สามารถยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดได้อีก
ฉะนั้นสิ่งที่ลูกหนี้ต้องคำนึงในกรณีอยากให้เจ้าหนี้ยึดบ้านคือ 1. จะขายบ้านได้ราคาพอกับจำนวนหนี้ทั้งหมดหรือไม่ ถ้าไม่พอก็ต้องใช้หนี้ส่วนที่ขาดอีก ไม่ใช่ว่ายึดบ้านไปแล้วเป็นจบ 2. กว่าจะถึงขั้นตอนขายบ้านเสร็จก็เป็นปีๆ ป่านนั้นดอกเบี้ยก็ยังเดินหน้าท้าแดดไปเรื่อยๆ ยอดหนี้ก็จะิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไปด้วย
แก้ไขเมื่อ 09 พ.ย. 54 23:27:03
จากคุณ |
:
Volksrecht
|
เขียนเมื่อ |
:
9 พ.ย. 54 23:26:30
|
|
|
|
 |