USเตรียมทำ'สงครามเย็น'จีน -เพิ่มอานุภาพทุกทัพ พังแนวรับมังกร
|
 |
USเตรียมทำ'สงครามเย็น'จีน -เพิ่มอานุภาพทุกทัพพังแนวรับมังกร
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 พฤศจิกายน 2554 19:27 น
สเตรตริสก์ส - สเตรตริสก์ส (StratRisks.com) เว็บไซต์ด้านกลาโหมชั้นนำของโลกที่รวบรวมข่าวสารเชิงยุทธศาสตร์, ข่าวกรองทั่วโลก, ตลอดจนการวิเคราะห์เชิงลึกและประเมินความเสี่ยงโดยผู้สันทัดกรณีด้านการทหาร
รายงานอ้างหนังสือพิมพ์วอชิงตัน ไทมส์ ฉบับเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (11) ระบุว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เปิดเผยเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน เกี่ยวกับคอนเซ็ปต์การสู้รบรูปแบบ “สงครามเย็น” ยุคใหม่ ที่มุ่งหมายจะตอบโต้ความพยายามของกองทัพจีนในการป้องกันมิให้ศัตรูฝ่าทะลวง เข้าไปในอาณาเขตใกล้กับดินแดนของตน รวมถึงอาณาบริเวณในโลกไซเบอร์ด้วย เว็บไซต์ดังกล่าวอ้างว่า แนวคิดการสู้รบใหม่นี้มีชื่อว่า “แอร์ ซี แบตเทิล (Air Sea Battle)” หรือ การสู้รบทางอากาศและเรือ เป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่กลาโหมอเมริกันอธิบายว่า เป็นขั้นตอนแรกสุดของยุทธการทางทหารต่อจีน ตามรูปแบบของ “สงครามเย็นสมัยใหม่” แผนดังกล่าวจะบัญชาการให้ระดมกำลังพร้อมสรรพทั้งกองทัพอากาศ, นาวี และนาวิกโยธิน เพื่อพิชิต ยุทโธปกรณ์ต่อต้านการเข้าสู่อาณาเขตหวงห้าม (anti-access, area denial weapons) ของกองทัพพญามังกร
ซึ่งยุทโธปกรณ์เหล่านี้ประกอบด้วย อาวุธทำลายดาวเทียม, อาวุธโจมตีทางไซเบอร์, เรือดำน้ำ, เครื่องบินที่มีเทคโนโลยีสเตลธ์ (หลบหลีกเรดาห์ได้) ตลอดจนขีปนาวุธพิสัยไกลที่สามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบินกลางทะเล
******************************************
เจ้าหน้าที่จากสามเหล่าทัพข้างต้นเปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวระหว่างการ อธิบายปูมหลังของแผนการดังกล่าวอย่างย่อๆ ว่า คอนเซ็ปต์นี้ไม่ได้เจาะจงหมายจะเล่นงานประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ ทว่า เมื่อถูกถามว่า ประเทศอื่นใดนอกเหนือจากจีนที่กำลังพัฒนายุทโธปกรณ์ต่อต้านการเข้าถึงเหล่า นี้ ปรากฏว่า พวกเขากลับไม่ได้ให้คำตอบ ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสคนหนึ่งภายในรัฐบาลของประธานาธิบดีบา รัค โอบามา กล่าวแบบเถรตรงมากขึ้นว่า คอนเซ็ปต์ใหม่นี้เป็นหลักไมล์สำคัญในการส่งสัญญาณถึงยุทธการแบบสงครามเย็น ที่จะทำกับจีน “แอร์ ซี แบตเทิล ที่จะใช้กับจีน ก็คือยุทธศาสตร์ทางทะเลที่เคยใช้กับสหภาพโซเวียตนั่นเอง” เจ้าหน้าที่ผู้นี้ กล่าว
ทั้งนี้ในช่วงสงครามเย็นในอดีต กองกำลังนาวีของสหรัฐฯ ซึ่งมีฐานทัพอยู่ทุกมุมโลกได้ใช้ยุทธศาสตร์การปรากฏตัวอยู่ทั่วโลกและแสดง แสนยานุภาพ เพื่อเป็นการป้องปรามการรุกคืบขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียต “นี่เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุก ซึ่งบ่งบอกได้ว่า พวกเราจะไม่นั่งเฉยๆ รอวันถูกลงโทษ” เจ้าหน้าที่คนเดิม กล่าว
******************************************
นอกจากนี้บรรดาเจ้าหน้าที่เพนตากอนผู้คลุกคลีอยู่วงในของคอนเซ็ปต์ ดังกล่าว ยังเปิดเผยด้วยว่า แนวความคิดต่างๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณา เพื่อบรรจุลงในคอนเซ็ปนี้ ประกอบไปด้วย
- การสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยบินไกล,
- ปฏิบัติการสอดประสานระหว่างเรือดำน้ำกับเครื่องบินสเตลธ์,
- ปฏิบัติการร่วมแบบใหม่ด้วยเครื่องบินโจมตีชนิดไร้คนขับที่มีระยะปฎิบัติการ ไกลถึง 1,000 ไมล์,
- ใช้กองกำลังกองทัพอากาศในการปกป้องฐานทัพเรือ และกองนาวีที่มีการเคลื่อนกำลัง,
- ปฏิบัติการร่วมของกองทัพเรือ, นาวิกโยธิน และกองทัพอากาศ เพื่อโจมตีภายในดินแดนของจีน,
- ใช้เครื่องบินของกองทัพอากาศในการวางทุ่นระเบิดในทะเล,
- ปฏิบัติการร่วมของกองทัพอากาศและเรือ ในการโจมตีขีปนาวุธทำลายดาวเทียมภายในดินแดนของจีน,
- เพิ่มความถี่ในการเคลื่อนย้ายวงโคจรของดาวเทียมตนเพื่อให้โจมตีได้ยากขึ้น และ
- ปฏิบัติการร่วมระหว่างกองทัพเรือกับอากาศในการจู่โจมทางไซเบอร์ต่อกองกำลัง ของจีนที่พยายามสกัดกั้นไม่ให้ศัตรูล่วงล้ำสู่พื้นที่หวงห้าม
นอกจากคอนเซ็ปดังกล่าวแล้ว กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยังจัดตั้งสำนักงานแห่งใหม่เพื่อรับผิดชอบคอนเซ็ปต์นี้โดยเฉพาะด้วย
พร้อมกับระบุว่า แนวคิดแอร์ ซี แบตเทิล นี้ จะเป็นแนวทางให้กองกำลังทุกหน่วยประสานงานร่วมกันเพื่อรักษาความได้เปรียบ ของสหรัฐฯ ที่มีต่อการเพิ่มจำนวนของเทคโนโลยีล้ำสมัยทั่วโลก
ทั้งนี้สำนักงานดังกล่าวได้รับการจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ในเดือนสิงหาคมแล้ว ทว่าเพนตากอนเพิ่งจะเปิดเผยอย่างเป็นทางการ
******************************************
จอร์จ ลิตเติล เลขานุการด้านสื่อของเพนตากอน ระบุว่า สำนักงานแห่งใหม่เป็นหน่วยปฏิบัติการที่สำคัญ ในการรับมือกับภัยคุกคามที่มุ่งขัดขวางไม่ให้สหรัฐฯเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ ในโลก “สำนักงานแห่งนี้จะช่วยนำทางให้เกิดการบูรณาการอย่างมีความหมาย ระหว่างสมรรถนะสู้รบทางอากาศและทางทะเลของเรา เพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่แสนยานุภาพในการป้องปรามทางทหารของเรา และรักษาความได้เปรียบของสหรัฐฯท่ามกลางภาวะที่มีการแพร่กระจายเทคโนโลยีและ สมรรถนะทางทหารอันล้ำสมัย” ลิตเติล กล่าว เขาสำทับด้วยว่า นี่เป็นภารกิจสำคัญลำดับต้นๆ ของกระทรวงกลาโหมในการที่จะปรับความสมดุลแก่กองกำลังร่วม เพื่อให้สามารถขัดขวางและพิชิตการรุกรานของฝ่ายตรงข้ามใน “สภาพแวดล้อมที่พวกเขาพยายามสกัดกั้นป้องกันไม่ให้ล่วงล้ำ” ได้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในการบรรยายสรุปให้พวกผู้สื่อข่าวฟังเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทหารในเพนตากอนไม่ได้พูดคุยกันในรายละเอียดเฉพาะทางเทคนิคของแนว คิดการสู้รบใหม่นี้ ยกเว้นเพียงเจ้าหน้าที่รายหนึ่งซึ่งยกตัวอย่างว่า
อาจใช้เครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินรุ่น เอ-10 ธันเดอร์โบลต์ ของกองทัพอากาศเพื่อปกป้องคุ้มครองเรือต่างๆ ในท้องทะเลให้พ้นจากการโจมตีของ “ฝูง” เรือเล็ก
******************************************
ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีกลาโหม ลีโอน พาเนตตา กล่าวในระหว่างการเยือนเอเชียว่า กองกำลังของสหรัฐฯ จะหวนกลับมาให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียอีกครั้ง ในเมื่อการสู้รบในอิรักและอัฟกานิสถานจะสิ้นสุดลงแล้ว โดยที่เขาบอกด้วยว่า กำลังมุ่งโฟกัสใหม่ ซึ่งก็รวมถึง “การปรับปรุงขีดความสามารถทางการทหาร”
ด้าน ริชาร์ด ฟิชเชอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพจีน ให้ทัศนะว่า สำนักงานแอร์ ซี แบตเทิล เป็นสิ่งที่จำเป็น ทว่า อาจ “สายไป”
ทั้งนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กองทัพเรือจีนแสดงพฤติการณ์แข็งกร้าวมากขึ้นเรี่อยๆ ในเขตน่านน้ำใกล้กับชายฝั่งของตน ด้วยการข่มขู่เรือตรวจการณ์ของทัพนาวีอเมริกาในทะเลจีนใต้และทะเลเหลือง โดยจีนอ้างว่า ผืนสมุทรเกือบทั้งหมดในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออกเป็นอาณาเขตกรรมสิทธิ์ ของจีน
นอกจากนี้เพนตากอนยังแสดงความวิตกกังวลต่อขีปนาวุธต่อต้านเรือรบรุ่น ตงเฟิง-21ดี (DF-21D) ของจีนซึ่งสามารถใช้โจมตีเรือบรรทุกเครื่องบินกลางทะเลได้ โดยที่เรือบรรทุกเครื่องบินถือเป็นดุลอำนาจที่สำคัญยิ่งของทัพสหรัฐฯ ในเอเชีย และมักจะถูกใช้เพื่อภารกิจปกป้องคุ้มครองพันธมิตรหลักอย่างญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และไต้หวัน
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000145381
******************************************
คหสต นะ ที่บ้านเรามันรบๆกันตอนนี้ เป็นผลพวงมาจาก 2 ประเทศนี้แหละ เพราะทำเลประเทศเราดี อยู่ในจุดยุทธศาสตร์ ซึ่งเราควรวางตัวเป็นกลาง ใครให้ความช่วยเหลืออะไรมา เรารับ เพราะเป็นผลประโยชน์ แต่ไม่ควรเลือกข้าง
เรื่องจะรบๆกันนี่ ได้ยินมานานพอสมควรเหมือนกันนะ ตั้งแต่กลางปี แต่เราก็ทำอะไรไม่ได้มาก เพราะเป็นประชาชนธรรมดาๆ จีนเองพลเมืองก็จนเยอะ คุณภาพชีวิตก็ไม่ค่อยดี แต่จีนเป็นเจ้าหนี้เมกา จีนออกมาเพราะกลัวเมกาชักดาบหนี้มั๊ง
ด้านเมกา สงสัยครั้งนี้เมกาจะเอาจริงเหมือนกันนะ ถึงกับมาออกข่าว เมกาจะเริ่มแล้ว ก่อนหน้านี้ เคยมีข่าวสัญญาณมาครั้งนึง ที่ จีนบลอคกูเกิล และอีกหลายๆเว็บ เพราะกลัวความลับทางการทหารรั่วไหล
ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลก เท่านั้นเอง มีรูปประกอบนิดหน่อยจ้ะ ข้างล่าง
แก้ไขเมื่อ 15 พ.ย. 54 02:01:52
แก้ไขเมื่อ 15 พ.ย. 54 02:01:08
จากคุณ |
:
lovelypriest
|
เขียนเมื่อ |
:
15 พ.ย. 54 01:56:30
|
|
|
|