อยากถามผู้รู้ว่า คดีอาญานี่มีอายุความ 3 เดือนใช่ไหม
- ไม่ใช่ครับ คดีอาญาจะมีอายุความ ตามอัตราโทษ(ยิ่งโทษสูงยิ่งนาน) ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 95 ดังนี้
มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำ ความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกิน กำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน
อยากถามผู้รู้ว่า คดีอาญานี่มีอายุความ 3 เดือนใช่ไหมคับ และถ้าเกิน 3 เดือนแล้ว เอาเรื่องนี้กลับมากล่าวหาอีกศาลจะรับฟ้องไหมคับ
- ที่ว่าอายุความสามเดือนตามคำถาม จะเป็นกรณีคดีความผิดต่อส่วนตัว เช่น หมิ่นประมาท ดังนี้ตามกฏหมาย ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ตามกฏหมายภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความ ผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้นจะถือว่าคดีขาดอายุความ ดังนี้
มาตรา 96 ภายใต้บังคับ มาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความ ได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความ ผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
ถ้าเกิน 3 เดือนแล้วจะเอาเรื่องนั้นมาฟ้องหรือดำเนินคดีอาญาอีกไม่ได้ ถ้าความปรากฏต่อศาล ศาลย่อมยกฟ้องเพราะถือว่า สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้วตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39(6)
มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เมื่อคดีเลิกกันตาม มาตรา 37
(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิด เช่นนั้น
(6) เมื่อคดีขาดอายุความ
(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ
ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ