เรื่องนี้ ถ้าจะพูดกันตรงไปตรงมา
ผมมองว่า ต้องโทษฝ่ายสินเชื่อของธนาคารด้วยครับ
เขาควรต้องดูด้วยว่า ความเป็น "นิติบุคคล" ของ อบต. ได้ให้อำนาจในการทำนิติกรรมสัญญาไว้แค่ไหนอย่างไร
ถ้า ทำนอกเหนืออำนาจตามกฏหมายจัดตั้ง สัญญาที่ทำไป ย่อมไม่ผูกพันนิติบุคคลนั้นๆครับ
ความเห็นของ กฤษฎีกาที่ว่า "การดำเนินการใดๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลย่อมต้องเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบลฯให้อำนาจไว้ และต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย หากยังไม่มีการออกระเบียบกระทรวงมหาดไทย เพื่อกำหนดเรื่องการกู้เงินขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ องค์การบริหารส่วนตำบลจึงไม่อาจกู้เงินได้ และเป็นไปไม่ได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กจะมีอำนาจกู้เงินได้โดยลำพัง โดยไม่อยู่ในกำกับดูแลของหน่วยงานใด
เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำก่ำไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะกู้เงินได้ การกระทำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำก่ำในการทำสัญญากู้เงินจึงเป็นการกระทำเกินอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลและไม่ผูกพันนิติบุคคลตาม มาตรา 77 และมาตรา 823 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สัญญากู้เงินดังกล่าว จึงไม่ผูกพันองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำก่ำ แต่มีผลผูกพันเฉพาะตัวบุคคลซึ่งทำการแทนและผู้ค้ำประกันสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นการส่วนตัว "
จึงชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายแล้วครับ
การกระทำในฐานะหน่วยงานของรัฐ จะต่างกับการกระทำทางเอกชน
คือ การเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการกระทำในนามหน่วยงานของรัฐ จะต้องมี กฏหมายให้อำนาจกระทำ เขาถึงจะกระทำการใดๆได้ หากไม่มีกฏหมายให้อำนาจกระทำ หากฝืนทำไปย่อมถือว่า ทำโดยไม่มีอำนาจและผู้ที่ทำไปต้องรับผิดส่วนตัว การกระทำใดๆไปนั้น ไม่ผูกพันรัฐ
แต่ถ้าการการทำของเอกชน ขอเพียงแต่การกระทำนั้นๆ ไม่ขัดต่อกฏหมายหรือความสงบเรียบร้อย-ศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นๆย่อมทำได้เสมอ
ดังนั้นหากอบต.จะถูกฟ้องล้มละลาย ในความเป็นจริงแล้ว จึงน่าจะเกิดขึ้นได้ยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้ครับ(ความเห็นส่วนตัว) เพราะ เข้าใจว่า กฏหมายที่จัดตั้ง อบต.น่าจะกำหนดกรอบในการใช้เงินไว้พอสมควรครับ อย่างเช่น การกู้เงิน ดังนี้ น่าจะต้องมีกฏหมายรองรับและจำกัดการกระทำและน่าจะต้องถูกตรวจสอบหลายๆอย่าง ไว้มากทีเดียว
ขอร่วมแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ
จากคุณ |
:
อุบลแมน
|
เขียนเมื่อ |
:
12 ม.ค. 55 11:06:52
|
|
|
|