ว่าน่าจะต้องถามความเห็นประชาชน ในรูปแบบ "ประชามติ" เสียก่อน แล้วจึงแก้/ไม่แก้กฏหมาย กรณีประหารชีวิตต่อไป การเอากฏหมายยกเลิกการประหารฯเข้าสภาโดยไม่ผ่านประชามติ โอกาสกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลจากแรงกระทบข้างนอกสภาต่างๆน่าจะสูงครับ
ในส่วนของโทษจำคุก ซึ่งเป็นโทษที่ถูกใช้และลงโทษมากที่สุด
เท่าที่ผมพอทราบมาบ้าง ในช่วง 10 ปีมานี้ ไทยเราก็ได้เปลี่ยนแนวคิดในการลงโทษเหมือนกัน ที่ต้องเปลี่ยนคงเพราะ คุกไม่พอขังนักโทษ และ ข้อหาบางข้อหา ก็ไม่น่าเอาเขาไปจำคุกไว้
เช่นพวกที่ เสพย์ยาโดยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจำหน่าย กฏหมายในช่วงหลังๆถือว่าเขาเป็นผู้ป่วยและควรได้รับการรักษา ซึ่งถ้าเขาเป็นเพียงผู้เสพย์และเข้าเงื่อนไขตามกฏหมาย เขาจะไม่ต้องถูกจำคุกแต่เขาอาจได้เข้ารับการบำบัดรักษาแทนการลงโทษ
ตามข้อกฏหมายดังนี้ครับ
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๑๙ ผู้ใดต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่เกิดจากตัวผู้ต้องหานั้นเอง หรือจากพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งทำให้ไม่อาจนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้ต้องหามีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ ให้พนักงานสอบสวนนำตัวส่งศาลเพื่อมีคำสั่งให้ตรวจพิสูจน์ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน
การส่งไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ให้ศาลพิจารณาส่งตัวไปควบคุมเพื่อตรวจพิสูจน์ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือการควบคุมตัวตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงอายุ เพศ และลักษณะเฉพาะบุคคลประกอบด้วย แล้วให้ศาลแจ้งคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทราบ
ในระหว่างการตรวจพิสูจน์และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนดำเนินกระบวนการสอบสวนคดีต่อไป และเมื่อสอบสวนเสร็จให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการโดยไม่ต้องส่งผู้ต้องหาไปด้วย และแจ้งให้ทราบว่าผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หรือการควบคุมตัวอย่างแห่งใด
ในระหว่างที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องดำเนินการฝากขังหรือขอผัดฟ้องตามกฎหมาย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัญหาเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดให้โทษ ในปัจจุบันมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งโดยหลักการแล้วผู้เสพยาเสพติดมีสภาพเป็นผู้ป่วยอย่างหนึ่ง มิใช่อาชญากรปกติ การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ติดยาเสพติดจึงสมควรกระทำให้กว้างขวาง และโดยที่ผู้เสพยาเสพติดจำนวนหนึ่งถูกบังคับให้เป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดเพื่อแลกกับการได้ยาเสพติดไปเสพด้วย สมควรขยายขอบเขตของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้ครอบคลุมถึงผู้เสพและมีไว้ในครอบครอง ผู้เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และผู้เสพยาและจำหน่ายยาเสพติดจำนวนเล็กน้อยด้วย นอกจากนั้นเนื่องจากบุคคลซึ่งติดหรือเสพยาเสพติดมีจำนวนมากและเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ สมควรขยายสถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดยาเสพติด และสถานที่เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะนอกจากมีหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรมแล้วยังมีหน่วยงานอื่นของรัฐ และหน่วยงานเอกชนที่มีขีดความสามารถเข้ามาร่วมในการตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดและการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคลดังกล่าว อาทิเช่น สถานที่ของหน่วยงานในราชการทหาร เขต อำเภอ และกิ่งอำเภอ สถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข สถานพยาบาลของเอกชนหรือหน่วยงานอื่น ซึ่งสมควรรวมทรัพยากรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538974651&Ntype=19
จากข้อกฏหมายข้างต้น นับว่าช่วยแก้ปัญหา คนล้นคุก หรือ คุกไม่พอขังคนได้มากทีเดียว
เพราะ ระหว่างผู้ต้องหาเข้าฟื้นฟูฯตามพรบ. เขาจะไม่ต้องถูกฝากขังหรือผัดฟ้องตามมาตรา 19 นั่นหมายความว่า ย่อมช่วยลดปัญหา การต้องถูกขังหรือจำคุกระหว่างการพิจารณาคดีของศาลไปได้มาก (สมัยก่อนมีกฏหมายนี้ คนเสพย์หรือไม่ก็ต้องถูกดำเนินคดีไปเลย จะประกันตัวอย่างไรก็ว่าไป)
แต่เท่าที่ผมเห็นในปัจจุบัน น่าจะเกิดปัญหาในส่วนของผู้ปฏิบัติงาน เข้าใจว่า เจ้าภาพของกฏหมายนี้คือ กรมคุมประพฤติ ...ผู้ต้องหาที่ต้องเข้าสู่กระบวนการจามพรบ.ฟื้นฟูฯข้างต้น ผมว่าเยอะมาก เห็นๆเขาไปรายงานตัวที่กรมคุมประพฤติกันวันละเป็นร้อยๆ
น่าเหนื่อยใจแทนครับ
จากที่กล่าวมา ผมจึงเห็นว่า จะใช้กฏหมายอย่างเดียวมาแก้เรื่อง"คนล้นคุก" ก็น่าจะไม่เพียงพอ สังคม-เศรษฐกิจ คงต้องช่วยๆกันแก้ปัญหานี้อีกทาง ไม่งั้นก็คงไปไม่รอดครับ