 |
ททท.จัดเพื่อให้เกิดเส้นทางเที่ยวทั้งครอบครัว โดยมีวัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่วนที่เหลือเป็นการตลาดที่ใครจะเชื่ออย่างไรก็สุดแท้แต่
การบูชามีสองประเภท ,
ประเภทแรกเรียกว่า " อามิสบูชา" หมายถึงการบูชาสิ่งที่ตนเคารพนับถือด้วยสิ่งของที่มีค่าหรือการบูชาอาหารหวานคาว , ผลไม้ , ล้วนเป็นสิ่งของที่คัดสรรอย่างดีและประณีต รวมไปถึงการถวายธูปเทียนดอกไม้สด , เครื่องหอมต่างๆ เหล่านี้จัดอยู่ในอามิสบูชาทั้งสิ้น และอีกนัยหนึ่งการอามิสบูชาก็อยู่ในความหมายเดียวกับการยัญกรรมหรือการบูชาเซ่นไหว้ฯ
ประเภทที่สองเรียกกว่า " ปฏิบัติบูชา" ความหมายก็ตรงตัว หมายถึงการปฏิบัติตามอย่างบุคคลหรือสิ่งที่ตนเองเคารพนับถือ หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงการน้อมนำเอาสิ่งที่เราเคารพนับถือมาเป็นแบบอย่างในทางปฏิบัติ เช่นประพฤติปฎิบัติตนตามคำสอนของพระศาสนา , ปฏิบัติตนอยู่ในความพอเพียงตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อย่างนี้ล้วนเป็นปฏิบัติบูชาทั้งสิ้น นั่นคือการปฏิบัติคุณงามความดีถวายแด่สิ่งที่ตนเองเคารพนับถือ
พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการปฏิบัติบูชาว่าเป็น "การบูชาอันเลิศ หาใดเทียบมิได้" แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ทรงห้ามหรือปฏิเสธหรือตำหนิการอามิสบูชาแต่อย่างใด(ไม่เห็นว่าด้อย เพียงทรงเห็นว่าดีน้อยกว่าการปฏิบัติบูชา ซึ่งลุ่มลึกทางจิตวิญญาณมากกว่า) ทรงเห็นว่าการอามิสบูชาย่อมได้ผลแก่ตนเองและผู้อื่นน้อยกว่า อีกทั้งเป็นการสิ้นเปลืองมากกว่า ไม่เป็นการจีรังยั่งยืนหากเทียบกับการปฏิบัติบูชา
แต่อย่างไรก็ตามในพระสูตรบางบทของพุทธฝ่ายมหายาน ก็ได้อ้างคำตรัสของพระพุทธเจ้าก่อนที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ว่าด้วยเรื่องของการอามิสบูชาองค์พระประติมากรรมต่างๆ รวมถึงองค์พระประติมากรรมของพระพุทธเจ้าต่างๆ(ในอดีตกาล) ซึ่งคงหาข้อยุติได้ยากในทางที่เป็นไปได้ เนื่องจากเป็นเรื่องของความเชื่อความศรัทธา เป็นบริบททางจิตวิญญาณซึ่งไม่อิงกับเหตุผล แต่ขึ้นกับความรู้สึกมากกว่า(ความรู้สึกอยู่เหนือเหตุผล)
ในยุคที่มีการไหว้ผี , ไหว้ฟ้าดิน(สวรรค์) และมาจนถึงยุคไหว้พระ-บูชาเทพ การอามิสบูชาก็ดำรงคงอยู่หรือคู่มากับพิธีกรรมต่างๆในเรื่องลัทธิและศาสนาเสมอ จนไม่อาจแยกออกจากกันได้ คล้ายๆเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของทุกลัทธิศาสนา ซึ่งผู้เลื่อมใสศรัทธาของแต่ละกลุ่ม ก็มีรูปแบบหรือวิธีการต่างๆแปลกแยกกันออกไป แต่อย่างไรก็ดี , หลักใหญ่ใจความก็อยู่ที่ความศรัทธา เลื่อมใส ซึ่งถือเป็นความบริสุทธิ์ใจโดยแท้
ยกตัวอย่างเช่นการอามิสบูชาด้วยการถวายเครื่องหอมต่างๆ ซึ่งดูเหมือนในหลายๆลัทธิความเชื่อ ทั้งในโลกซีกตะวันออกและตะวันตก ก็มีความสอดคล้องต้องกันในส่วนนี้ โดยเฉพาะลัทธิความเชื่อที่ยึดโยงอยู่กับเทพยดาหรือพระเจ้า (เทวนิยม) มักจะพบอยู่เสมอว่า การบูชาเทพมีการถวายเครื่องหอมที่เรียกว่า กำยาน มาแต่ไหนแต่ไร นับเป็นร้อยเป็นพันปีมาจวบจนปัจจุบัน ก็ยังมีการสืบทอดประเพณีพิธีกรรมการอามิสบูชาลักษณะนี้ปรากฏอยู่เสมอ
พูดถึงเครื่องหอมฯ หลายคนมักจะนึกถึงสิ่งมีกลิ่นหอมที่ผ่านการผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว เช่นน้ำหอม , ธูปหอม , กำยาน ฯลฯ แต่ในยุคโบราณที่อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ยังไม่มีการพัฒนา ผู้คนในยุคนั้นต้องอาศัยกลิ่นหอมจากธรรมชาติ อาจเป็นพืชหรือพันธ์ไม้ดอกไม้สด และสิ่งที่หลายคนคาดไม่ถึงก็คือ "ผลไม้" ที่มีกลิ่นหอมในตัวเองตามธรรมชาติ ซึ่งจะพบเห็นเสมอว่า ในห้องบูชาหรือห้องประกอบพิธีกรรม จะมีการจัดวางถาดผลไม้อยู่เป็นประจำ
แน่นอน , นอกจากเป็นการอามิสบูชาแล้ว ยังมีนัยเรื่องกลิ่นหอมของผลไม้แฝงอยู่ด้วย ซึ่งเป็นทางเลือกของคนยุคก่อนที่อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องหอมยังไม่เกิดขึ้น
ในสมัยก่อน นอกจากการจัดดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมไว้ที่แท่นบูชาพระแล้ว (มีคติที่เชื่อว่าการถวายดอกไม้สดที่มีกลิ่นหอม ย่อมได้อานิสงส์แห่งการอามิสบูชามากกว่าการถวายดอกไม้สดที่ไม่มีกลิ่น) ยังมีการจัดชุดผลไม้ซึ่งส่วนใหญ่จะมีกลิ่นหอมโดยธรรมชาติอยู่ในตัวอีกด้วย การนำผลไม้มาวางในห้องพิธีกรรมหรือห้องรักษาพยาบาล เป็นเรื่องปกติที่นิยมกระทำกัน ทั้งเป็นการอามิสบูชาด้วยผลไม้และกลิ่นหอมของผลไม้ไปในคราวเดียวกัน และเชื่อว่ากลิ่นหอมโดยธรรมชาติแต่ละชนิด มีคุณสรรพคุณในการบำบัดรักษาโรคไข้เจ็บได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นพืชพันธ์หรือผลไม้
http://www.tewaracha.com/ceremonial-bucha.shtml
จากคุณ |
:
ต็กโกวคิ้วป้าย
|
เขียนเมื่อ |
:
25 ส.ค. 55 14:15:25
|
|
|
|
 |