คนไทยเป็นหนี้พุ่งพบหญิงมากกว่าชาย แนะวางแผนการเงินพอเพียง
|
|
ในงานสัมมนาโครงการ แผนพัฒนาชีวิตปลอดหนี้ ชีวีมีสุข หนึ่งในหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพ หมอแก้หนี้ ที่ทางกรุงเทพมหานคร โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จัดขึ้นภายใต้ชื่อ ชมรมปฏิรูปสิทธิลูกหนี้
(ปสล) เพื่อให้ความช่วยเหลือและให้ข้อมูลแก่ผู้ที่เป็นหนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ศูนย์สัมมนาวิเทรนด์อินเตอร์เนชั่นแนลเฮ้าส์ ดอนเมือง โดย ดร.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กรุงเทพมหานครในฐานะที่ปรึกษาชมรมฯกล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยเป็นหนี้มากขึ้นเฉลี่ยครัวเรือนละกว่า 1.3 แสนบาท หรือจากแต่ก่อนในเดือนหนึ่งแต่ละครอบครัวต้องชำระหนี้ร้อยละ 30-40 ของเงินเดือน แต่ปัจจุบันตัวเลขการชำระหนี้พุ่งสูงถึงร้อยละ 50 และแนวโน้มที่พบคือ ผู้มีรายได้น้อยกลับมีหนี้สูงกว่าผู้ที่มีรายได้มาก ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนับเป็นวิกฤติมาก ดังนั้นชมรมฯ จึงอยากสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนที่มีภาระหนี้สินด้วยการรู้จักรับมือกับการจัดการกับหนี้สิน ใช้ชีวิตพอเพียงและไม่ก่อหนี้เพิ่ม
หนี้ไม่ได้แบ่งแยกเพศ ส่วนใหญ่ผู้หญิงเป็นหนี้มากกว่าผู้ชาย การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายหลายคนเป็นหนี้เพราะความจำเป็น เช่น ใช้ในการลงทุน การศึกษาลูกหรือเพราะเจ็บป่วย แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเป็นหนี้เพราะความฟุ่มเฟือย แต่ไม่ว่าเป็นหนี้ด้วยกรณีใด ต้องใช้คืน หากถึงจุดหนึ่งที่ใช้คืนไม่ไหวต้องรู้วิธีการใช้เงินคืนให้ชีวิตอยู่ได้ไม่เป็นภาระกับการดำเนินชีวิตต่อไป มีข้อแนะนำง่าย ๆ สำหรับผู้ที่เป็นหนี้ในระบบคือดูว่าเป็นหนี้แบบไหน หนี้ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน บ้านหรือรถ หรือหนี้ส่วนบุคคล ควรใช้หนี้ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันก่อน ไม่เช่นนั้นสินทรัพย์จะถูกยึดไปด้วย ดร.รัชดาแนะนำกรณีที่ลูกหนี้ ไม่สามารถจัดการหนี้ก้อนโตจนได้รับหมายศาล อารีวรรณ จตุทอง ที่ปรึกษาด้านกฎหมายแนะนำว่า ไม่ควรตื่นตระหนก เพราะทุกอย่างต้องมีทางออกเสมอ ประเด็นสำคัญเมื่อเห็นจดหมายจากศาลแล้ว หลายคนกลัว เครียด ทำอะไรไม่เป็นแล้วปล่อยไว้โดยไม่สู้คดี จนเขามายึดทรัพย์สิน หากได้จดหมายจากศาลต้องตั้งสติให้ดี และหาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ทนายความ หรือผู้รู้ที่สามารถช่วยเหลือได้ รวบรวมเอกสารสำคัญต่าง ๆ ไปตามคำนัดของศาลเพื่อขอประนอมหนี้หรือผ่อนชำระหนี้ตามศักยภาพของตัวเองเพื่อให้เห็นภาพการเป็นหนี้ในงานยังมีตัวแทนลูกหนี้มาเล่าถึงประสบการณ์ที่เคยตกเป็นหนี้ รวมทั้งวิธีหาทางออกจากวิกฤติชีวิตของ อัญเทพ คงเกตุ ที่เคยตกเป็นหนี้บัตรเครดิตและบัตรสินเชื่อส่วนบุคคลถึง 37 ใบ กว่า 1 ล้านบาท เผยว่า เริ่มทำบัตรเครดิตตั้งแต่ปี 2533 จากเงินเดือน 7,000 บาท จนเงินเดือน 35,000 บาท ตอนนั้นชะล่าใจใครติดต่อมาให้ทำบัตรอะไรก็ทำหมด สนุกกับการใช้จ่าย สุรุ่ยสุร่ายมาก และไม่มีการวางแผนการเงิน กระทั่งปี 2547 เริ่มหมุนเงินไม่ทัน จึงตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อนำเงินจากการลาออกมาใช้หนี้ แต่กลับเลือกนำเงินไปทำธุรกิจกระจก ซึ่งขาดทุนและต้องปิดกิจการ จึงกลายเป็นมีหนี้เพิ่มพูนจากเดิมมากกว่าล้านบาท เมื่อรับผิดชอบภาระหนี้สินไม่ไหวจึงตัดสินใจประนอมหนี้ ตอนนี้ทยอยชำระหนี้เท่าที่ทำได้ แต่กว่าจะรู้ตัวว่าพลาดต้องเสียทุกสิ่งทุกอย่าง ครอบครัว บ้าน รถ อยากฝากให้คนรุ่นใหม่ที่ใช้บัตรเครดิตวางแผนการเงินของตัวเองให้ดีและไม่ควรทำเกิน 2 ใบ
http://www.dailynews.co.th/society/164828
เศรษฐกิจเสนอหน้าพาเป็นหนี้
แก้ไขเมื่อ 06 พ.ย. 55 00:52:46
จากคุณ |
:
หมาป่าดำ
|
เขียนเมื่อ |
:
6 พ.ย. 55 00:43:41
|
|
|
|