ผมเขียนไว้ในบอร์ดของสภาทนายความเองครับ copy มาให้ดูกันอีกที เผื่อมีประโยชน์ ------------------------------------------------------------------------------------------
ก่อนจะสอบตั๋วทนายให้ผ่านสิ่งแรกที่ผมเชื่อว่าทุกคนมีแน่นอนคือ ความรู้ทางกฎหมาย คราวนี้มีความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการสังเกตและแม่นยำในหลักกฎหมายด้วย.. กล่าวคือ
การทำข้อสอบตั๋วให้ผ่าน กับ การใช้งานจริงมันแทบไม่ต่างกันเลย ดังนั้นสิ่งแรกที่คุณต้องรู้ให้ได้ว่า ใครเป้นโจทก์ ใครเป็นจำเลยก่อน
เพราะตัวละครหลักคุณมองไม่ออกว่าใครเป็นโจทก์จำเลย ทุกอย่างจบครับ นั่นหมายถึง สอบยังไงก็ไม่ผ่าน...
คราวนี้มาดูกันว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นโจทก์ใครเป็นจำเลย หากมีตัวละครหลายคน ก่อนอื่นต้องดูว่าใครเป็นโจทก์ก่อน
ใครถูกโต้แย้งสิทธิ ใครถูกกระทำละเมิด หรือ มีการดำเนินการแทนหรือไม่ มีผู้เยาว์ ผู้ไร้ฯ หรือเสมือนไร้ฯ หรือไม่ ดูให้ออกก่อน
มาถึงจำเลย ต้องดูให้ออกวา ใครเป็นจำเลย ใครต้องรับผิดบ้าง การรับผิดก็มีทั้งเป็นไปตามกฎหมาย หรือ เป็นไปตามสัญญา ต้องดูให้ออกครับ
เมื่อเราได้ตัวโจทก์ ตัวจำเลยแล้ว คราวนี้การร่างฟ้องมันก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะแต่ละคนมันมีทางออกของมันเอง ถ้าเรากำหนดตัวโจทก์และจำเลยถูกต้อง
การฟ้องแบบเหวี่ยงแห กรุณาอย่าทำ เพราะบางคนฟ้องไปหมดเลย เช่น มีตัวละคร ๔ คน ก็ฟ้องไป ๔ คนเลย อันนี้ไม่ควรอย่างยิ่ง
เรื่องทุนทรัพย์ ต้องดูให้ดีว่า ส่วนไหนต้องรับผิด ส่วนไหนไม่ต้องรับผิด หรือรับผิดเพียงใด ดูให้ออกก่อน แล้วนำมาคำนวนเป็นทุนทรัพย์ อีกอย่างอย่าทำตัวเป็นศาลเสียเอง เพราะมีหลายคนเอาหลักกฎหมายบางเรื่องมาปรับ และดันบอกว่าเงินนี้ไม่ต้องรับผิด จึงไม่นำมาคำนวนในการฟ้องด้วย
การจะรับผิดหรือไม่ ในความเป็นจริงศาลจะตัดสิน เราเป็นคนฟ้องเรียกร้อง อย่าไปตัดสิทธิเราตั้งแต่ตอนแรก ดังนั้นแทนที่เราฟ้องแล้วจะได้อะไรมา กลับไม่ได้อะไรเลย ซึ่งความเป็นจริง มันก็ไม่ควรเป็นอย่างนี้
อีกอย่างการแบ่งเวลา การเริ่มทำข้อสอบ หลายคนก็แนะนำวิธีต่างๆกันออกไป สำหรับผม ผมใช้วิธี ทำข้อง่ายๆก่อน เช่น คำร้อง คำแถลงต่างๆ หนังสือมอบอำนาจ หนังสือทวงถาม ใบแต่งทนาย เพราะพวกนี้เขียนไม่ยาว และแทบจะมีข้อความตายตัว เราจะให้เวลาตรงนี้น้อยมาก..
ที่เหลือ ผมก็จะร่างฟ้องอาญาก่อน เพราะว่ามันง่าย คำขอท้ายฟ้อง เค้าก็ให้เรามาแล้ว เราใส่ไปได้เลย และต่อมาผมจะร่างฟ้องแพ่ง ตรงนี้อาจใช้เวลามากที่สุด การอ่านคำถามและข้อเท็จจริง เราควรขีดเส้น วันที่ ชื่อคน ชื่อสถานที่ ที่อยู่ และวันเวลาก่อนหลังเรียงตามลำดับให้ชัดเจน เพราะเราจะได้รู้ว่าอะไรเกิดก่อนหลัง และทำให้ง่ายต่อการร่างคำฟ้อง สำหรับข้อสอบที่เป็น ก ข ค ง นั้น ผมเอาไว้ทำในตอนสุดท้ายครับ เพราะอะไร เพราะถ้าเรามีเวลา้เหลือเยอะ เราก็อ่านและทำไปตามปกติ แต่ถ้าเวลาไม่พอ เรายังกามั่วได้ วัดดวงไปเลย มีบางคน (ส่วนใหญ่) ทำข้อ ก ข ค ง ก่อน และใช้เวลาไปเยอะเกินควร พอเวลาสอบใกล้หมด ยังไม่ได้ทำคำฟ้องเลย หรือ ทำแต่คำฟ้อง คำแถลง คำร้อง ใยแต่งทนาย ฯลฯ ยังไม่ได้ทำเลย ซึ่งเสียหายมาก เพราะคะแนนพวกนั้นมันได้ง่ายกว่า แต่เราจะไปมั่วเขียน มันก็ไม่ได้ จริงไหม
ดังนั้นถ้าจะมั่วอะไร ควรวางแผนการมั่วให้เป็นระบบ สำหรับผม ผมทำตามที่ผมแนะนำคุณมาทั้งหมด สุดท้าย เวลาเหลือเกือบ ๓๐ นาที ยังพอมีเวลาทบทวน ตัวสะกด ตัวละคร ว่าสลับกันหรือไม่อีก เพราะข้อสอบ ชอบเหลือเกิน นายชัย นายเช้า นายชุย นายเชย... ถ้าเขียนสลับคนล่ะก็ งานเข้า
คำฟ้องทั่วไป จะแบ่งเป็น ๔ ส่วน คือ ฐานะโจทก์จำเลย นิติสัมพันธ์ ข้อโต้แย่งสิทธิ คำขอบังคับ
และที่สำคัญลืมไม่ได้ คือ ลายมือชื่อโจทก์ ก็อย่าไปใส่มั่วล่ะ โจทก์ในคดีอาญา ลายมือชื่อโจทก์ ก็คือตัวโจทก์เอง ทนายความลงแทนไม่ได้ (ยกเว้นรับมอบอำนาจให้ฟ้องอีกที) สำหรับคดีแพ่ง ลายมือชื่อโจทก์ ทนายความลงแทนได้ แต่การทำข้อสอบสิ่งที่ save สุดๆ คือ ลงชื่อโจทก์จริง นั่นแหละดีที่สุด
หวังว่าข้อความพวกนี้จะเป็นประโยชน์นะครับ
จากคุณ |
:
น้าออด
|
เขียนเมื่อ |
:
7 พ.ย. 55 19:42:29
|
|
|
|