ความคิดเห็นที่ 1

ไทย พรีเมียร์ลีก 2009 Change ลีกไทยสู่มาตรฐานโลก พลันที่ตำแหน่งผู้นำองค์ฟุตบอลแห่งเอเชียมีการเปลี่ยนมือมาสู่นายโมฮัมเหม็ด บิน ฮัมมัม ชาวกาตาร์ แนวคิดในการพัฒนามาตรฐานฟุตบอลในภูมิภาคเอเชียถูกขับเคลื่อนให้เดินหน้าเต็ม ที่ ภายใต้โครงการ Asia Vision ที่จะพัฒนาวงการฟุตบอลในทวีปเอเชีย โดยมุ่งเป้าไปที่มาตรฐานของการแข่งขันรายการสโมสรชิงแชมป์เอเชีย หรือ AFC Champions League คาดโทษประเทศที่ไม่มีการพัฒนาลีกภายในของตนให้มีความเป็นระดับอาชีพตาม มาตรฐานสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย(เอเอฟซี) จะถูกตัดสิทธิ์จากรายการนี้ ซึ่งหมายถึงเงินรายได้ก้อนโตที่จะหดหายไป มาตรฐานสู่ความเป็นลีกอาชีพตามแนวคิดของเอเอฟซี ที่สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขันในลีกใหญ่ของประเทศของตนต้องมี มีทั้งสิ้น 11 ข้อ ประกอบด้วย 1)ต้องจดทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย 2)โค้ชประจำสโมสรต้องได้รับใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมระดับเอเชียนไลเซนส์ ของเอเอฟซี 3)สโมสรจะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในเชิงพาณิชย์ 4)สโมสรต้องมีการแจ้งงบประมาณการเงินในการบริหารสโมสร 5)ต้องมีการบันทึกจำนวนผู้ชม 6)ต้องมีการตั้งทีมระดับเยาวชน 7)มีการจัดเจ้าหน้าที่เพื่อการประสานงานกับสื่อมวลชน เจ๋งจัด ให้มีการลงทะเบียนสื่อมวลชน 9)จัดให้มีที่นั่งสำหรับสื่อมวลชนในสนามแข่งขัน 10)มีจุดแถลงข่าวของแต่ละสโมสร และ 11)มีการอำนวยความสะดวกให้กับสื่อมวลชนในการเข้าถึงตัวนักฟุตบอล “นโยบายของเอเอฟซี คือการพัฒนาฟุตบอลในภูมิภาคเอเชียให้ก้าวไปทัดเทียมยุโรป สโมสรฟุตบอลจึงจำเป็นต้องมีความเป็นมืออาชีพทั้งในเรื่องการบริหารงาน ทุกสโมสรต้องมีการแสดงบัญชีงบดุล รายรับ รายจ่าย เหมือนการบริหารธุรกิจ ต้องนั่งคิดว่าทำอย่างไรจะมีกำไร ทำอย่างไรสโมสรจึงจะยืนได้ด้วยตนเอง” ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง ประธานบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดูแลการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพในประเทศไทย กล่าว สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ตั้งบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัดขึ้น เพื่อดูแลการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก ปีที่ 3 โดยเปลี่ยนชื่อเป็น ไทย พรีเมียร์ลีก สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันตามมาตรฐานเอ เอฟซี เงื่อนไขสำคัญของเอเอฟซี ที่ดูจะเป็นการยกระดับให้กับสโมสรฟุตบอลในเมืองไทยในการเพิ่มจำนวนผู้ชม คือการที่สโมสรต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเชิงพาณิชย์ ทำให้สโมสรที่อยู่ในระบบราชการ เช่น ธนาคารกรุงไทย พนักงานยาสูบ หรือราชนาวี ที่ไม่สามารถทำตามเงื่อนไขนี้ได้ เนื่องจากติดขัดในด้านกฎหมาย ต้องปรับตัวครั้งใหญ่หากต้องการลงแข่งขันต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะรวมตัวกับทีมจังหวัด พนักงานยาสูบ กลายเป็น ทีเอ็มเอ็ม สมุทรสาคร ขณะที่ทหารน้ำ ราชนาวี ย้ายจากบางนา ไปอยู่ระยอง ใช้ชื่อราชนาวี ระยอง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมกับจังหวัดอยุธยา ส่วนธนาคารกรุงไทย ตัดสินใจยกสิทธิการแข่งขันให้กับบางกอกกล๊าส ซึ่งมีฐานกองเชียร์หนุ่มสาวโรงงานแก้ว และประชาชนในย่านรังสิต ปทุมธานี อีก 1 ประเด็นสำคัญที่ไม่ได้ระบุอยู่ในเงื่อนไขของเอเอฟซี แต่ทุกสโมสรต้องมี คือการมีสนามแข่งขันเป็นของตนเอง และต้องเก็บค่าผ่านประตูทุกนัด ก็ทำให้มีบางสโมสรต้องหันไปจับกับทีมจังหวัดที่มีสนามฟุตบอลประจำจังหวัด เช่น ทีโอที ที่ตกลงย้ายเป็นทีมประจำจังหวัดกาญจนบุรี และทีมมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จับมือกับกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนชื่อเป็น บางกอก ยูไนเต็ด ได้สนามศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่นเป็นสนามเหย้า โดยทั้ง 16 ทีมที่ร่วมการแข่งฟุตบอลไทย พรีเมียร์ลีก มีสนามเหย้าเป็นของตนเอง ประกอบด้วย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ใช้สนามกีฬากลางจังหวัดชลบุรี, ชลบุรี เอฟซี และศรีราชา เอฟซี ใช้สนามสิรินธร โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาร่วมกัน, บีอีซี เทโตศาสน ใช้สนามฟุตบอลหนองจอก, โอสถสภา-เอ็ม 150 ใช้สนามธนารมย์ เขตสายไหม, ทีโอที หลังจากจับมือกับกาญจนบุรี ก็เปลี่ยนสนามเหย้าจากสนามกองทัพบก เป็นสนามกลีบบัว จังหวัดกาญจนบุรี, บางกอกกล๊าส ใช้สนามฟุตบอลบางกอกกล๊าส รังสิต, สมุทรสงคราม เอฟซี ใช้สนามกีฬากลาง จังหวัดสมุทรสงคราม, จุฬา ยูไนเต็ด ใช้สนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นครปฐม เอฟซี ใช้สนามมหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน, บางกอก ยูไนเต็ด และการท่าเรือไทยใช้สนามไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ร่วมกัน, พัทยา ยูไนเต็ด ใช้สนามเทศบาลเมืองหนองปรือ, ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร ใช้สนามกีฬากลางจังหวัดสมุทรสาคร, เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด ใช้สนามธันเดอร์โดม เมืองทองธานี และราชนาวี ระยอง ใช้สนามกีฬากลางจังหวัดระยองเป็นสนามเหย้า ด้านงบประมาณการจัดการแข่งขัน นอกเหนือจากเงินสนับสนุนจากภาครัฐที่ส่งผ่านมายัง กกท. โดยไทย พรีเมียร์ลีกจะได้รับราว 30 ล้านบาท ปตท ยังมอบเงินสนับสนุนให้อีก 10 ล้านบาท โดยแต่ละทีมจะได้รับเงินบำรุงทีมๆ ละ 6 แสนบาท โดยทีมแชมป์จะได้รับเงินรางวัล 10 ล้านบาท รองชนะเลิศ 2 ล้านบาท และอันดับ 3 เป็นเงิน 1.5 ล้านบาท แต่เงินรายได้ที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากการแข่งขันทุกปีที่ผ่านมา คือ ทุกทีมจะมีเงินรายได้จากค่าผ่านประตู ทุกนัดที่เป็นเจ้าบ้าน บวกกับการขายสินค้าที่ระลึก เสื้อ ผ้าพันคอ เข็มกลัด หรือสติกเกอร์ ซึ่งทีมใดจะทำรายได้จากส่วนนี้มากกว่ากัน ต้องประกอบไปด้วยฝีเท้าในการแข่งขัน และฝีมือในการบริการธุรกิจ
จากคุณ :
Drcoa
- [
16 เม.ย. 52 22:47:14
]
|
|
|