|
ความคิดเห็นที่ 6 |
กีฬา "ฟุตบอล" (Soccer) มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เมื่อประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราชชาวจีนเรียกว่า "ทสิชู" (Tsu Chu) โดยใช้ไม้ไผ่เป็นเสาประตู ส่วนชนชาติกรีกเรียกว่า "อีพิสไครอส" (Episkyros) ที่มีประตูฝ่ายตรงข้ามคือเป้าหมาย ชาวเมืองฟลอเรนซ์ของอิตาลีเรียกว่า "คาลซิโอ" (Calcio) ซึ่งแบ่งผู้เล่นข้างละ 27 คน ใน ค.ศ. 1801 อังกฤษจึงได้ชื่อว่าเป็น "ต้นแบบของฟุตบอลยุคใหม่" เมื่อกำหนดกฎและกติกาการแข่งขัน จนส่งผลให้นิยมเล่นกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกมาตราบเท่าทุกวันนี้
กีฬา "ฟุตบอล" (Soccer) มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เมื่อประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราชชาวจีนเรียกว่า "ทสิชู" (Tsu Chu) โดยใช้ไม้ไผ่เป็นเสาประตู ส่วนชนชาติกรีกเรียกว่า "อีพิสไครอส" (Episkyros) ที่มีประตูฝ่ายตรงข้ามคือเป้าหมาย ชาวเมืองฟลอเรนซ์ของอิตาลีเรียกว่า "คาลซิโอ" (Calcio) ซึ่งแบ่งผู้เล่นข้างละ 27 คน ใน ค.ศ. 1801 อังกฤษจึงได้ชื่อว่าเป็น "ต้นแบบของฟุตบอลยุคใหม่" เมื่อกำหนดกฎและกติกาการแข่งขัน จนส่งผลให้นิยมเล่นกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกมาตราบเท่าทุกวันนี้
สำหรับชาวสยามเริ่มรู้จักเกมฟุตบอลในราว พ.ศ. 2440 เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนทุนหลวงไปศึกษา ณ เกาะบริเตน และราษฎรพากันเรียกว่า "หมากเตะ" แต่การเล่นส่วนใหญ่แล้วเน้นเพื่อความสนุกสนานมากกว่าจะเป็นทางการนัก
การแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการครั้งแรกของเมืองสยาม เกิดขึ้นเมื่อ ร.ศ. 119 หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ (Bangkok Times) ประจำวันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 ได้ลงคอลัมน์ความยาว 5 บรรทัดว่า "การแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับของแอสโซซิเอชั่น จะถูกจัดให้มีขึ้นในเวลาบ่ายของวันเสาร์นี้ ระหว่างบางกอกกับศึกษาธิการและเล่นกันที่คิงส์คอลเลจ" แต่เมื่อถึงกำหนดวันแข่งขันจริงก็ได้ย้ายไปเล่นกันที่ ณ สนามหลวง
ต่อมา หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ ฉบับวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2443 ลงข่าวการแข่งขันฟุตบอล เมื่อวันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2443 ในคอลัมน์ "A Football Match" และจากหนังสือ "ศตวรรษแห่งการกีฬา" ของนายสวัสดิ์ เลขยานนท์ ได้แปลข่าวด้วยสำนวนสมัยนั้น ดังนี้
"Bangkok.-Owen, Goal; Lewin and Cairns, Back; Wood, Follett and Craig, Half Backs; Martin, Fildes, Tozer, Edie and Bryan, Forwards.
Educatin Department.-Peau, Goal; Chamratt and Phillips, Backs; Spivey, Smith and Johnson, Haif Back; Wood, Sodchi, Tang, Koy and Another, Forwards
Mr.E.St.J. Lawson officiated as refere
"...ศึกษาธิการได้เริ่มเล่นลูกก่อน และมุ่งตรงไปยังโกลของบางกอก แต่ได้ถูกตีกลับ Fiddes รับลูกไว้ได้และเลี้ยงไปจนถึงเส้น "25" ของศึกษา ก็ถูก Smith ปะทะไว้อยู่ ครั้นแล้วลูกออกนอกเขตสนามไป ต่อมาฝ่ายศึกษายับยั้งไว้ได้โดย Philips คนหน้าแลคนครึ่งหลังเล่นถูกขากันดีพาลูกแหวกไปจนถึงสุดสนามของอีกข้างหนึ่ง ที่นั่น Smith ยิงลูกอย่างมั่นเหมาะและผ่านเข้าไปได้ ครั้นแล้วบางกอกได้เล่นแข็งขันขึ้น ต่อมา 2 - 3 นาที Martin และ Tozer รุกหนักทำให้คนหลังของศึกษาร้อนรน อย่างไรเสียก็ดี ลูกได้เลยออกไปข้างหลัง เมื่อเตะเข้าไปในสนามใหม่แล้ว คนหน้าของอีกฝ่ายหนึ่งได้ครอบครองลูกบอล และทีว่าจะอันตรายมากอยู่ Martion, Tozer และ fildes ปกป้องไว่ได้ ครั้นแล้วลูกออกเส้นข้างไป ก็พอดีครึ่งเวลาลง เริ่มใหม่ แล้วศึกษาเคลื่อนขึ้นไป วิ่งพาลูกไปใกล้โกล แต่ก็ขาดไตรบุรุษ Tozer และ Martion พาลูกขึ้นไปปะทะ แต่ไม่อาจอ่าน Philips ซึ่งแยกลูกและส่งไปไกล Spivey พลาดโอกาสอันดี หลังจากที่ได้ชุลมุนกันที่หน้าโกลเพียงชั่วเวลาเล็กน้อย บางกอกได้ตีเสมอ ต่อมา Philips โต้การปะทะจากการเลี้ยงลูกของ Owen และเข้ายั้งไม่อยู่ Edie ได้ลูกและเมื่อเลี้ยงไปในช่วงสั้น ๆ แล้วส่งไปให้ Martin ซึ่งสามารถทำโกลที่สองให้แก่บางกอกได้ Johnson ได้ลูกบอลกลับมาจากฝ่ายบางกอก แต่ก็ถูก Follett ยั้งไว้อยู่ แล้วมีการ "ฟาวล์" ขึ้น Philips เตะโด่งข้ามขื่อของโกลไป Tozer และ fildes พยายามอย่างหนักแต่ไม่สบโอกาส ลูกออกสนามเล่นไป หลังจากโกลเตะแล้ว ฝ่ายศึกษาได้เร่งรีบขึ้น คนหน้าคนหนึ่งรับลูกจาก Johoson และสามารถยิงได้สำเร็จ บางกอกรุกหนัก และรุกอยู่เรื่อย จนเสียงนกหวีดเป่าบอกหมดเวลา
ผล-ศึกษาธิการ 2 โกล
บางกอก 2 โกล
จากคุณ |
:
kodindy
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ก.ย. 52 21:09:17
|
|
|
|
|