 |
ความคิดเห็นที่ 109 |
1992-2009 J-league ใช้เวลา 17 ปีในการก่อร่างสร้างตัวจะกลายมาเป็นลีกอันดับต้นๆ (หรือ 1) ของเอเชีย และมียอดผู้ชมเป็นอันดับ 7 ของโลก
ของไทยเรา ที่ดูเหมือนจะมีแค่ใจและมีแต่คนระดับล่างช่วยกันปั้นกันเองล้วนๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าจะต้องใช้เวลานานแค่ไหน
2 เท่า, 3 เท่า, 5 เท่า หรือ 10 เท่า ของเวลาที่ J-league ใช้ในการสร้างตัวกันนะ
ดูๆ ไป บ้านเราตอนนี้มีทรัพยากรที่ดีมากๆ อยู่แล้ว เรามีกลุ่มวัยรุ่นที่มีทั้งกำลังเงิน, กำลังใจ และความคลั่งไคล้ในกีฬาฟุตบอล โดยที่แทบไม่ต้องสร้างหรือใช้เวลาปั้นเลย
เรามีประชากรที่มีรายได้พอที่จะเข้าสนามฟุตบอลได้สบายๆ ชนิดทีว่าต่อให้ราคาค่าตั๋วเพิ่มขึ้นกว่านี้ (ต่อให้ประมาณราคาพอๆ กับดูหนัง) คนไทยก็ยังสามารถเข้าไปดูได้ทุกสัปดาห์ (ซึ่งถ้าอีกหน่อยสร้างคุณภาพได้มากกว่านี้ก็ขึ้นราคาไดอีกครับ ขอให้ดีจริง ทั้งคุณภาพเกมส์และสเตเดี้ยม) (ถ้าสร้างให้การดูฟุตบอลลีกหลายเป็น "ความบันเทิงระดับ VIP" ขี้คร้านต่อให้ค่าตั๋ว 200-1,000 คนไทยก็ดูครับ)
ปัญหามันอยู่ที่... หัว
เราต้องมีคนเก่ง ต้องมีคนทำงาน ต้องมีแผนงานแผนการ พูดตรงๆ เลยว่าถ้าได้คนเก่งๆ มาบริหารฟุตบอลไทยลีก เชื่อว่าใช้เวลาจริงๆ แค่ไม่นาน (อาจจะแค่ไม่เกิน 20 ปีด้วยซ้ำ) ลีกบ้านเราก็อาจติดท็อป 5 ของเอเชียได้
อย่างที่บอก คนไทย มีองค์ประกอบแทบทุกอย่างที่ลีกฟุตบอลดีๆ ในโลกล้วนต้องการ คือ
1. คนรักฟุตบอล
2. มีเงินพออุดหนุนทีม (supporter) ในที่นี้ก็แค่ ซื้อตัวเข้าชมและของที่ระลึกเป็นครั้งคราว
ซึ่ง อย่างที่บอก ให้เริ่มจาก ทำให้คนในสังคมรู้สึกว่าการไปดูบอลสนุกกว่าการไปดูหนังก่อน เพราะทุกวันนี้คนเมืองส่วนมากใช้เวลาพักผ่อนไปกับการดูหนัง, เที่ยว ส่วนคนต่างจังหวัดน่ะ ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ขอให้ประสัมพันธ์ดีๆ และดึงคนท้องถิ่นเข้าร่วม ก็รับรองว่าคนเพียบ
ทั้งหมดที่ว่านี่คือการ.. "จูงใจ" และ "ประชาสัมพันธุ์"
ในเชิงธุรกิจแล้ว เราต้องมองว่า การไปดูฟุตบอลที่สนามเนี่ย มันเปรียบเทียบได้กับอะไร มันคืออะไรในจิตใจของคนทั่วไป
ซึ่งอย่างที่ผมบอก มันคือการผ่อนคลาย การใช้เวลาร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว ซึ่งก็เปรียบได้กับการกินข้าวนอกบ้าน, ดูหนัง หรือเดินห้าง
ต่างกันตรงที่ว่า คนส่วนใหญ่ที่ไปกินข้าวนอกบ้าน, ดูหนัง หรือเดินห้าง เขาเริ่มทำจากความรู้สึกแค่ทีว่า "ไม่มีอะไรทำ" จนนานๆ เข้าก็ติดเป็นนิสัย
ดังนั้น ต้องเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนรสนิยมคนไทยให้ได้ ซึ่งเราได้มีโอกาสที่ดีมากๆ เพราะจิตใจคนไทยนั้นบ้าฟุตบอลมากๆ มาแต่ไหนแต่ไร
คนไทยชอบการแข่งขัน ชอบชัยชนะ ซึ่งเราหาไม่ได้จากการกินข้าวนอกบ้าน, ดูหนัง หรือเดินห้าง ของพวกนั้นไม่ไร้อารมณ์ร่วม
3. เศรษฐกิจชาติ ด้วยเศรษฐกิจของเรา ต้องบอกว่า เรามีทั้งกลุ่มเป้าหมาย (วัยรุ่น, วัยทำงาน) ที่มีเงินพอสมควร เรียกว่าก็ช่วยทีมได้ล่ะ ขอแค่เรียกแขกให้ได้
ทีนี้ มองไปที่สปอนเซอร์ เราก็มีธุรกิจห้างร้านที่มีเงินแล้วไม่รู้จะเอาไปทำอะไรก็เยอะ บ้างก็ไปสนับสนุนทีมต่างประเทศ บ้างก็บริจาคพรรคการเมือง ซึ่งขอแค่ผู้จัดการแข่งขัน TPL และสโมสรสามารถ convince คือ ประมาณว่าทำให้เชื่อ ทำให้มั่นใจได้ เท่านั้นผมก็เชื่อว่าสโมสรต่างๆ ก็จะมีบริษัทห้างร้านสนับสนุนครับ
หลักๆ คือ เริ่มจากเรียกแขก เรียกแฟนบอล เรียกคนดู นั่นก็จำทำให้สโมสรกลายเป็นธุรกิจที่ในทางบริหารเรียกว่า "สามารถให้ผลงอกเงย" ได้ แล้วสปอนเซอร์ก็จะมาเอง
เท่านั้นยังไม่พอ ตลก ที่ไม่ว่าบ้านเราจะประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจอะไรก็ตาม แต่ธุรกิจจำพวกบันเทิงหรือท่องเที่ยว ก็มักจะเอาตัวรอดได้เสมอ ซึ่งหมายรวมถึงกีฬาเช่นฟุตบอลลีกด้วย
สุดท้าย จึงอยากฝาก ผมมองว่า พูดตรงๆ นะ ..
ถ้าเรามีคนฉลาดๆ เข้ามา "สร้าง" TPL จริงๆ ล่ะก็ เราจะมีลีกที่เหนือว่าเวียดนาม, สิงคโปร์, หรืออาจจะแม้แต่เกาหลี ได้สบายครับ เพราะอย่างที่บอกว่าเรามีทรัพยากรที่ดีทั้งคนและเงิน ขาดแต่ management
ส่วนปัญหาต่างๆ ในตอนนี้ (แฟนบอลตีกัน, กรรมการ ฯลฯ) ผมเองไม่อยากโทษสโมสร เพราะต้องยอมรับว่าทุกสโมสรก็ยังต้องบอกว่า "ใหม่" อยู่นักกับเหตุการณ์อย่างนี้ และอย่าลืมว่าเมื่อไม่กี่ปีก่อน เรายังพูดถึงการที่สโมสรต้องบริหารจัดการตัวเอง เช่นพวกโครงสร้างทีม, เงินเดือนนักเตะ-สต๊าฟ, scout ฯลฯ อยู่เลย ต้องให้เวลาพวกสโมสรเขาหน่อย
ผมเองน่ะ อยากจะต่อว่าองค์กรบ้างองค์กรมากกว่า เพราะเขาน่าจะอยู่ในฐานะที่ให้คำแนะนำหรือแม้แต่ออกกฏเกณ์อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสโมสรและแฟนบอลได้ นี่เหมือนให้พายเรือกันเอาเอง ไม่มีแม้แต่แผนที่
ถึงได้บอก มันน่าเสียดาย ฐานดี แต่หัวไม่ได้เรื่อง ก็ก้าวหน้าช้า
หวังว่า ปีต่อๆ ไปทั้งบรรดาสโมสรต่างๆ และแฟนบอลจะปรับตัวและ "โต" ขึ้นๆ ไปเรื่อยๆ เรื่องพวกนี้คงต้องใช้เวลา ตราบใดที่เรายังต้องพายเรือกันเองอย่างนี้
เรื่องความก้าวร้าวของแฟนบอล ส่วนตัวผมแอบชอบนิดๆ เพราะมันทำให้แต่ละนัดมันช่างมีรสชาติ, อารมณ์, และสีสันมากๆ
มันคือ "ชาตินิยม" ที่กลายพันธุ์เป็น "ข้างนิยม" คือการยึดมั่นในกลุ่มตัวเอง ซึ่งมีข้อดีตรงที่จะช่วยสร้างฐานแฟนบอลอันแข็งแกร่งสุดๆ
แต่ปัญหาก็มี เพราะมันก็จะกัดกร่อนคุณภาพของเกมและแฟนบอลบางส่วนออกไปเช่นกัน..
แก้ไขเมื่อ 08 ต.ค. 52 23:38:13
จากคุณ |
:
art_sarawut
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ต.ค. 52 23:30:53
|
|
|
|
 |