 |
ความคิดเห็นที่ 10 |
เงินทุนใหญ่ที่อุ้มดูไบตอนนี้ ก็กลุ่มทุนอาบูดาบี นี่แหละ อาบูดาบี ได้รับผลกระทบฟองสบู่ น้อยกว่าดูไบที่ส่วมเชื่อมโยงกับสหรัฐ และ ยุโรปมากกว่าเยอะ
ดูไบนครที่ล่มสลายทางความเชื่อถือด้านการเงิน
ชีคมุฮัมมัด บิน รอชีด อัล-มัคทูม ผู้ครองนครดูไบได้ออกมาประกาศยอมรับ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ว่า บริษัท ดูไบ เวิลด์ ซึ่งรัฐบาลดูไบ มีหุ้นส่วน ตอนนี้มีหนี้สินรวมกว่า 59,000 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับร้อยละ 70 ของจีดีพีของดูไปตลอด 3 ปีข้างหน้า
ดังนั้น บริษัท กำลังขอเลื่อนการชำระหนี้จากตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดจำนวน 3,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งครบกำหนดในเดือนธันวาคม 2552 ออกไปเป็นเดือนพฤษภาคม 2553 อย่างเร็วที่สุด ยอดหนี้ดังกล่าว ยังไม่รวมหนี้ของตราสารหนี้ที่ต้องจ่ายอีก 13,000 ล้านดอลลาร์ และ 19,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งครบกำหนดในปี 2010 และปี 2011
ชีคมุฮัมมัด บิน รอชีด อัล-มัคทูม ระบุว่า การขอยืดและพักการชำระหนี้ในครั้งนี้ จะไม่รวมถึง บริษัท Dubai Ports World บริษัทบริหารที่เรือที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่จะรวมถึงหนี้ของหุ้นกู้อิสลาม (Islamic Bond) หรือที่เรียกว่า Sukuk มูลค่ากว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ ที่ออกโดย Nakheel Property บริษัทผู้ก่อตั้ง และพัฒนา Palm Island และ โครงการระดับโลกที่ดูไบอีกหลายโครงการ
สำหรับ ข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนทั่วโลกมึนงง เพราะเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ชีคมุฮัมมัด บิน รอชีด อัล-มัคทูม เพิ่งแสดงความมั่นใจให้กับนักลงทุนว่า ประเทศดูไบจะสามารถระดมทุนเพียงพอที่จะมาชำระหนี้สินที่มีอยู่ได้ โดยดูไบจะออกพันธบัตรของกระทรวงการคลังมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งธนาคารกลางของสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ สั่งจองแล้วครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้
ชีคมุฮัมมัด แสดงความมั่นใจด้วยว่า พันธบัตรอีกครึ่งหนึ่งจะสามารถขายได้และจะนำเงินนั้นไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสำหรับปี
ดังนั้น เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปถูกเทขายอย่างหนัก ดัชนีตลาดหุ้นที่สำคัญในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น CAC40 ของฝรั่งเศส FTSE100 ของอังกฤษ หรือ DAX ของเยอรมันร่วงลงไปกว่า 3% ภายในวันเดียว
แม้ว่า ดูไบเวิลด์ จะพยายามลดความตื่นตระหนกของนักลงทุนด้วยการออกมาประกาศข่าวนี้หลังตลาดหุนในประเทศปิดทำการ และ 1 วันก่อนหน้าเทศกาลอีดิลอัฎฮา (Eid al-Adha) ของชาวมุสลิม ซึ่งจะเป็นวันหยุดยาวไปจนถึงวันที่ 6 ธันวาคม แต่ความแตกตื่นก็แสดงให้เห็นจาการร่วงลงของตลาดหุ้นทั่วโลกแล้ว
สำหรับ นครดูไบ ต่างกับเมืองหลวงอาบู ดาบี ตรงที่ไม่มีแหล่งน้ำมันที่จะเลี้ยงตัวเอง และเมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้ามา ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เคยพุ่งพรวด พลันลดต่ำลงเหลือเพียงครึ่งเดียว ผลก็คือ โครงการอสังหาริมทรัพย์กว่า 400 แห่งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งมีมูลค่าประมาณมากว่า 300,000 ล้านดอลลาร์ จะโดนแช่แข็งเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ ล่าสุดบริษัท Emaar ซึ่งเคยเป็นยักษ่ใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์ ประกาศการขาดทุนถึง 350 ล้านดอลล่าร์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
โครงการที่ต้องพับเก็บไว้ มีโครงการใหญ่มูลค่า 95 พันล้าน ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาเขตใหม่ของดูไบรวมอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพยายามผลักดันโครงการที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค ให้แล้วเสร็จ รวมทั้งโครงการรถใต้ดิน ที่เปิดไปเมื่อเดือนกันยายน
สำหรับนักลงทุนตอบรับต่อข่าวร้ายดังกล่าวอย่างรวดเร็ว โดยในตลาดเงิน Credit Default SWAP กระโดดเพิ่มขึ้นจากระดับ 30 Basis Point เป็นระดับเกือบ 45 Basis Point ภายในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากนั้น
นอกจากนี้ ข่าวดังกล่าวยังส่งผลให้มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส และเอสแอนด์พีประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัท ดูไบ เวิลด์ ลงสู่สถานะ Junk หรือขยะ และยังได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของอีก 5 บริษัทของรัฐบาลดูไบด้วย
นักวิเคราะห์หลายคนเปรียบเทียบความแตกต่างของนโยบายของรัฐบาลดูไบที่เน้นขยายความมั่งคั่ง และสร้างหนี้สิน เพื่อผลักดันให้ดูไบเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอันฟุ้งเฟ้อ ด้วยการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีรูปแบบสวยงาม แปลกตา ทุบทำลายสถิติโลกมากมาย แตกต่างจากนโยบาย Conservative ของรัฐบาลอบูดาบี ที่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้อย่างต่อเนื่อง และมั่นคง
ดังนั้น แม้ Dubai Ports World จะว่าจ้างให้ Deloit ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการสอบบัญชีระดับโลก ให้เป็นที่ปรึกษาด้านการปรับโครงสร้างการเงินของบริษัท แต่ยังคงมีข้อสงสัยว่า การปรับโครงสร้างจะช่วยให้ดูไบสามารถแก้ปัญหาหนี้สินจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ได้หรือไม่
ท้ายที่สุดดูไบ อาจต้องหันหน้า กลับไปพึ่งพี่ใหญ่อย่างอาบูดาบีแม้ว่าทั้งดูไบและอาบูดาบีจะไม่เคยยอมรับเรื่องนี้อย่างเปิดเผยเลยก็ตาม แต่หลายคนเชื่อว่า ผู้ปกครองอาบูดาบี ได้ให้สัญญาที่จะช่วยปกป้องดูไบ จากภาระหนี้สูงสุดถึง 5 ปี
credit : www.atnnonline.com
แก้ไขเมื่อ 27 พ.ย. 52 22:23:13
จากคุณ |
:
still solo one
|
เขียนเมื่อ |
:
27 พ.ย. 52 22:20:27
|
|
|
|
 |