 |
ความคิดเห็นที่ 19 |
.
ปฐมเหตุแห่งการบรรจุเข้าสู่กีฬาระดับชาติ
กีฬาตะกร้อ เป็นกีฬาของชนชาติเอเชีย ซึ่งมีหลายประเทศนิยมเล่นกัน แต่ละประเทศก็มีวิธีการเล่นหรือกติกาที่แตกต่างกัน
พม่า เตะกันแบบล้อมเป็นวง (5-6 คน) พม่า เรียกตะกร้อว่า “ชินลง”
มาเลเซีย เล่นตะกร้อข้ามตาข่าย ซึ่งดัดแปลงการเล่นมาจากกีฬาวอลเลย์บอล แต่ได้กำหนดให้สนามเล็กลง และมีผู้เล่นน้อยลง (จาก 6 คน เหลือ 3 คน) เรียกว่า “เซปัก รากา จาริง” โดยแปลความหมายได้ว่า “เตะตะกร้อข้ามตาข่าย” มาเลเซีย เรียกตะกร้อว่า “รากา”
กำเนิดกีฬาเซปักตะกร้อ
ระหว่างเดือน มีนาคม-เมษายน 2508 (March-April 1965) สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดงานเทศกาล “กีฬาไทย” โดยจัดให้มีการแข่งขัน ว่าว, กระบี่-กระบอง และตะกร้อ ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
ซึ่งครั้งนั้น สมาคมกีฬาตะกร้อ จากเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ได้นำวิธีการเล่นตะกร้อของ “มาเลเซีย” คือ “เซปัก รากา จาริง” มาเผยแพร่ให้คนไทยรู้จัก ในเชิงเชื่อมสัมพันธไมตรี และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกติกาของตะกร้อไทยด้วย
สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดให้มีการสาธิตกีฬาตะกร้อของทั้งสองประเทศ ระหว่างไทย กับ มาเลเซีย โดยผลัดกันเล่นตามกติกาของ “มาเลเซีย” 1 วัน, เล่นแบบกติกา ของไทย 1 วัน
.
จากคุณ |
:
สู้เพื่อชัยชนะ (Thai_DeSeRT)
|
เขียนเมื่อ |
:
16 ธ.ค. 52 08:38:45
|
|
|
|
 |