Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ทีมฟุตบอลไทย ทีมอาชีพ ทีมองค์กร  

เท้าความตั้งแต่ยังเด็ก
ผมคงรู้จักกับคำว่าฟุตบอลครั้งแรก ก็ตอนแม่ซื้อเสื้อบอล ซึ่งจริงๆเป็นแค่เสื้อสกรีน ลาย กับ เบอร์
ซึ่งตอนนั้นจำได้ว่าเป็นเบอร์ 10 พ่อบอกว่าเสื้อ ดีเอโก้ มาราโดน่า นั่นคงเป็นครั้งแรกที่รู้จักชื่อนักฟุตบอลกระมั้ง
ผ่านมานิดหน่อยผมอยู่ ป.3 ประมาณปี 30 ได้ ได้มีโอกาสไปหาพ่อซึ่งเป็นทหารอากาศที่ สกลนคร
เผอิญมองไปเห็นหนังสือ 1 เล่มชื่อฟุตบอลไทย(ถ้าจำไม่ผิด) และเมื่อเปิดมาหน้าแรกก็พลันไปเจอ
นักฟุตบอลคนนึงเห็นหน้าไม่ชัดเพราะก้มหน้าก้มตาเลี้ยงบอลอยู่ ใต้รูปนักฟุตบอลคนนั้นมีชื่อ ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน ทีม ทหารอากาศ
และวันเดียวกันนี้เอง ตอนเย็นก็ดันมีฟุตบอลถ่ายทอดสดซึ่งเป็นทีม ทหารอากาศ นี่แหละ แต่แข่งกับทีมอะไรก็จำไม่ได้
ตอนแรกก็ไม่ได้สนใจ เพียงแต่เสียงคุณ จักรพันธ์ ยมจินดา ดังลั่นออกมาจากทีวีว่า ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน ยิงเข้าไปแล้วครับ
ผมละทิ้งกิจกรรมที่ทำอยู่ตอนนั้น วิ่งมาหน้าทีวี เพื่อ ดูหน้านักฟุตบอลที่ชื่อ ปิยะพงษ์ และมันฝังใจตั้งแต่นั้นมา
ทำให้ผมเริ่มสนใจฟุตบอล และ ทีมทหารอากาศ ตั้งแต่นั้นมา
และหลังจากนั้นก็ไดรู้จัก ทีมฟุตบอลอื่นๆ ที่มาแข่งกับทีมทหารอากาศ
อาทิ ตำรวจ ทหารบก การท่าเรือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย โอสถสภา ราชประชา
โดยที่ตอนนั้นก็ไม่ได้รู้หรอกครับว่า นั่นคือ ฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย
มารู้จริงก็ตอนป.6 ที่เห็นไตเติ้ลก่อนแข่งมันขึ้นมาว่า ฟุตบอลเซมิโปรลีก

พอถึงจุดนึง ที่อิทธิพลของฟุตบอลอังกฤษเข้ามา กระแสฟุตบอลในไทยก็ลดลงคนดูนับหัวได้
ที่เวลาคนดูเยอะๆจริงก็มีแค่ทีมชาติไทยเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงต่างๆ มีสโมสรเกิดใหม่ มีสโมสรที่ยุบไป แต่ลีกไทยช่วงหลังปี 40 ลงมายังคงเดิม
อย่าว่าแต่เก็บค่าตั๋ว เปิดให้ดูฟรี ยังนับหัวคนดูได้

การเปลี่ยนแปลงอีกครั้งกลับมาเมื่อประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว
เมื่อมีการรวมลีกกับทีมจังหวัด และยุคแรกเรื่มที่ทำให้คนเริ่มกลับมาสนใจฟุตบอลไทยอีกครั้ง
คงเป็นกระแสของทีม ชลบุรี นั่นเองที่ทีกองเชียร์สนับสนุนเรียกว่ามากที่สุดตอนนั้น
ไม่นานกระแสก็กลับมา จังหวัดอื่นๆ ทีมฟุตบอลต่างๆ มีคนมาดูมากพอที่จะเก็บเงินค่าผ่านประตูได้
ตอนนี้น่าจะเป็นจุดที่เรายังจะพัฒนากันต่อไป

แต่ที่ผมตั้งใจจะเขียนบทความนี้ขึ้นมาจริงๆคือ
ช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่าน ผมได้อ่านตามเว็ปบอร์ดทั้ง PANTIP และ อื่นๆ
ผมบอกได้เลยว่าผมโครตเบื่อเลยกับคำว่า
ทีมองค์กร ไม่ใช่ฟุตบอลอาชีพ ควรยุบไปซะ
ทีมจังหวัดนี่แหละคือทีมอาชีพ อย่างแท้จริง
เล่นบอลอาชีพแล้วทำไม ประกอบอาชีพอื่นอีก
ซึ่งผมคิดว่าความคิดเหล่านี้น่าจะมาจากคนที่น่าจะมีอายุไม่เกิน 25 ปีลงมา
เพราะคนรุ่นเก่าๆ ที่เคยติดตามเชียร์ฟุตบอลไทยจริงๆ คงเข้าใจว่า
สมัยก่อนที่เราดูบอล เราไม่รู้หรอกครับว่าทีม อาชีพ กับทีมองค์กร มันต่างกันยัง
เพราะที่เรารู้จักทีมฟุตบอลสมัยก่อน ถ้าเปรียบกับสมัยนี้ ก็คงเป็นทีมองค์กรซะ 80 % แหละครับ

ซึ่งถามว่าทีมฟุตบอลต่างประเทศยุคแรกเริ่มก็ล้วนกำเนิดมาจากคนในท้องถิ่นนั้น
ว่างก็มาเล่นกัน จนเกิดการแข่งขันกันจริงและเริ่มเปลี่ยนแปลงจนมาถึงปัจจุบัน
ไม่ใช่แค่ 4-5 ปี แต่เป็น 100 ปี
ถึงแม้ปัจจุบันแล้ว ทีมฟุตบอลอาชีพที่เป็นองค์กรก็มี ผมยกตัวอย่าง ทีม CSKA มอสโค เป็นทีมทหารบกของรัสเซีย
ฟุตบอลลีกต่ำๆของต่างประเทศก็เป็นกึ่งสมัครเล่น แทบทุกคนยังต้องประกอบอาชีพอื่นๆ
ซึ่งข้อมูลที่ผมหามาได้ ลีกเหล่านั้นนักฟุตบอลได้เงินวีคละแค่ ไม่กี่ร้อยปอนด์
เงินแค่นั้นบอกได้คำเดียวว่า เตะบอลอย่างเดียว คงไม่พอยาไส้หรอกครับ
แต่ไอ้เรื่องการจัดการกันยังไง ผมไม่รู้ เพราะไม่ได้เชี่ยวฟุตบอลขนาดนั้น

แต่ฟุตบอลไทย เราต้องยอมรับว่า นี่มันเป็นจุดเริ่มจริงๆของฟุตบอลาชีพของประเทศไทย
อยู่ดีๆดูฟุตบอลต่างประเทศมาจนชิน
จะให้ลีกของประเทศตัวเอง เปลี่ยนไปเป็นอย่างนั้นในเวลาแค่ 4-5 ปี
มันจะเป็นไปได้ยังไงกัน
ทุกอย่างมันมีเวลาของมัน มันจะเปลี่ยนไปเอง อาจจะไม่ใช่ในยุคของคุณแต่ต่อไปมันจะเปลี่ยน

แล้วเมื่อบอกว่าทีม อาชีพ ก็คือทีม อาชีพ ไม่ใช่ขององค์กร
แล้วทีมจังหวัดที่บางคนบอกว่าเป็นทีมอาชีพ ให้อะไรกับคนดูบ้าง
สนามกีฬากลางจังหวัด ที่ 1 เดือนแข่งบอลอะไรต่อมิอะไรบ้างก็ไม่รู้ สภาพไม่ต่างอะไรกับคันนา
บางที่ยิ่งกว่าปรักควาย บางสนามฝนตกมาที เล่นโปโลน้ำได้เลย
ห้องน้ำที่บางทีเห็นแล้ว ไปมองหาโพรงหญ้ายังสะอาดกว่า ฉี่ใส่ขวดยังจะเวิร์คกว่า
สนามที่เจ้าบ้านกับทีมเยือนแทบจะถ่มน้ำลายใส่หน้ากันได้ ไม่มีอะไรมาแบ่งแยกโซน
เจ้าหน้าที่สนามเป็น อปพร. มายืนดูฟุตบอลมากกว่าจะมารักษาความปลอดภัย
ขวดน้ำก็ยังมีขว้างให้เห็นประจำ เค้าไม่ได้ห้ามเอาเข้าสนามกันหรอ ขวดน้ำหน่ะ
นี่คือสิ่งที่เรียกว่า ทีมอาชีพ มอบให้กับคนดูรึเปล่า
70 กว่าจังหวัดผมกล้าพนันว่ามีไม่เกิน 15-20 ทีมจังหวัด
ทีมีสนามมีมาตรฐานมากกว่า สนามของทีมองค์กร
ยกตัวอย่าง เช่น สนามกีฬากองทัพบก และ สนามธูปเตมีย์

แล้วทีมทหารทำไมเอาเงินภาษี มาบริหารทีม ให้กับนักกีฬาที่เป็นทหาร
สบายเลยงานก็ไม่ต้องทำ แล้วยังได้เงินเดือนอีก
ผมก็กล้าพนันได้อีกว่า มากกว่า 80 % ของทีมจังหวัดก็ได้เงินงบประมาณจากจังหวัดเหมือนกัน
ซึ่งไอ้เงินที่ว่า มันก็คือ เงินภาษีประชาชนแหละครับ
ทีนี้เรื่องเค้าจะจัดการกับเงินกันยังไง อันนี้ผมก็ไม่รู้อีก

เดี๋ยวนี้ทีมที่เป็นทีม องค์กร ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มีการจัดตั้งให้เป็นเอกชน
แต่ก็ยังเป็นกึ่งองค์กร ต้องใช้เวลา
อยู่ดีๆจะให้ไล่นักฟุตบอลซึ่งเป็นคนขององค์กรนั้นๆออกไปเลย มันก็เกินเหตุ
ซึ่งถ้าทำอย่างนั้นจริงผมว่า นักฟุตบอลเหล่านั้น คงเลือกประกอบอาชีพถาวร
มากกว่าจะมาเลือกเป็นนักฟุตบอลซึ่งอายุ 30 กว่าก็ต้องเลิกเล่นแล้ว
มีชื่อเสียง มีเส้นสายหน่อยได้ไปเป็นผู้ฝึกสอนของทีมฟุตบอลอื่นๆ ก็ถือว่าดีไป
แล้วนักฟุตบอลระดับล่างๆลงมาหล่ะครับ ไม่ทำงานก็อดตาย
นักฟุตบอลต่างประเทศเลิกแล้วไม่ต้องทำอะไร เค้าคงทำอย่างนั้นได้ ระดับหัวแถวรับกันปีละเป็น 100-200 ล้านบาท
เล่นกันแค่ 1-2 ปีก็เป็นมหาเศรษฐีกันแล้ว
ระดับกลางๆปีนึงก็หลัก 20 จนไปถึงเกือบ 100 ล้านบาท
แต่กับนักฟุตบอลไทยมันไม่ใช่ ผมยังไม่เคยเห็นนักฟุตบอลไทย ที่เล่นในไทย
เลิกเล่นแล้ว เป็นระดับคนรวยที่เรียกว่ารวยจริงๆ รวยขนาดไม่ต้องทำมาหากินก็มีเงินใช้ไปจนตายซักคน

แต่เมื่อวันนึงมันก้าวข้ามจุดที่เรามองกันอยู่
แต่ละทีมมีรายได้จากการขายบัตรเป็นหลัก มีสปอนเซอร์หลัก
แต่ละจังหวัด แต่ละทีม มีคนดูกันหลักหมื่นคน
นักฟุตบอลมีรายได้มากพอที่จะทุ่มเทให้กับการเล่นฟุตบอลอย่างเดียว
ผมว่าสิ่งเหล่านั้นข้างบนที่ผมเอ่ยมามันจะหมดไปเอง

ผมเชียร์ทีม ที่บางคน นิยามว่า ทีมองค์กร ก็จริง
แต่ไม่ได้เขียนบทความนี้เพื่อมาแก้ตัวแก้ต่างอะไร
เพียงแต่อยากให้บางคน มองอะไรกว้างๆ เปิดใจซักหน่อย
สุดท้ายฟุตบอลไทย ยังมีอะไรต้องเปลี่ยนแปลงอีกเยอะ

ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ

แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 53 23:27:31

แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 53 22:55:13

แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 53 22:53:01

จากคุณ : nublur
เขียนเมื่อ : 1 ต.ค. 53 22:48:18




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com