"ตราช้างทีมไทย" หรือ "ลูกเนรคุณพ่อ"
|
 |
"ตราช้างทีมไทย" หรือ "ลูกเนรคุณพ่อ"
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้า ฯ พระราชทาน "ตราพระมหามงกุฎ" ให้เป็นเกียรติยศการรักชาติแก่ทีมชาติสยาม เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๘ ณ สนามสามัคยาจารย์สมาคม
นับจากปัจจุบันนี้ อีก 6 ปี คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม หรือ "ทีมชาติไทย" ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และของคนไทยสายเลือดสยามทุกผู้นาม จะมีอายุครบรอบ 100 ปี คณะกรรมการบริหารสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ควรต้องทบทวนในการอัญเชิญ "ตราพระมหามงกุฎ" ให้กลับมาประทับบนอกเสื้อเบื้องซ้ายของเหล่านักฟุตบอลผู้แทนของชาติ สมดังพระราชประสงค์ "องค์บิดาแห่งฟุตบอลเมืองสยาม" และปฐมบทแห่งทีมชาติสยาม
ในการนี้ สำนักพระราชวังอนุญาตให้สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทยจัดแสดง "พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม" ณ พระตำหนักทับแก้ว พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในพระราชกรณียกิจด้านการสนับสนุนและส่งเสริมกีฬาฟุตบอลของสยามประเทศ และโอกาสที่ทีมฟุตบอลชาติไทยในสมเด็จพระมหาธีราชเจ้า จะมีอายุครบรอบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2558 อันจะแสดงให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน ได้เห็นถึงพระอัจริยภาพของพระองค์ท่านในฐานะสภานายกคณะฟุตบอลแห่งสยาม (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458) ต่อมา จึงทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน "ตราพระมหามงกุฎ" ให้เป็นเกียรติยศการรักชาติของนักฟุตบอลทีมชาติไทย
ดังคำกล่าว ของพระประสิทธิ์ศุภการ (ต่อมา คือเจ้าพระยารามราฆพ) แก่คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม (ทีมชาติไทย) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ณ สนามสามัคยาจารย์สมาคม (สนามฟุตบอลภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) ความว่า
"...หมวก เครื่องหมายความสามารถฟุตบอลที่ท่านจะได้รับไปในเวลาอีกสักครู่นี้ ก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราพระมหามงกุฎ ซึ่งควรรู้สึกว่าเปนเกียรติยศการรักชาติ ย่อมจะแสดงได้หลายสถาน แต่การที่ท่านตั้งใจเข้าเล่นแข่งขันให้ถึงซึ่งไชยชนะให้แก่ชาติในคราวนี้ ก็เปนส่วนหนึ่งแห่งการรักชาติ..."
อนึ่ง ในรัชสมัยของพระองค์ มีเหตุการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนสิ่งของเป็นเหรียญรางวัลในการกรีฑาของกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวคือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดี ได้มีหนังสือกระทรวงศึกษาธิการที่ ๓๐/๕๔๘๘ ลงวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เรื่อง เห็นควรเปลี่ยนเหรียญรางวัลของแก่นักเรียนผู้ชนะในการกรีฑาเป็นเหรียญรูปพระอินทร์ทรงช้าง โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแส พระราชทานมาวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๔๖๗ ความว่า
"ที่คิดเปลี่ยนเปนเหรียญรางวัลนั้น เห็นชอบด้วย แต่ที่จะทำเปนรูปพระอินทร์ทรงช้างนั้น ยังไม่เห็นด้วย, เพราะเมื่อทำเปนเหรียญจะเห็นแต่ช้างมากกว่าพระอินทร์, ควรคิดหารูปอย่างอื่นจะดีกว่า."
ในปัจจุบัน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2545 สภากรรรมการบริหารสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อ้างเหตุว่า "ทีมชาติไทยไม่เคยมีตราประจำทีมชาติ" จึงได้จัดการประกวดตราทีมชาติไทยขึ้นพร้อมทั้งนำ "ตราช้าง" ที่ชนะเลิศมาใช้แทน "ธงไตรรงค์" (ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สมาคมฟุตบอลฯ เปลี่ยนจาก "ตราพระมหามงกุฎ" มาเป็น "ธงไตรรงค์") โดยรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นธงประจำชาติไทย
ขณะที่สื่อมวลชนมีการนำเสนอบทความเกี่ยวกับปฐมบท "ตราพระมหามงกุฎ" กล่าวถึงการไม่บังควรเป็นอย่างยิ่ง กับตราที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของทีมชาติไทย นอกจากผิดไปจากพระราชประสงค์ของล้นเกล้าฯ สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หากแต่ไม่ได้รับการชึ้แจงต่อสาธารณชนและสังคมส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับทราบเรื่องที่ถูกต้องอย่างแพร่หลาย จึงขออัญเชิญบทพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เพื่อเตือนสติการกระทำดังกล่าว ไว้ดังนี้
..... เจ้าเหล่านี้ ข้าถือเหมือนลูกของข้า ส่วนตัวเจ้า เจ้าก็ต้องรู้สึกว่าข้าเป็นพ่อเจ้า ธรรมดาพ่อกับลูก พ่อย่อมอยากให้ลูกดีเสมอ ถ้าลูกประพฤติตัวดีสมใจพ่อ พ่อก็มีใจยินดี ถ้าลูกเหลวไหลประพฤติแต่ความเสื่อมเสีย พ่อก็โทมนัส ลูกคนใดที่ประพฤติตนเลวทรามต่ำช้า เป็นเหตุให้พ่อได้ความโทมนัส ลูกคนนั้นเป็นลูกเนรคุณพ่อ......
มีคนไทยอีกหลายล้านคน หรืออย่างน้อย 7,000 กว่าคน ที่ได้ลงความเห็นในสมุดเยี่ยมชม "พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม" แสดงความเห็นด้วยกับ "ตราพระมหามงกุฎ" ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของ "องค์บิดาแห่งฟุตบอลเมืองสยาม".
จิรัฏฐ์ จันทะเสน ผู้เขียน
http://www.siamfootball.com/
หวังว่านายกมีหัวนอนบางคนและสื่อมีหัวนอนบางตัว "จะสำนึกถึงพระราชนิพนธ์อันนี้"
"..... เจ้าเหล่านี้ ข้าถือเหมือนลูกของข้า ส่วนตัวเจ้า เจ้าก็ต้องรู้สึกว่าข้าเป็นพ่อเจ้า ธรรมดาพ่อกับลูก พ่อย่อมอยากให้ลูกดีเสมอ ถ้าลูกประพฤติตัวดีสมใจพ่อ พ่อก็มีใจยินดี ถ้าลูกเหลวไหลประพฤติแต่ความเสื่อมเสีย พ่อก็โทมนัส ลูกคนใดที่ประพฤติตนเลวทรามต่ำช้า เป็นเหตุให้พ่อได้ความโทมนัส ลูกคนนั้นเป็นลูกเนรคุณพ่อ......
จากคุณ |
:
Longinus
|
เขียนเมื่อ |
:
13 ธ.ค. 53 02:49:40
|
|
|
|