มารู้จัก วิงค์แบ็ค กันเถอะ กรรมกรแห่งสนามฟุตบอล
|
 |
หลังจากที่เคยเขียน มิดฟิลด์โฮลบอลไปแล้ว เลยอยากเขียนตำแหน่งนี้ด้วยเพราะเป็นตำแหน่งที่ตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง http://topicstock.pantip.com/supachalasai/topicstock/2010/11/S9943110/S9943110.html
มิดฟิลด์โฮลบอลสำคัญกับทีมที่มีสไตล์ขึ้นบอลจากตรงกลางเป็นหลัก แต่วิงแบ็คนี้จะเป็นตัวซัพพอร์ตให้กับทีมที่มีสไตล์ขึ้นบอลจากปีกเป็นหลัก
มิดฟิลด์โฮลบอลใช้ชั้นเชิง ทักษะและวิสัยทัศน์ในการเล่น ตรงข้ามกับวิงค์แบคที่ต้องใช้แรงกายประมาณ 80% ทั้งต้องรับผิดชอบเกมรับ ในขณะที่ต้องทำเกมส์รุกด้วย ถ้ารุกเพลินจนรับรั่ว ก็จะโดนด่าว่า บ่อ โดยทันที แต่เวลาเราชมเกมส์ เรากลับให้เครดิตวิงค์แบคในบรรดา 11 ตัวผู้เล่นเป็นอันดับท้าย ท้ายที่สุด ท้ายยิ่งกว่าผู้รักษาประตูเสียอีก
ถ้าเปรียบมิดฟิลด์โฮลบอลเป็นวิศวกร วิงค์แบคก็คงเป็นกรรมกรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าขาดคนใดคนหนึ่งไปก็คงยากที่สร้างตึกให้สมบูรณ์แบบและสวยงามได้
หน้าที่และความรับผิดชอบ
หน้าที่อันดับแรกที่เกมส์รับ คอยดักปีกฝ่ายตรงข้าม แต่ในปัจจุบันนี้ในฟุตบอลสมัยใหม่ แบ็คระดับโลกที่ดีต้องเติมเกมส์ได้ มีความเร็ว มีลูกครอสที่สามารถสร้างปัญหาให้กับคู่แข่งได้ หรืออย่างน้อย ๆ ก็สามารถดึงตัวประกบได้ หน้าที่ของวิงค์แบ็คจะขึ้นอยู่กับปีกและแท็คติกของทีมด้วยเช่น
วิงค์แบ็ค กับ ปีกธรรมชาติ
สมการนี้แบ็คจะสบายหน่อย เพราะไม่จำเป็นต้องเติมเกมส์สูงมากถึงขนาดสุดเส้นหลัง อาจจะขึ้นไปแค่บริเวณเส้นกึ่งกลางสนาม ช่วยในการต่อบอลหรือดึงตัวประกบ ไม่ขอยกตัวอย่าง เพราะเป็นอะไรที่มาตรฐานมาก ๆ ในฟุตบอลอังกฤษ เราสามารถพบเห็นได้ง่ายเกือบจะทุกทีม
แต่ถ้าหากปีกคนนั้นไม่มีความเร็วมาก ขอยกตัวอย่างเอฟร่ากับกิ๊กส์ละกัน ตอนเกมส์รับเอฟร่ากับกิ๊กส์ต่างคนจะประจำตำแหน่งของแต่ละคนตามแบบไลน์อัพ แต่พอทีมเปลี่ยนมาเล่นเป็นทีมบุก ไลน์อัพของทั้งสองก็จะเปลี่ยนไป เอฟร่าจะชิ่งบอลจนถึงสุดเส้นหลังในขณะที่กิ๊กส์จะยื่นในตำแหน่งต่ำกว่าบริเวณกึ่งกลางสนาม กลายเป็น แบ็คจำเป็น ไปโดยปริยาย แต่ไม่ได้หมายความว่า กิ๊กส์ทำอย่างนี้ตลอดทั้งเกมส์ เอฟร่าอาจจะไปยืนกลางสนามบ้าง แล้วประคองให้กิ๊กส์ได้กระชาก เคาะสนิมบ้าง
ข้อดี ทำให้ทีมฝ่ายตรงข้ามประกบตัวได้ยาก เพราะทั้งคู่จะชิ่งบอลหนีตัวประกอบตลอดเวลาชนิดจับคนนี้ แต่อีกคนวิ่งขึ้นไปแทนตำแหน่งของอีกคนนึงตลอด ไม่เสี่ยงกับการโดนไล่เตะมากนัก เพราะแบ็คอีกฝั่งไม่รู้จะไปเตะใคร และสามารถดึงตัวมิดฟิลด์ของอีกฝั่งมาช่วยซ้อน ทำให้พื้นที่บริเวณกลางสนามค่อนข้างว่างทำให้เพลย์เมกเกอร์กับกองหน้าเล่นง่ายขึ้น
ข้อเสีย ต้องมีการประสานงานที่ดี และอาศัยระยะเวลาในการฝึกซ้อมเป็นเวลานาน ยกตัวอย่างง่าย ๆ ดาวน์นิ่ง+เอนริเก้ ทั้งคู่ขาดการประสานงานที่ดีเพราะพึ่งมาเล่นด้วยกันและมีเวลาซ้อมเดือนกว่า ๆ ผลก็คืนวิ่งเติมก็วิ่งทั้งคู่ ไม่มีตัวรองบอล ทำให้ลูคัสต้องมาซ้อนคอยตัดฟาลว์ตลอด เลยทำให้ฤดูกาลนี้ลูคัสได้รับใบเหลืองครบ 5 ใบ ไปอย่างรวดเร็ว หรือ แอชลีย์ ยัง กับ เอฟร่า ก็เช่นกัน แต่จะขอไว้อธิบายตอนท้ายๆละกัน
วิงค์แบ็ค กับ ปีกตัดเข้าใน
อันนี้จะเป็นเกมส์ริมเส้นที่น่าจะอันตรายที่สุดในเกมส์ฟุตบอลสมัยนี้ จะครอสบอลก็ได้ จะให้ปีกเข้าฮอสกลายเป็นกองหน้าตัวรอง (Second Forward) ก็ได้ ในทีมที่มีเกมส์รุกระดับโลกต้องมีอย่างน้อยไว้ซักคู่หนึ่ง เช่น คริสติอาโน่ โรนัลโด้ (เท้าขวา) กับ มาเซโล่ (เท้าซ้าย), เมสซี่ (เท้าซ้าย) กับ อัลเวส (เท้าขวา),ริเบรี่ (เท้าขวา) กับ ลาห์ม (เท้าซ้ายและขวา)
จากตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น ทีมที่มีเกมส์รุกระดับโลกก็ต้องมีไว้อย่างน้อย ๆ ซักคู่แหละครับ เพราะจะทำให้การเข้าทำหลากหลายมากขึ้น จะให้แบ็คครอสก็ได้ (ปีกครอสไม่ถนัด เพราะเท้าคนละข้าง) จะตัดเข้าในซัดตู้มเลยก็ได้
วิงค์แบ็ค กับ ปีกตัดเข้าในเป็นที่สุดของความอันตรายของเกมส์ริมเส้น แบ็คสามารถเติมถึงสุดเส้นหลัง ในขณะที่ปีกตัดเข้าไปในกรอบเขตโทษ เพื่อรอจบสกอร์ได้เลย เคยตั้งคำถามไหมครับว่า ใครรับผิดชอบเกมส์รับถ้าตอบว่ามิดฟิลด์ตัวรับลงมาซ้อนแทน ก็ถูกครับ แต่ถูกไม่หมด มิดฟิลด์ตัวรับจะเข้ามาตำแหน่งของแบ็คที่ว่างลงแทน ก็คือยืนเฉียงไปทางที่แบ็คเติมหน่อย ๆ แต่ถ้าจะให้ถูกหมดเลยก็คือแบ็คอีกฝั่งครับ
เคยคิดไหมว่าทำไมเป๊ป กวาดิโอล่า ถึงไม่ซื้อแบ็คจรวดมาอีกข้าง คงจะเติมกันมันส์น่าดูทั้งซ้ายและขวา เป๊ปทำได้ครับ แต่เขาจะสร้างบ่อให้กับทีมขึ้นมาครับ เวลาที่แบ็คเติมเกมส์บุกแล้วลงไม่ทัน เกมส์รับในแผงแบ็คโฟร์จะเหลือ 3 คน นั่นหมายความว่า ถ้าแบ็คอีกฝั่งหนึ่งเติม อีกฝั่งหนึ่งก็จะไม่เติม
สุมมติเพื่อให้เห็นภาพ
อัลเวสเติมเกส์ขึ้นไปจนถึงสุดเส้น แต่ทว่าทีมฝ่ายตรงข้ามตัดบอลแล้วสวนมาทางขวา ทางที่อัลเวสเติมขึ้นมา แล้วนักเตะคนนั้นมีเพื่อนเติมมาอีก 1 คน อย่างแรกที่ต้องผ่านก่อนเลยก็คือ บุสเก็ตที่วิ่งตามลงไปประกบตัวที่หลุด ถัดจากบุสเก็ตก็คือปิเก้ รอซ้อนบุสเก็ตอีกที ถัดจากปิเก้ก็จะเป็นปูโยลเป็นชั้นสุดท้ายในเกมส์รับ ส่วนตัวที่วิ่งเติมส์ขึ้นมารอบอล แบ็คอีกฝั่งคือ (แม็กเวล หรือ อบิดัล )จะประกบชนิด Man to Man เพื่อให้ปูโยลสามารถใช้สมองบัญชาเกมส์รับได้มากที่สุด เป็นเหตุผลอีกอย่างว่าทำไมอัลเวสบุกแล้วไม่จำเป็นต้องห่อตะบึงมาตัดฟาลว์ เพราะยังมีเพื่อน ๆ คอยซ้อนอยู่อย่างน้อย ๆ อีก 3 ด่านเป็นอย่างต่ำ
มาดริดเองก็เช่นกัน มีแบ็คความเร็วทั้งสูงข้าง ทั้งมาเซโล่และรามอส แต่เวลาเติมเกมส์ มาดริดต้องเหลือหลังไว้ 3 คนตลอดเพราะถ้าให้แบ็คทั้งสองข้างเติมพร้อมกัน มันเสี่ยงและโยนภาระให้กองหลังตัวกลางมากเกินไป ชนิดที่ว่าถ้าหลุดมาไม่เสียประตู ก็โดนใบแดง
จะเห็นได้ว่าหน้าที่และไลน์การวิ่งของแบ็คจะค่อนข้างซับซ้อนมาก อาจจะต้องเติมเกส์สูงจนเข้าไปในกรอบเขตโทษ แต่ยังต้องคอยประกบตัวที่หลุดเข้ามากรอบเขตโทษของฝั่งตนเองด้วย เรียกได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ box to box อย่างแท้จริง
แก้ไขเมื่อ 29 ต.ค. 54 14:06:11
จากคุณ |
:
ซะงั้น@ยูไนเต็ด
|
เขียนเมื่อ |
:
29 ต.ค. 54 14:00:59
|
|
|
|