อยากให้ไทยใช่วิธีนี้ในการพัฒนาบอลไทยจัง
|
 |
คือผมเอามาจากเฟสบุ๊ค พี่เข้าอีกทีนะครับเห็นว่ามันมีประโยชน์สำหรับการพัฒนาบอลไทยมาก
เพราะไหนๆ ก็รอกับการพัฒนามานานแล้ว รอต่อไปถ้ามันทีโอกาสประสบความสำเร็จจริงๆ ผมอยากให้ทำจริงๆ
ในฐานะที่เป็นผู้สื่อข่าวฟุตบอล ก็อยากที่จะพูดถึงเรื่องของฟุตบอลบ้างสักครั้ง เนื่องจากวันนี้ได้จัดรายการฟุตบอลเยอรมัน แล้วถึงได้รับทราบจาก พี่โต "ซันเดย์" กูรูบอลเยอรมัน ว่าอันที่จริงแล้ว ฟุตบอลไม่ได้อยู่แค่เรื่องของกุนซือหรือตัวผู้เล่นเท่านั้น หากแต่มันยังรวมไปถึงการบริหารจัดการอย่างจริงจังและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งสมาคมฟุตบอลทีมชาติ, สมาคมฟุตบอลลีกในประเทศ และตัวผู้จัดการทีม
กล่าวคือ ระบบกา...รเล่นของเยอรมัน คือระบบ 4-2-3-1 ที่เราเห็นกันจนชินตานั้น หลายคนอาจยกย่องว่าเป็นการวางหมากอันชาญฉลาดของ โยอัคคิม เลิฟ ผู้เป็นบุนเดสเทรนเนอร์
แท้จริงแล้ว ระบบ 4-2-3-1 นั้น ไม่ได้มาเริ่มต้นในยุคหลังๆ ของทีมชาติเยอรมันอย่างที่หลายคนรวมถึงผมเข้าใจ ที่คิดว่า หมาก เป็นไปตามแผนของกุนซือ แต่ได้ริเริ่มการคิดสูตรการเล่นที่แพร่หลายในเวลานี้มาตั้งแต่จบศึกฟุตบอลโลก 2002 ที่ญี่ป่นและเกาหลีใต้โน่นแล้ว โดยผ่านการวิเคราะห์และทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ว่านี่คือระบบการเล่นที่สมดุลที่สุด และเหมาะกับการยกระดับฟุตบอลของพวกเขา และค่อยๆ ปรับใช้แบบค่อยเป็นค่อยไปนับแต่นั้นมา
จากนั้น ทางบุนเดสลีกาจึงได้เริ่มมีการวางระบบทั้งเพดานค่าเหนื่อยและค่าตัวในการย้ายทีมของนักเตะให้มีความสมดุลมากขึ้น ซึ่งแต่เดิมก็ค่อนข้างมั่นคงและไม่มีการทุ่มเงินบ้าเลือดเหมือนใน ลาลีกา สเปน หรือพรีเมียร์ลีกอยู่แล้ว ทำให้การดึงตัวผู้เล่นดาวดังจากทีมคู่แข่งทำได้ยาก และทางออกของทีมต่างๆก็คือ การพัฒนานักเตะเยาวชนให้สามารถเป็นกำลังหลักของทีมชุดใหญ่ได้ ทุกสโมสรจึงมีดาวดังที่เป็นลูกหม้อของทีมและเป็นดาวเตะท้องถิ่นอยู่มากมาย เช่น บาเยิร์นมี โทนี่ โครส, บาสเตียน ชไวน์สไตเกอร์ เบรเมนก็เคยมี เมซุต โอซิล เช่นเดียวกับที่ ดอร์ทมุนด์ มี สเวน เบนเดอร์, เควิน โกรสครอยซ์, มัทส์ ฮุมเมิ่ลส์ และ กลัดบัค มี มาร์โค รอยส์
ที่สำคัญหลายทีมในวงการลูกหนังเมืองเบียร์ ก็เห็นพ้องต้องกับสมาคมว่าระบบ 4-2-3-1 เป็นระบบที่มีึความสมดุลมาก จึงนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น ไบเออร์ เลเวอร์คูเซ่น, บาเยิร์น หรือ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ และยังประสบความสำเร็จอย่างงดงามจากแผนการเล่นนี้อีกด้วย ส่งผลให้ทีมชาติเยอรมัน มีเนื้อผสมที่กลมกลืน ทั้งกุนซือฝีมือดี, แผนการเล่นที่ดี, ทรัพยา่กรนักเตะที่ดี และที่สำคัญที่สุดคือการจัดทัพที่ง่ายดายขึ้นของกุนซือ เพราะไม่ว่านักเตะจะมาจากทีมไหน ก็สามารถลงล็อกกับแผนการเล่นได้อย่างแนบเนียน เนื่องจากเล่นภายใต้ระบบดังกล่าวมาทุกสัปดาห์ ผลสรุปคือ พวกเขามีทุกอย่างพร้อมแล้วที่จะก้าวไปท้าทายบัลลังก์แชมป์ยุโรปกับสเปน รวมไปถึงฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิลอีกด้วย เพราะอย่าลืมว่า ดาวดังหลายรายของเยอรมัน ล้วนมีอายุน้อยแทบทั้่งสิ้น
เมื่อมองย้อนกลับมาที่เราที่ผลงานทั้งทีมชุดใหญ่และชุดซีเกมส์ยังไม่เข้าขั้น และย่ำอยู่กับที่มากว่าทศวรรศ ฟุตบอลโลกยังไกลเกินกว่าความเป็นจริงไปไหมเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการทำงานของวงการลูกหนังเยอรมัน และถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะเปลี่ยนแปลง นำแบบอย่างที่ดีนี้มา่ใช้กับวงการฟุตบอลไทย เพื่อผลักดันให้ทีมชาติของเราไปไกลกว่าที่เป็นอยู่ น่าคิดนะครับ
credit เป้ง สตาร์ซอคเก้อร์ทีวี
สำหรับผมที่เอามาให้อ่านคือ ผมคิดว่า
ผมไม่ได้สนใจระบบการเล่น
แต่ผมชอบแนวทางการพัฒนาทีมและประเทศที่เป็นระบบเหลือเกิน
เรียกว่า slow but sure ของแท้ คือยอมว่าประเทศอาจจะไม่ได้แชมป์หรือไรเลยในรอบ10 ปีเนี่ย
แต่พอผลผลิตออกผล เยอรมันก็มี ดาวรุ่งที่สุดยอดตอนนี้รวมทั้ง
ระบบแล้วแนวทางการเล่น ที่ทำให้ประเทศสามารถแสดง แล้วสู้กับคู่แข่งอย่างไม่เคอะเขินครับ
แก้ไขเมื่อ 16 พ.ย. 54 23:58:31
จากคุณ |
:
Casebeaw
|
เขียนเมื่อ |
:
16 พ.ย. 54 23:46:57
|
|
|
|