 |
รวมกฎ กติการและพื้นฐานการเล่นฟุตบอล ของหนังสือ สกายบุ๊ก ในกติการข้อที่ 12 ฟาวล์และการระเมิดกติกา ดังนี้(คัดตาม นส.ทุกคำ)โทษโดยตรง การลงโทษด้วยการให้ฟรีคิกโดยตรงจะเกิดขึ้นในการที่ทำฟาวล์ตามกติการทั้ง 6 รายการที่ ผู้ตัดสินพิจารณาแล้วเห็นว่าใช้ความรุนแรง ทำด้วยความตั้งใจ และขาดความยั้งคิด
1. เตะหรือพยายามเตะร่ายกายคู่แข่งขัน 2. ดึงหรือพยายามดึงคู่แข่งขัน 3. กระโดดเข้าใส่คู่แข่งขัน 4. ชาร์จคู่แข่งขัน 5. ผลักคู่แข่งขัน 6. ยิงบอลอัดคู่แข่งขัน การลงโทษโดยตรงจะเกิดขึ้นได้อีกถ้ามีการฟาวล์ใน 4 ลักษณะดังต่อไปนี้ 7. ปะทะคู่แข่งขันเพื่อให้ได้บอลมาครอบครอง โดยเข้าปะทะก่อนที่จะได้บอล 8. กอดคู่แข่งขัน 9. ถ่มน้ำลายใส่คู่แข่งขัน 10. เจตนา ใช้แขนเล่นบอล การตั้งบอลเพื่อเตะโทษทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจะเกิดขึ้น ณ บริเวณจุดที่มีการฟาวล์เกิดขึ้น
การเตะโทษ การเตะโทษเกิดขึ้นหลังจากมีการฟาวล์ใน 10 ลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น ในเขตโทษของตัวเอง
โทษโดยอ้อม เกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นและผู้รักษาประตูทำฟาวล์ในเขตประตู โดยมีลักษณะการฟาวล์ดังต่อไปนี้ 1. ผู้รักษาประตูสัมผัสบอลครั้งที่สองหลังจากปล่อยลูกฟุตบอลจากมือไปแล้ว 2. สัมผัสบอลอีกครั้งหนึ่งหลังจากปล่อยบอลให้เพื่อนร่วมทีมแล้วเพื่อนส่งคืนกลับมา 3. สัมผัสบอลจาการทุมคืนโดยเพื่อนร่วมทีม 4. ถ่วงเวลา 5. ผู้เล่น แสดงท่าทางอันตราย ในการเล่น 6. ขวางการเล่นของคู่แข่งขัน 7. ขวางผู้รักษาประตูไม่ให้ปล่อยบอลหรือเริ่มเกม 8. ทำฟาวล์(ตามข้ออื่นๆ)หลังผู้ตัดสินเป่าหยุดเกม
การคาดโทษ การคาดโทษในเกมฟุตบอลมี 2 วิธี คือ 1. การตักเตือน ซึ่งผู้ตัดสินอาจจะคาดโทษด้วยใบเหลืองก็ได้ 2. ถ้าผู้เล่นยังไม่ยอมปรับปรุงวิธีการเล่นอาจจะโดนใบเหลืองที่สอง ซึ่งเป็นใบแดงให้ออกจากการแข่งขัน หรืออาจจะโดนคาดโทษด้วยใบแดงให้ออกจากการแข่งขันเลย
การคาดโทษด้วยใบเหลือง มี 7 รูปแบบดังนี้ 1. ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา 2. ไม่ยอมรับคำตัดสินทั้งวาจาและท่าทาง 3. พยายามละเมิดกติกาการแข่งขัน 4. หน่วงเหนี่ยวการเล่นเกมใหม่ 5. อยู่ในระยะที่ต่ำกว่า 10 หลา เมื่อมีการเตะมุมและเตะกินปล่าว 6. เข้าสนามแข่งโดยไม่ได้รับอนุญาต 7. พยายามออกจากสนามโดยไม่ได้รับอนุญาต
การคาดโทษด้วยใบแดง มี 7 รูปแบบดังนี้ 1. ทำฟาวล์อย่างรุนแรง 2. ผิดระเบียบวินัยนักเตะอย่างรุนแรง 3. ถ่มน้ำลายใส่ร่างกายคู่แข่งขันหรือว่าคนอื่นๆ 4. เจตนาใช้แขนปัดบอล กรณีที่คู่แข่งขันส่งบอลข้ามเส้นประตู เช่นเดียวกับผู้รักษาประตูที่ใช้แขนปัดบอลนอกเขตประตูของตัวเอง 5. ขัดขวางการเข้าไปทำประตูของคู่แข่งขัน หรือในจังหวะที่มีการยิงจุดโทษ 6. ใช้ภาษาที่หยาบคาย ด่าคู่แข่งขัน เพื่อนร่วมทีมหรือผู้ตัดสิน 7. ถูกคาดโทษด้วยใบเหลืองมาก่อนแล้ว 1 ใบ
กติกาการล้ำหน้า
ตำแหน่งล้ำหน้า เกิดขึ้นเมื่อ 1. ผู้เล่นอยู่ใกล้กับเขตประตูคู่แข่งขัน มากกว่าบอลที่กำลังเล่นและกองหลังตัวสุดท้าย 2. ผู้เล่นอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า เกี่ยวข้องกับเกม 3. ผู่เล่นอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า เกี่ยวข้องกับคู่แข่งขัน 4. ได้เปรียบจากการยืนในตำแหน่งล้ำหน้า ข้อ 2, 3 และ 4 ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ตัดสินตำแหน่งไม่ล้ำหน้า เกิดขึ้นเมื่อ 1. ผู้เล่นอยู่ในแดนตัวเอง 2. ผู่เล่นอยู่ในระดับเดียวกันกับกองหลังตัวสุดท้าย 3. ผู่เล่นอยู่ในระดับเดียวกันกับกองหลังสองคนสุดท้าย 4. รับบอลจากการแตะจากเส้นประตูตัวเอง 5. การทุ่ม
วันอังคารที่ 31 มกราคม 2555 พรีเมียร์ลีก 02.45 น. สวอนซี ซิตี้ - เชลซี 02.45 น. สเปอร์ส - วีแกน 02.45 น. วูล์ฟแฮมป์ตัน - ลิเวอร์พูล 03.00 น. แมนฯ ยูไนเต็ด - สโต๊ค 03.00 น. เอฟเวอร์ตัน - แมนฯ ซิตี้
คอลัมน์ คุยกันวันเสาร์กับหมอไพศาล ขอนำเสนอเรื่องราวที่ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องพื้น ๆ สัปดาห์นี้ คอลัมน์ คุยกันวันเสาร์กับหมอไพศาล ขอนำเสนอเรื่องราวที่ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องพื้น ๆ ที่ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักกีฬา ถือเป็นเรื่องปกติที่ได้พบเห็นบ่อย รวมทั้งมีประสบการณ์ข้อเท้าแพลงด้วยตนเองมาแล้วในอดีต แต่ท่านเชื่อหรือไม่ว่า แม้แต่นักกีฬาในระดับสุดยอดของประเทศ เช่น นักกีฬาทีมชาติในบางประเภทกีฬา ยังไม่มีความเข้าใจที่ถ่องแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันไม่ได้เกิดข้อเท้าแพลง ก็ไม่ได้มีการทำการป้องกันตามมาตรฐานที่ควรจะทำ ดังนั้นจึงนำมาซึ่งการบาดเจ็บ ต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป ต้องเสียโอกาสของตนเอง หากเป็นตัวจริงของทีมที่จะลงสนามแสดงความสามารถ หรือเลวร้ายที่สุด ต้องผ่าตัดเย็บซ่อมเอ็นยึดข้อเท้า อาจต้องใช้เวลามากกว่า 4-5 เดือนขึ้นไปกว่าจะเริ่มลงมือซ่อมได้ แล้วอะไรจะเกิดขึ้นอีกกับนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บนั้น ท่านลองนึกเอาเองดูก็แล้วกัน
สำหรับบทความใดที่นักกีฬาต้องอ่านเพราะเป็นประโยชน์ ผมจะขอใส่หมายเหตุต่อท้ายชื่อเรื่องไปเรื่อย ๆและกำกับด้วยเลขเอาไว้ เพราะผมทราบว่ามีนักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกาย สนใจที่หาความรู้จากบทความของเดลินิวส์เป็นจำนวนมาก
ส่วนประกอบของข้อเท้า
ข้อเท้ามีกระดูก 3 ชิ้นหลักมาประกอบกันเป็นข้อเท้า จากส่วนล่างของกระดูกขาและหน้าแข้งลงมา คือกระดูกทิเบีย (TIBIA) ลงมาเป็นตาตุ่มด้านในและกระดูกฟิบูล่า (FIBULA) ลงมาเป็นตาตุ่มด้านนอก มาประกอบกันเป็นข้อต่อกับกระดูกทาลัส (TALUS) เป็นข้อเท้า (ANKLE JOINT) ดูภาพเอกซเรย์ประกอบและรอบ ๆ ข้อต่อทั้งด้านตาตุ่มในและตาตุ่มนอก จะมีเอ็น (LIGAMENT) ยึดกระดูกเหล่านี้ให้แข็งแรง ไม่หลุดออกจากกัน แต่ถ้าหากเกิดการพลิกเกิดขึ้นอย่างรุนแรง เอ็นที่ยึดกระดูกเหล่านี้ จะมีการฉีกขาด (TEAR OF LIGAMENT) มีเลือดไหลออกมา เกิดอาการบวม ฟกช้ำ เจ็บปวดจนเดินไม่ปกติ ฉีกขาดมากบวมมาก ฉีกขาดน้อยบวมน้อย ใช้เวลารักษามากน้อยแตกต่างกันออกไป บางรายต้องเข้าเฝือก บางรายใช้เทปยึด บางรายต้องผ่าตัดเย็บซ่อมเอ็น
การรักษาเบื้องต้น ใช้หลักการของ R.I.C.E. ดังนี้
1. R = REST หยุดเล่นกีฬานั้น อย่าฝืนเล่นต่อไปถ้าหากมีอาการเจ็บปวด
2. I = ICE ใช้ความเย็นประคบตำแหน่งที่ปวด เพื่อให้เลือดออก หรือบวมน้อยที่สุด โดยเฉพาะในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังบาดเจ็บ
3. C = COMPRESSION ใช้ผ้ายึดพันข้อเท้า เพื่อลดการออกของเลือด ลดความเจ็บปวดเวลาขยับข้อเท้า ทำให้เท้าบวมน้อยลง หายได้ไวขึ้น
4. E = Elevation ยกปลายเท้าให้สูงขึ้น วางบนหมอน เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดของเท้าดีขึ้น จะทำให้การบวมของเท้าลดน้อยลง
หากมีอาการรุนแรง ปวดมาก บวมมาก ฟกช้ำจนผิวหนังเขียวคล้ำมาก ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
การป้องกัน (สำคัญมาก ๆ)
ตามที่ผมเกริ่นเอาไว้ว่า ข้อเท้าแพลงนั้นท่านสามารถป้องกันได้ แม้นว่าจะไม่ 100% แต่ก็จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบา วิธีการป้องกันก็คือการล็อกข้อเท้าด้วยเทป (ANKLE TAPING) ซึ่งต้องทำให้ถูกต้องตามหลักการ มีนักกีฬาชั้นนำระดับทีมชาติหลายท่าน ที่ทำการล็อกข้อเท้าด้วยวิธีของตนเอง ซึ่งเมื่อดูแล้วไม่เพียงพอที่จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้
ตามรูปที่แสดงไว้ เป็นเพียง 1 วิธีเท่านั้นที่ท่านอาจเลือกใช้ได้ โดยพันเทปรอบ ๆ ขา เหนือข้อเท้าประมาณ 3-4 นิ้วก่อน แล้วให้ข้อเท้าอยู่ในแนวตั้งฉาก พันเทปล็อกข้อเท้าให้อยู่ในตำแหน่งนี้ 1 ครั้ง ตามรูป แล้วทำตามรูป 1-5 ต่อไปใช้เทปล็อกข้อเท้าให้เหลื่อมกับเทปชุดแรกด้านหน้าครึ่งหนึ่งจนครบรอบ แล้วเหลื่อมเทปชุดแรกไปทางด้านหลังครึ่งหนึ่ง ก็จะได้การล็อกครบถ้วนรอบข้อเท้าพอดี
ผมไม่หวังว่าท่านผู้อ่านจะทำได้คล่องจากการอ่านและดูรูปจากบทความนี้เท่านั้น ผมต้องการเพียง 2 ประการ จากการที่ท่านได้อ่านบทความมาจนถึงตรงนี้ คือ
1.ท่านเห็นความสำคัญของการป้องกันข้อเท้าแพลง เพราะการบาดเจ็บจากข้อเท้าแพลง ส่งผลเสียอย่างมากแก่ชีวิตการเล่นกีฬา
2. ท่านสนใจที่จะเริ่มล็อกข้อเท้าของท่านอย่างถูกวิธี โดยท่านสามารถสอบถามจากผู้รู้ที่อยู่ใกล้ตัวท่าน และฝึกปฏิบัติจนเป็นนิสัยก่อนการฝึกซ้อมและเล่นกีฬาที่ท่านชื่นชอบ
จากคุณ |
:
ทุ่งเกวียน
|
เขียนเมื่อ |
:
7 ก.พ. 55 18:23:09
|
|
|
|
 |