วิบากกรรม "โค้ชไทย" กับความล้มเหลวสมาคมฟุตบอลฯ
|
 |
รู้กันหรือไม่ว่า ?
นับ ตั้งแต่ที่มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยขึ้นมาในปี 2459 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปัจจุบันในปี 2555 ได้มีการบันทึกเอาไว้ว่าทีมฟุตบอลชาติไทยชุดใหญ่ของเราได้ใช้โค้ชไปแล้วทั้ง สิ้น 21 คน โดยเป็นโค้ชชาวไทย 10 คน และเป็นโค้ชชาวต่างชาติ 11 คน !
ดู จากจำนวนโค้ชชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามารับหน้าที่กุมบังเหียนทีมชาติไทย ตลอดระยะเวลา 96 ปีที่ผ่านมาแล้ว มันสะท้อนให้เห็นว่า "สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย" ให้ความเชื่อมั่นในฝีไม้ลายมือของโค้ชฝรั่งตาน้ำข้าวมากกว่าโค้ชสัญชาติไทย ไม่เช่นนั้นทีมชาติไทยของเราคงไม่มีโค้ชเทศเข้ามาคุมเยอะขนาดนี้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ทีมชาติไทยได้ใช้บริการของโค้ชอิมพอร์ตไปถึง 6 ใน 8 คนเลยทีเดียว
ใน ช่วงหลัง ๆ มานี้ไม่ค่อยเลือกใช้โค้ชชาวไทย เพราะถ้าพูดถึงโค้ชที่พาทีมชาติไทยไปได้ไกลและใกล้คำว่าฟุตบอลโลกมากที่สุด ก็คงจะหนีไม่พ้น "ปีเตอร์ วิธ" โค้ชสัญชาติอังกฤษที่เคยพาทีมช้างศึกเข้าป้ายอันดับ 4 ฟุตบอลเอเชี่ยนเกมส์ ถึง 2 ครั้ง (1998, 2002) และสร้างประวัติศาสตร์พาทีมชาติไทยทะลุเข้าไปถึงรอบ 10 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือกโซนเอเชีย แม้ว่าท้ายที่สุดจะไปไม่ถึงฝัน แต่ก็นับว่าไกลสุดแล้วของทีมชาติไทย
ดัง นั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยที่สมาคมฟุตบอลฯจะเลือกใช้บริการโค้ชชาว ต่างชาติมากกว่าชาวไทย แม้ว่าเมืองไทยจะมีโค้ชเก่ง ๆ อยู่มากมาย และหลายครั้งหลายหนที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าผลงานของโค้ชตาน้ำข้าว ที่สมาคมฟุตบอลฯเลือกมาก็ทำผลงานไม่ได้ดีกว่าโค้ชคนไทยของเราสักเท่าไหร่เลย
และจากการที่สมาคมฟุตบอลฯมีทัศนคติและความเชื่อมั่นในตัวของ
"โค้ช เทศ" มากกว่า "โค้ชไทย" นี้เอง ก็ได้นำมาสู่การเลือกปฏิบัติที่แฟนบอลชาวไทยหลาย ๆ คนยังไม่รู้ นั่นก็คือ "การเซ็นสัญญา" อย่างเป็นทางการกับโค้ชไทย
แน่นอนว่าหลายคนที่ ติดตามข่าวสารในวงการฟุตบอลไทยมาตลอด คงไม่มีใครเคยเห็นข่าว "ไทยดึงโค้ชหรั่งคุมทีมชาติเซ็นสัญญา 3 ปี" "น้าชัชจ่อเซ็น 4 ปีคุมทีมชาติไทย" หรือ "สมาคมดึงโค้ชเฮงคุมทีมชาติ พร้อมสัญญา 3 ปี"
เพราะ จากการที่ประชาชาติ ธุรกิจได้เคยพูดคุยกับอดีตโค้ชและสตาฟโค้ชทีมชาติไทยหลาย ๆ คนในช่วงที่ผ่านมา ทุกคนต่างก็พูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่า "ไม่เคยมีการเซ็นสัญญาเกิดขึ้นกับโค้ชคนไทยเลยแม้แต่ครั้งเดียว"แถมยังมี เสียงบ่นตามมากันอยู่ร่ำๆตลอดเวลาว่าการเบิกจ่ายค่าตอบแทนของโค้ชหรือสตา ฟโค้ชไทยไม่เคยตรงเวลาจ่ายบ้างไม่จ่ายบ้างอยู่เสมอๆ
โดย "น้าอำ-อํานาจ เฉลิมชวลิต" กองหลังระดับตำนานของไทยที่เคยรับหน้าที่เป็นหนึ่งในสตาฟโค้ชทีมชาติไทย ยอมรับว่า "ตอนที่มาเป็นสตาฟให้ทีมชาติตอนนั้นก็ไม่ได้เซ็นสัญญาแต่แบบให้สัญญาใจกัน เฉย ๆ คนที่อยากทำงานเพื่อชาติอย่างเราก็เต็มใจมาทำอยู่แล้ว ส่วนเรื่องค่าตอบแทนเขาให้มาเท่าไหร่เราก็เอาเท่านั้น"
ฟังตำนานทีม ชาติไทยอย่างน้าอำพูดถึงเกียรติยศในการทำงานให้ทีมชาติไทยแล้ว เชื่อว่าผู้อ่านหลาย ๆ คนก็น่าจะพอรู้สึกได้เลา ๆ แล้วว่าคงไม่มีนักเตะหรือโค้ชชาวไทยคนไหนที่ไม่อยากทำงานให้ทีมชาติไทย แม้ว่าพวกเขาจะได้ค่าตอบแทนที่น้อยนิดและไม่ค่อยตรงตามเวลาก็ตาม
แต่ มันจะเป็นการดีกว่าหรือไม่ หากสมาคมฟุตบอลฯจะพัฒนาตัวเองให้มีความเป็นมืออาชีพแบบที่สมาคมฟุตบอลอื่น ๆ ที่พัฒนาแล้วทั่วโลกทำกัน ด้วยการยอมให้สัญญาแบบเป็นกิจจะลักษณะกับโค้ชไทยและดูแลการเบิกจ่ายค่าตอบ แทนของบรรดาโค้ชหรือสตาฟโค้ชชาวไทยให้ตรงเวลา ไม่ค้างคาอย่างที่โค้ชหลายๆ คนที่เคยทำงานกับทางสมาคมฟุตบอลฯบ่นกัน
"น่าแปลกใจมากที่ทางสมาคม ฟุตบอลฯไม่เคยเซ็นสัญญากับโค้ชไทย แต่พอเป็นโค้ชต่างชาติกลับยอมยื่นสัญญาให้ เงินเดือนก็ออกตรงตามเวลามีให้ทุกอย่าง ทั้งเงินเดือน, บ้านพัก, รถยนต์ ต่างจากโค้ชไทยที่นอกจากสัญญาจะไม่ได้แล้ว เงินเดือนยังออกไม่ตรงตามเวลาต้องรอให้ไปทวง" โค้ชแต๊ก-อรรถพล บุษปาคม กุนซือทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ที่เคยเข้าไปสวมหัวโขนเป็นผู้ช่วยของ "ไบรอัน ร็อบสัน" เปิดเผยให้เราฟัง
ทางด้านของ โค้ชเฮง-วิทยา เลาหกุล กุนซือของทีมชลบุรี เอฟซี และอดีตโค้ชทีมชาติไทยชุดใหญ่ ก็เล่าให้ฟังในทำนองเดียวกันว่า "ความจริงแล้วใคร ๆ ก็อยากเข้ามาทำงานให้ทีมชาติเพราะมันเป็นเกียรติ แต่พอสมาคมฟุตบอลฯไม่ยอมยื่นสัญญาลายลักษณ์อักษร มีแต่สัญญาปากเปล่า แถมจ่ายเงินไม่ตรงเวลาแบบนี้ ใครที่ไหนจะอยากเข้ามาทำ"
มาจนถึงตรง นี้เพราะติดขัดเรื่องงบประมาณหรือไม่นั้น คงไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะปีๆ หนึ่งสมาคมฟุตบอลฯได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลมากถึง 300 ล้านบาทต่อปี นี่ยังไม่รวมถึงเงินจากสปอนเซอร์ต่างๆ ที่เข้ามาสนับสนุนด้วยเม็ดเงินหลายสิบล้านจนสามารถทุ่มเงินละลายแม่น้ำจ้าง โค้ชชื่อดังชาวต่างชาติมาร่วมงานทำงานแบบล้มเหลวในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา
ใน เมื่อสมาคมฟุตบอลฯมีเงินมากถึงขนาดนี้ แล้วทำไมถึงไม่ยอมเซ็นสัญญากับโค้ชไทยและจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ไม่ตรงเวลาแบบ นี้ หรือด้วยเหตุผลอะไรกันแน่ ซึ่งตอบไม่ได้ แต่อย่างน้อยไปฟังการตั้งข้อสังเกตของโค้ชเฮงสักเล็กน้อย
"สมัยที่ผม ยังคุมทีมชาติไทยอยู่ก็ได้เงินไม่ตรงเวลาเหมือนกัน และพอดีมีเพื่อนอยู่ในคาลเท็กซ์ซึ่งเป็นสปอนเซอร์ให้กับทีมชาติไทยปีๆ หนึ่งก็ 50-60 ล้านบาท เขามาบอกกับผมว่า "สมาคมจะเข้ามาเบิกเงินค่าจ้างโค้ชทุกเดือน เดือนละ 7 หมื่นบาทไม่เคยขาด" แน่นอนว่าผมได้ไม่ตรงเวลา แต่ที่ผมสงสัยคือผมได้ค่าจ้างโค้ชแค่ 4 หมื่นบาท แล้วเงินหายไปไหนอีก 3 หมื่น หรือว่าตรงนี้จะเกิดการคอร์รัปชั่น
กันในสมาคม" โค้ชเฮงตั้งข้อสงสัย
แน่ นอนว่าเราอาจจะไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แต่ข้อหนึ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ นั่นคือโค้ชไทยนอกจากไม่ได้รับสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ยังได้รับค่าตอบแทนไม่ตรงเวลาแถมยังค้างอยู่หลายเดือน
หากสมาคมฟุตบอลฯต้องการลบข้อครหา สิ่งแรกที่ควรทำคืิอ การ
พัฒนาให้เกิดความเป็นมืออาชีพมากกว่านี้ ไม่ใช่บริหารกันไปวัน ๆ แบบไร้การพัฒนา จนหลายคนต้องร้อง "ยี้"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1335276927&grpid=03&catid=&subcatid=
จากคุณ |
:
JJ@CM
|
เขียนเมื่อ |
:
25 เม.ย. 55 12:16:24
|
|
|
|