3. ทางอินเตอร์เน็ต: เล่าย้อนไปหน่อยดีกว่า ในปีพุทธศักราช 2540 ตอนนั้นผมอยู่ ม.2 และทุกคนในโรงเรียนกำลังตื่นตาตื่นใจกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ตได้เป็นเครื่องแรกของโรงเรียนซึ่งประดิษสถานอยู่ ณ ห้องที่มีชื่อว่า ศูนย์การศึกษาด้วยตนเอง ที่ไม่มีใครอยากไป นอกจากไปนอน (555) ตอนนั้นเด็กอย่างผมไม่รู้หรอกว่าอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างไร เขาบอกว่าอินเตอร์เน็ตดี ก็ว่าดี ผมจำได้ว่า เว็บไซต์ที่เข้าเว็บแรกของผม คือ Hotmail ซึ่งความเร็วของอินเตอร์เน็ตสมัยนั้นช้าบรม...คุณนั่งไปอีก 5 นาทีก็ยังโหลดหน้าแรกไม่ครบ พอเริ่มใช้อินเตอร์เน็ตจนคล่อง กอปรกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ความเร็วเพิ่มขึ้น ผมก็ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความรู้มากขึ้น สมัยนั้น google ยังไม่มี เพราะฉะนั้น search engine ที่ดีที่สุดสมัยนั้น คือ yahoo ซึ่งคุณภาพในการค้นหา...อืม...อยากจะเขวี้ยงก้อนหินใส่หน้าคอม อย่างเช่น...
ผมชอบรถใหญ่ครับ...รถบรรทุก รถโดยสารพรรค์นั้น...พวกรถเบนซ์โดยสาร รุ่นปั๊ดดาเน่...สแกเนีย...มิตซูบิชิ ฟูโซ่...อะไรแบบนั้นแหละ...ผมอยากจะดูแชสซี การขึ้นรูปประกอบตัวถังรถ ฯลฯ เคยพิมพ์หาโดยใช้คำว่า Japanese Bus Body ปรากฏว่า...มันขึ้นมาเป็นรูปโป๊เฉย... มันคงคิดว่า Japanese Body and Bust อะไรแบบนั้นแหงๆ ดังนั้น สมัยนี้มี google ถือว่าโชคดีมากๆแล้วครับ
สมัยนั้นบ้านใครมีอินเตอร์เน็ตของ Telecom Asia ถือว่าโครตเทพมากๆเลย และเพื่อนผมก็มีเน็ตของเทเลคอมครับ ไวมาก...เว็บฟุตบอลญี่ปุ่นที่ผมได้สัมผัสเป็นที่แรก คือ www.j-league.or.jp สมัยนั้น อินเตอร์เฟซไม่ได้มีลูกเล่นมากเท่าสมัยนี้นะครับ ยิ่งหน้าภาษาอังกฤษแล้วไปกันใหญ่ แทบไม่มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์สักเท่าไหร่เลย ข้อมูลที่มีประโยชน์จริงๆในหน้าภาษาอังกฤษ คือ รายชื่อนักเตะกับสนามฟุตบอลครับ
ผมเคยปรินท์ชื่อนักฟุตบอลมานั่งท่อง...พ่อผมเห็นครับ ท่านเข้าใจผิด หาว่าผมติดพนันบอล...โธ่...พ่อครับ สมัยนั้นใครเขารับแทงบอลญี่ปุ่นกัน (แต่สมัยนี้ไม่แน่ ลีกไซปรัสยังมีเรตเลย 555) จนกระทั่ง ผมคลิ๊กลิงค์มั่วๆจนไปติดที่ www.j-ole.jp และได้เปลี่ยนชื่อโดเมนเป็น www.jsgoal.jp ...นี่แหละครับ...สวรรค์เลย เพราะที่นี่เป็นเว็บสื่อกลาง มีทั้งรูปภาพ คลิปวีดีโอ ทุกอย่างมีในนี้หมด และการดูผ่านเน็ตเทเลคอมเป็นอะไรที่สุขใจมาก เพราะสามารถดูคลิปไฮไลท์ที่ทางผู้จัดทำได้ตัดต่อมาอย่างต่อเนื่อง
4. ทางเกม Play Station I Winning Eleven J.League หากคุณจำกันได้ในเกม Winning Eleven ผมว่าต้องมีแหละ...คนที่นั่ง Edit ชื่อนักฟุตบอลให้เป็นภาษาอังกฤษ และทีมชาติญี่ปุ่นจะเป็นทีมเดียวที่ใช้ตัวอักษรคันจิ นอกนั้น ทีมอื่นจะเป็นตัวอักษรคาตาคานะ ตัวอักษรคันจิตัวแรกที่ผมรู้จัก ไม่ใช่ หนึ่ง สอง หรือ สาม นะครับ แต่เป็นตัว โมริ ที่แปลว่า ป่า มาจากชื่อของเรียวโซ่ โมริโอกะ กองหลังทีมชาติญี่ปุ่นหมายเลข 4
จุดเริ่มต้นแห่งความสนใจก็อยู่ที่ตรงนั้นแหละครับ ชื่อของนักบอลแต่ละคนคือใคร ฝีเท้าเป็นอย่างไร ทำไมนักฟุตบอลนามสกุล มิอูระ มีสองคนในทีม (เพราะอัตซึฮิโร่เล่นกองกลาง ส่วนคาซูโยชิเล่นกองหน้า ฯลฯ) นักเตะในคลังสำรองของทีมชาติญี่ปุ่น และทีมโอลิมปิคที่ซิดนีย์มีใครบ้าง ฯลฯ ไม่นานนัก Konami ก็ได้ออก Winning Eleven J-League 98-99 เป็นวินนิ่งขวัญใจขาโหด เพราะเสียบแรงๆไม่ฟาวล์ แต่ถ้าแซะบอลปกติจะใบแดง เออ...แปลกดี และก็เกม Perfect Striker เกมพวกนี้นี่แหละครับ เนื้อหาเจลีกล้วนๆ และช่วง Intro theme และ Ending theme ของเกมพวกนี้จะมีไฮไลท์เจลีกให้ดู....ตื่นตาตื่นใจมากสำหรับผม เกิดข้อสงสัยหลายอย่าง อาทิ
กองหลังเบอร์ 4 ทีมเสื้อเขียวๆที่เท้าหนักๆนี่ใครกันหว่า (เคลาดิโอของเบลล์มาเร่) กองหน้าญี่ปุ่นของวิสเซล โกเบที่หน้าเหมือนพวกเซอร์เบียนี่ใครกัน (อากิฮิโร่ นางาชิม่า) โห...กองหน้าเบอร์ 13 ของจูบิโล่ วิ่งเร็วเหมือนโอคาโนะเลย ใครกันนะ (โนบุโอะ คาวางูจิ)
เป็นต้น
จากคุณ |
:
MoMo says
|
เขียนเมื่อ |
:
27 ส.ค. 55 20:04:57
|
|
|
|