ประวัติ เอลกาซิโก้ จะรู้ว่ารีลมาดริดกับบาซ่าทำไมถึงเกลียดกันนักหนา
ตอนที่1
แทบจะกลายเป็นประเพณีของเว็บไซต์ของบาร์เซโลน่าแฟนคลับในประเทศไทยไปแล้ว เมื่อการฟาดแข้งของสองสโมสรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกต้องโคจรมาพบกัน จะต้องมีบทความเอล กลาสิโก้ เพื่อเรียกน้ำย่อยและให้ความรู้กับแฟนๆเสมอทุกครั้งไป น้อยคนนักในประเทศไทยที่จะรู้ความเป็นมาของฟุตบอลคู่นี้อย่างลึกซึ้ง จึงขอให้ตั้งใจอ่านอย่างดีเพื่อจะได้ความรู้และเพิ่มอรรถรสในการชมฟุตบอลคู่ หยุดโลกนี้
คำว่า “เอล กลาสิโก้” ได้ถูกบัญญัติมานานแล้ว และถูกขนานนามแทนการพบกันระหว่าง บาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด สองทีมตัวแทนจากแคว้นกาตาลุนย่า และ กาสตีย่า แน่นอนที่สุดหากใครเป็นคอบอลพันธุ์แท้ย่อมรู้ว่าฟุตบอลเกมนี้ยิ่งใหญ่กว่า ทีมคู่อริในหลายๆประเทศมาพบกัน ด้วยเหตุที่ว่าเกมฟุตบอลคู่นี้มีเดิมพันที่ไม่ใช่ตัวเงิน และเป็นการเดิมพันธุ์ที่มีค่ามากกว่าศักดิ์ศรี แต่มันหมายถึงการเดิมพันธุ์ด้วยชาติกำเนิด การเมือง วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ที่ล้วนแต่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและลึกซึ้งเป็นอย่างมาก
ในอดีตนั้น แคว้นกาตาลุนย่า ซึ่งมีบาร์เซโลน่าเป็นเมืองหลวง ได้ถูกทั้งฝรั่งเศส และ สเปน ข่มเหงมาโดยตลอด แต่ก็พยายามต่อสู้ยืนหยัดจนมีทุกวันนี้ได้ ปัจจุบันแคว้นกาตาลุนย่าก็ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลสเปน ให้มีรัฐบาลท้องถิ่นที่สามารถปกครองตนเองได้
คำว่า “กาตาลุนย่า” ก็อาจถือเป็นความขัดแย้งได้เช่นกันระหว่างแคว้นกาตาลุนย่า และ กาสตีย่า ที่มีมาดริดเป็นเมืองหลวง คำว่า “กาตาลุนย่า” ซึ่งเป็นภาษากาตาลันนั้น มีการสันนิษฐานว่ามีรากศัพท์และความหมายเดียวกับ “กาสตีย่า” ซึ่งแปลเป็นไทยแล้วหมายความว่า “เมืองแห่งคฤหาสน์” ซึ่งทำให้พอรู้ได้ว่าในอดีตทั้งสองแคว้นก็มีความเจริญรุ่งเรืองมานานแล้ว
ใน ปี 1928 สมาชิกผู้ก่อตั้งฟุตบอลลีกของสเปน จำนวน 10 ทีม ได้เริ่มแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสเปน และก็เป็นบาร์เซโลน่าที่คว้าแชมป์ไป นั่นก็เป็นการคว้าแชมป์ในรายการที่ใหญ่ที่สุดในแผ่นดินสเปนของทีมที่ก่อตั้ง มานับแต่ปี 1899 หลังจากนั้นก็เป็นการเรืองอำนาจของแอธเลติก บิลเบา ทีมที่เก่าแก่ในลา ลีกาที่ฟาดแชมป์เป็นว่าเล่น
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ไม่คาดฝันของโลกก็เกิดขึ้นเมื่อเกิดสงครามการเมืองของสเปน และก็เป็นฝ่ายเผด็จการของนายพลฟรังโก้ที่ได้ครองอำนาจไป นับแต่ยุคเรืองอำนาจของนายพลฟรานซิสโก้ ฟรังโก้ อดีตผู้นำเผด็จการของสเปน ก็เป็นยุคที่มีการจุดประกายให้ฟุตบอลคู่นี้ดุเดือดเป็นต้นมา เนื่องจากบาร์เซโลน่าถูกนายพลฟรังโก้จ้องทำลายนับแต่ได้เรืองอำนาจภายใต้ นโยบาย “สเปนหนึ่งเดียว” นโยบายนี้ได้พยายามรวมหลายแคว้นให้หลายเป็นสเปนเดียว โดยมุ่งให้แคว้นกาสตีย่าเป็นแดนสวรรค์ แต่นโยบายที่เดินไปผิดทางที่นำหน้าด้วยการกดขี่ข่มเห่งประชาชน การละเมิดสิทธิต่างๆ รวมทั้งการห้ามพูดภาษาท้องถิ่นและห้ามให้ธงประจำแคว้น ทำให้ 2 แคว้นที่มีความเป็นชาตินิยมสูงอย่าง กาตาลุนย่า และ บาสก์ ได้พยายามต่อสู้มาโดยตลอด จนกระทั่งการต่อสู้จบลงด้วยสิ้นลมของนายพลฟรังโก้ และการอัญเชิญกษัตริย์ฮวน การ์ลอส ขึ้นครองราชย์
เหตุการณ์จุดชนวน ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1936 เมื่อโฆเซป ซูโยล อดีตประธานสโมสรของบาร์เซโลน่า ถูกลูกสมุนในกองทัพของนายพลฟรังโก้ลอบสังหาร นั่นเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้แฟนฟุตบอลสะเทือนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้นายพลฟรังโก้ได้แต่งตั้งคนใกล้ชิดเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร บาร์เซโลน่าเพื่อที่จะทำลายสโมสรฟุตบอลแห่งนี้ จนเกือบทำให้สโมสรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้เกือบล้มละลายเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์สโมสร อย่างไรก็ตามคนสนิทของนายพลฟรังโก้ก็ทนแรงกดดันของชาวกาตาลุนย่าไม่ไหว ยอมหลีกทางให้กับเอนริค ปีเนย์โร่ เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน สำหรับชื่อของคนสนิทนายพลฟรังโก้นั้นในอดีตสโมสรเคยจารึกชื่อไว้ว่าดำรง ตำแหน่งประธานสโมสร แต่ปัจจุบันได้มีการลบทิ้งไปแล้ว ส่วนปัญหาการเงินของบาร์เซโลน่าในเวลานั้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศ เม็กซิโกทำให้รอดพ้นวิกฤตทางการเงินคราวนั้น ทุกวันนี้บาร์เซโลน่าก็ยังไม่ลืมบุญคุณของชาวเม็กซิกัน
ในแง่ของการย้ายทีมจากบาร์เซโลน่าไปเรอัล มาดริด จากประวัติศาสตร์แล้ว มีนักเตะเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ชาวเบลากราน่ายังอ้าแขนต้อนรับอยู่ แม้ว่าจะย้ายไปอยู่กับเรอัล มาดริด ที่แฟนบอลทีมอื่นต่างตราหน้าว่าเป็น “ทีมรัฐบาล” เนื่องจากนายพลฟรังโก้พยายามทำทุกวิถีทางที่ทำให้เรอัล มาดริด ได้แชมป์ลา ลีกา นักเตะคนเดียวที่ว่านั้นคือ โฆเซป ซามิติเอร์ อดีตมิดฟิลด์ ที่ถูกรัฐบาลของนายพลฟรังโก้ทรยศหลังจากย้ายไปเรอัล มาดริด ด้วยการเนรเทศไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นโฆเซป ซามิติเอร์ ก็ได้กลับมาช่วยบาร์เซโลน่าด้วยการทำหน้าที่ผู้จัดการทีมในช่วง 1944-1947 รวมทั้งเป็นแกนนำในการพาตัวลาดิสเลา คูบาล่า ตำนานของบาร์เซโลน่าให้มาค้าแข้งในรั้วเลือดหมู-น้ำเงิน
เด๋วมีต่อค่ะ -.-
จากคุณ |
:
RabbitOhiO
|
เขียนเมื่อ |
:
14 ก.ย. 55 14:59:13
|
|
|
|