ความคิดเห็นที่ 12
คลื่นไมโครเวฟมีความถี่ 2450 เมกะเฮิร์ตซ เป็นความถี่ที่ผู้ผลิตเตาไมโครเวฟทดสอบแล้วว่า สามารถชอน ไชเข้าไปในอาหารได้ดีที่สุด (ความจริงคลื่นไมโครเวฟความถี่อื่นก็สามารถทำให้อาหารร้อนได้เหมือนกัน) เมื่อ เราคิดคำนวณขนาดความยาวของคลื่นจะได้ประมาณ 12 เซนติเมตรเศษ ๆ ถ้าเราสังเกตให้ดี ท่อนำคลื่นจะมี ขนาดกว้างไม่เกิน 6 เซนติเมตร ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่นที่ใช้งาน จะทำให้การถ่ายทอดคลื่นออกสู่ ภายในตู้ได้ดีที่สุด และคลื่นจะสามารถถ่ายทอดกำลังงานได้ดีที่สุดอีกที่คือ ที่ความยาวหนึ่งในสี่ของความยาว คลื่น ในที่นี้ประมาณ 3 เซนติเมตร นั่นย่อมหมายความว่า หากช่องเล็กกว่า 3 ซม.คลื่นไมโครเวฟไม่สามารถ ถ่ายทอดกำลังงานออกไปได้ หากท่านไม่เชื่อพิสูจน์ได้ด้วยต้วท่านเอง โดยหาภาชนะที่มีความกว้างคูณยาวคูณ สูงไม่เกิน 2.5 ซม.(ใช้กระดาษพับเอาได้) แล้วใส่น้ำนำไปวางไว้ในตู้ของเตาไมโครเวฟ พร้อมกับแก้วที่ใส่น้ำ อีกใบ(กันเตาไม่มีโหลด) ตั้งกำลังงานสูงสุด ใช้เวลา 1 นาที แล้วดูผล น้ำในแก้วจะร้อน แต่น้ำในกระทง กระดาษไม่ร้อน
ทีนี้เราก็สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับรูตะแกรงที่เจาะทั้งหมดได้แล้ว ว่าทั้งที่ฝาประตู และในช่องส่องไฟ ว่า คลื่นไมโครเวฟสามารถรั่วออกมาได้หรือไม่ (เราไม่สามารถกันคลื่นไมโครเวฟได้100 % เนื่องความสามารถ ในการชอนไชผ่านโลหะของคลื่นไมโครเวฟก็มีได้เช่นกัน หากเรายิ่งเจาะรูตะแกรงใหญ่ขึ้นเท่าใด โอกาสที่ คลื่นจะรั่วออกมาสู่ภายนอกเกินกว่ามาตรฐาน ที่ 5 mW/ตารางเซน ก็จะมีมากขึ้น ส่วนรูตะแกรงหลอดไฟเจาะใหญ่หน่อย เพราะยังมีฝาครอบด้านนอกป้องก้นไว้อีกชั้นหนึ่ง และต้องการให้แสงสว่างส่องในตู้ได้มากขึ้น
มดที่อยู่ในเตาจะไม่กระทบกระเทือนจากคลื่นไมโครเวฟเลย เพราะขนาดความยาวของตัวมดสั้นกว่าความยาวคลื่นของไมโครเวฟที่สุด (ประมาณ 3 ซม,) ที่สามารถจะรีโซแนนซ์ได้ โมเลกุลของน้ำในตัวมดจึงไม่กลับขั้วตามคลื่นไมโครเวฟ มดเลยไม่ตายเพราะสาเหตุนี้
มดอาจจะตายได้เนื่องมาจากความร้อนของข้าวที่ระอุร้อนขึ้น แต่มดก็มีทางเลือกหนี (พูดเหมือนกับเป็นมดเอง) เมื่อบนจานข้าวมันร้อน ก็ทำไมไม่เดินหนีไปอยู่นอกจาน ส่วนใดส่วนหนึ่งภายในตู้ก็ได้ แต่ถ้าหากความร้อนไม่มาก พอทนได้ แค่อุ่นข้าว นาทีสองนาทีไม่ร้อนเท่าใด กินข้าวต่อดีกว่า ฮ่า ๆ
http://www.klongtom.com/wb-ques.asp?qu=kt&idq=1917
จากคุณ :
ใบชาสีส้ม
- [
4 มี.ค. 49 09:43:01
]
|
|
|