ความคิดเห็นที่ 13
การตรวจความเป็นพ่อ-แม่-ลูกนั้น จะใช้การตรวจ DNA ตรงตำแหน่งที่เรียกว่า polymorphic marker หลายๆ ตำแหน่ง (เพื่อความแน่ใจว่าผลที่ออกมานั้นไม่ได้เหมือนเพราะความบังเอิญหรือ by chance นั่นเอง - รู้สึกว่าผมเคยอธิบายไปเมื่อนานมาแล้วในห้องนี้แหละ)
ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่า allele ก่อน, ที่ polymorphic marker แต่ละตำแหน่งอาจมีได้หลายรูปแบบซึ่งก็คือมีได้หลาย allele นั่นเอง (ส่วนใหญ่ที่ใช้น่าจะเป็น microsatellite แต่อย่างอื่นก็มี เช่น VNTR, SNP เป็นต้น รายละเอียดไม่พูดถึง เดี๋ยวงงกันไปใหญ่) ยกตัวอย่างเช่น ถ้านำคน 10 คนมาตรวจดู polymorphic marker ณ ตำแหน่งที่ 1 เราอาจพบว่าที่ตำแหน่งนี้มีความหลากหลายถึง 6 alleles (สมมุติเอง) ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 5, 6 ที่ตำแหน่งอื่นๆ ก็เช่นกัน แต่จำนวนความหลากหลายหรือจำนวน allele ที่พบนี้อาจไม่เท่ากัน
เนื่องจากว่าเรามี DNA กันคนละ 2 ชุด (2n) ดังนั้น ณ ตำแหน่ง polymorphic marker หนึ่งๆ จึงพบเพียง 2 alleles เช่น ณ ตำแหน่งที่ 1 ที่ยกตัวอย่างไปข้างต้น แม่อาจมีลักษณะ DNA ที่ตำแหน่งนี้เป็นแบบ (1,4) ส่วนพ่อมีแบบ (2,3) -ก็สมมุติอีกน่ะแหละ- เมื่อพิจารณาแบบนี้ไปสัก 5 ตำแหน่งเราก็อาจจะได้แบบนี้ แม่ พ่อ (1,4) (2,3) (2,3) (5,6) (1,2) (2,3) (1,3) (1,2) (2,2) (1,1)
การถ่ายทอด DNA จากพ่อแม่ไปสู่ลูกนั่น ลูกจะได้รับ DNA 50% มาจากแม่ และอีก 50% มาจากพ่อ นั่นคือ ณ ตำแหน่งหนึ่งๆ ลูกจะได้รับ 1 allele จากแม่ และอีก 1 allele จากพ่อ จากตัวอย่างข้างบน ณ ตำแหน่งที่ 1 ลูกอาจมีลักษณะ DNA ได้ถึง 4 แบบ ได้แก่ (1,2), (1,3), (4,2), (4,3) - allele ตัวหน้าได้จากแม่ ส่วนตัวหลังได้จากพ่อ - สมมุติว่าลูกคนนี้มีลักษณะ DNA ที่ตำแหน่งที่ 1 เป็นแบบ (1,3) และเมื่อพิจารณาแบบนี้ไปทั้ง 5 ตำแหน่งจะได้ (สมมุตินะ) แม่ พ่อ ลูก (1,4) (2,3) (1,3) (2,3) (5,6) (2,5) (1,2) (2,3) (1,3) (1,3) (1,2) (3,2) (2,2) (1,1) (2,1)
จะเห็นว่า ทุกๆ ตำแหน่งบน DNA ของลูกจะสามารถเทียบกลับไปได้เลยว่า ได้รับ allele แต่ละตัวมาจากพ่อหรือแม่ เช่น ตำแหน่งที่ 3 ลูกได้รับ 1 มาจากแม่ และได้รับ 3 มาจากพ่อ เป็นต้น นั่นคือ ถ้าเป็นลูกแท้ๆ เราจะไม่พบ mismatch เลย เว้นเสียแต่ว่า แม่-ลูกแท้ แต่พ่อไม่แท้ เราก็จะพบ mismatch ได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะต่างกัน ทุกตำแหน่ง ยกตัวอย่าง แม่ พ่อไม่แท้ ลูก (1,4) (2,2) (1,3) * (2,3) (3,6) (2,5) * (1,2) (1,3) (1,3) (1,3) (1,4) (3,2) * (2,2) (1,2) (2,1)
พ่อไม่แท้ที่ยกตัวอย่างนี้ ผมสมมุติให้มีลักษณะ DNA ต่างจากพ่อแท้ทุกตำแหน่ง (ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราอาจพบว่าเหมือนกันในบางตำแหน่งได้โดยความบังเอิญ) ตำแหน่งที่ทำดอกจันไว้คือตำแหน่งที่ mismatch หรือตำแหน่งที่ "ไม่เหมือน" เช่นตำแหน่งที่ 1 เราไม่สามารถอธิบายได้ว่า ลูกได้รับ allele 3 มาจากพ่อ (ไม่แท้)หรือแม่ เพราะทั้งพ่อ(ไม่แท้)และแม่ไม่มีใครมี allele 3 เลย ตำแหน่งที่ 2 กับ 4 ก็อธิบายแบบนี้เช่นเดียวกัน
ส่วนที่ตำแหน่ง 3 กับ 5 ที่เรียกว่า "เหมือน" นั้นเราจะเห็นว่า พ่อไม่แท้แม้จะมีลักษณะ DNA ต่างจากพ่อแท้ แต่ไม่ได้ต่างทั้งหมด นั่นคือ มี allele เหมือนกันตำแหน่งละ 1 allele เช่น ที่ตำแหน่ง 3 พ่อแท้มี (2,3) ส่วนพ่อไม่แท้มี (1,3) ก็เลยทำให้ดูเหมือนว่าลูกได้รับ allele 3 มาจากพ่อไม่แท้ ซึ่งจริงแล้วมันเป็นความเหมือนกันโดยบังเอิญ (ผมจึงบอกไว้ตั้งแต่แรกว่าต้องตรวจหลายๆ ตำแหน่ง) ตำแหน่งที่ 5 ก็อธิบายแบบนี้เช่นเดียวกัน
จะเห็นว่าแม้ไม่ใช้พ่อแท้ก็มี DNA บางตำแหน่งที่ "เหมือน" ได้ "โดยบังเอิญ"
จากคุณ :
Genoman
- [
11 พ.ค. 49 14:16:53
A:61.7.157.133 X: TicketID:097959
]
|
|
|