ความคิดเห็นที่ 2
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI หรือ Magnetic resonance imaging
เป็นนวัตกรรมใหม่ของการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ การทำงานของเครื่องมือนี้อาศัยหลักการการทำปฏิกิริยาของสนามแม่เหล็ก (Magnetic filed) และคลื่นวิทยุ (Radiofrequency pulse) กับอนุภาคโปรตอนในเนื้อเยื่อของร่างกาย และทำให้เกิดภาพที่สามารถมองเห็นความแตกต่างของเนื้อเยื่อแต่ละชนิดของอวัยวะต่าง ๆ อย่างชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการวินิจฉัย จากหลักการการทำงานของเครื่องมือนี้เอง ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยใช้เครื่องมือนี้จะปราศจากความเสี่ยงจากรังสีเอ็กซ์เรย์โดยสิ้นเชิง
แพทย์ผู้รักษาโรคหัวใจสามารถใช้เครื่องมือนี้ในการตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta), หลอดเลือดแดงขนาดกลาง (เช่น carotid artery), หลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (coronary artery), โรคของหลอดเลือดดำในปอด (pulmonary vessels), โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ, โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ, โรคของลิ้นหัวใจ รวมถึงพยาธิสภาพของหัวใจอันเนื่องจากโรคของอวัยวะอื่น ๆ เช่น พยาธิสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจอันเนื่องมาจากโรคโลหิตวิทยา (Sideroplastic myocardial disease) และการแพร่กระจายของเชลล์มะเร็งจากอวัยวะอื่นเข้าสู่หัวใจ เป็นต้น ผู้ป่วยทุกคนสามารถได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยเครื่อง MRI ได้เมื่อมีข้อบ่งชี้
ยกเว้นผู้ป่วยที่มีข้อห้ามดังต่อไปนี้ คือ
ผู้ป่วยที่ได้รับการฝังเครื่องกระตุ้น ( Pacemaker ) หรือเครื่องกระตุกหัวใจ ( AICD ) หรือได้รับการฝังอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะอยู่ในร่างกาย หญิงตั้งครรภ์โดยมีอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ และหญิงให้นมบุตร รวมทั้งผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นวิกฤต การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI จะใช้เวลาประมาณ 30 90 นาที ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค โดยก่อนการตรวจวินิจฉัย ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องดอาหารและน้ำแต่อย่างใด
**...!!!^_^!!!...**
จากคุณ :
pu_techno#25
- [
20 ก.ค. 49 16:24:31
A:202.28.21.4 X:
]
|
|
|