ความคิดเห็นที่ 29
อันนี้ลอกมาจากเว็บอื่น
--------------------------------------------------------------------------
ปลาปักเป้า มีพิษร้ายแรง...คำเดียวตาย??
สาธารณสุขเตือน "ปลาปักเป้า" มีพิษ งดกิน-อันตรายถึงตาย
นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนถึงอันตรายจากการรับประทานปลาปักเป้า ซึ่งเป็นปลาที่มีพิษ หากรับประทานเข้าไปมีอันตรายได้ จึงควรงดหรือไม่นำปลาชนิดนี้ มาทำอาหารรับประทาน เพราะความร้อนจากการหุงต้ม ทอด หรือเผาปลา ไม่สามารถทำให้หมดพิษหรือลดพิษลงได้ นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากกรณีอาหารเป็นพิษที่องค์การเภสัชกรรม พบผู้ป่วย 15 ราย ผลการสอบสวน พบว่า รับประทานเนื้อปลาที่ตรวจพบสารพิษ Tetrodotoxin ซึ่งเป็นสารพิษในปลาปักเป้า ปลาปักเป้าเป็นปลาที่พบได้ ทั้งในน้ำทะเลและน้ำจืด ในสภาพปกติธรรมดาปลาปักเป้า จะมีรูปร่างอย่างปลาทั่วไป แต่เมื่อถูกรบกวนจะพองตัวขึ้นมา ปลาปักเป้ามีประมาณ 150 ชนิด แต่ที่ทำให้เกิดพิษมีมากกว่า 50 ชนิด และพบในประเทศไทยประมาณ 20 ชนิด มีการจัดแบ่งปลาปักเป้าไว้ 2 ตระกูล คือ 1.ลักษณะผิวตัวค่อนข้างเกลี้ยง และ 2.ชนิดที่มีหนามรอบ ๆ เห็นชัดเจนกว่าชนิดแรก ส่วนพิษของปลาปักเป้านั้น จะมีพิษทั้งตัว แต่จะมีปริมาณสูงในเครื่องใน เช่น ตับ ลำไส้ รังไข่ เนื้อ และจะมีความเข้มข้นสูงสุดที่รังไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิษของปลาจะมีมากขึ้น ในฤดูปลาวางไข่ รองลงมา ได้แก่ ตับ
สารพิษที่พบในปลาปักเป้า คือ Tetrodonine หรือ Tetrodonic acid ซึ่งเมื่อผ่านกรรมวิธี ต่าง ๆ แล้ว ทำให้เกิดพิษ Tetrodotoxin เป็นพิษต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยมีอาการเกิดขึ้น หลังจากรับประทานปลาปักเป้าประมาณ 30 นาที ถึงหลายชั่วโมง แล้วแต่ปริมาณที่รับประทานเข้าไป โดยมีอาการ ชาปาก หน้า ปลายมือ ปลายเท้า คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเป็นอัมพาต หายใจลำบาก และเสียชีวิต
นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ กล่าวในตอนท้ายว่า ปัจจุบันนี้ ยังไม่มียาแก้พิษหรือยารักษาเฉพาะสำหรับสารพิษ Tetrodotoxin ผู้ป่วยทุกรายที่บริโภคปลาปักเป้าและมีอาการไม่สบายจะต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อรักษาตามอาการ โดยอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดจึงสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ และสารพิษนี้ ทนต่อความร้อนได้สูงกว่า 220 องศาเซลเซียส ดังนั้น การต้ม ทอด ย่าง เผา ไม่สามารถทำลายสารพิษได้ การป้องกันที่ดีที่สุด ซึ่งปฏิบัติได้ง่ายและทันที คือ ไม่บริโภคปลาปักเป้าทุกชนิด
ปลาปักเป้าอาศัยอยู่ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม และมีปลาปักเป้าจำนวน 50 ชนิดจาก 100 ชนิดที่มีพิษ พิษของปลาปักเป้าส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผิวหนัง ลำไส้และไข่ และจะมีพิษมากในช่วงฤดูวางไข่ ส่วนบริเวณเนื้อปลาอาจจะมีพิษอยู่เล็กน้อยเลยหรือไม่มีเลย สารพิษที่พบมีอยู่ 2 ชนิดคือ Tetrodonine และ Tetrodonic acid เมื่อผ่านกรรมวิธีต่างๆ แล้วจะได้สาร Tetrodotoxin เมื่อได้รับสารพิษชนิดนี้จากการกินปลาปักเป้า อาการจะเริ่มออกในเวลาประมาณ 30 นาทีจนถึงเป็นชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ อาการจะเริ่มตั้งแต่ ปาก, ลิ้นชา อาเจียน แขน-ขา ไม่มีแรง ผิวมีสีเขียวคล้ำ หมดสติ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา สาร Tetrodotoxin สามารถทนความร้อนได้ถึง 220 องศาเซลเซียส เพราะฉะนั้นการต้มหรือย่างไม่สามารถกำจัดสารนี้ออกไปได้ ผู้ที่ทำอาหารด้วยปลาปักเป้าจึงต้องมีความสามารถและมีความละเอียดรอบคอบเป็นอย่างมาก ในประเทศญี่ปุ่น ผู้ที่จะทำอาหารด้วยปลาปักเป้าจะต้องมีใบรับรองว่าสามารถประกอบอาหารด้วยปลาปักเป้าได้
ปลาปักเป้า
(puffer fish, globe fish, Fugu)
ที่มา : กลุ่มงานพิษวิทยา และสิ่งแวดล้อม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
--------------------------------------------------------------------------------
พบทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล มีประมาณ 100 ชนิด แต่ที่ทำให้เกิดพิษมีประมาณ 50 ชนิด และพบในประเทศไทยประมาณ 20 ชนิด เนื้อของปลาปักเป้าไม่มีพิษ หรือมีพิษน้อย พิษมีมากที่ไข่ ตับ กระเพาะ ลำไส้ ผิวหนัง และพิษของปลาจะเพิ่มมากขึ้นในฤดูปลาวางไข่
ปลาปักเป้าตามทฤษฎีจะเริ่มสะสม Toxin จากสาหร่ายอื่น ๆ ตัวมันไม่ได้ผลิตเอง เพราะฉะนั้นจึงมีรายงานว่าบางชนิดมีพิษ บางชนิดไม่มีพิษ แต่บางทฤษฎีบอกว่าตอนปลามีไข่อ่อนจะผลิตได้บ้าง
ตัวปลาปักเป้าไม่มี Receptor ที่ Sodium channel จึงไม่ Sensitive กับ Toxin
สารพิษ
สารที่แยกได้จากปลาปักเป้ามี 2 ชนิด คือ Tetrodonine และ Tetrodonic acid ซึ่งเมื่อผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ แล้วได้สาร Tetrodotoxin อาการพิษจากสาร Tetrodotoxin จะเกิดขึ้นหลังรับประทานปลาปักเป้าประมาณ 30 นาที ถึงหลายชั่วโมง แล้วแต่ปริมาณที่รับประทาน อาการที่เกิดขึ้นแบ่งเป็น 4 ขั้น คือ
ขั้นแรก ชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้ วิงเวียน อาเจียน กระสับกระส่าย
ขั้นที่สอง ชามากขึ้น อาเจียนมาก อ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรง ยืนและเดินไม่ได้
ขั้นที่สาม เคลื่อนไหวแขนขาไม่ได้ พูดลำบากจนถึงพูดไม่ได้ เนื่องจากสายกล่องเสียงเป็นอัมพาต ผู้ป่วยยังรู้สึกตัว
ขั้นที่สี่ กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตทั่วไป หายใจลำบาก เขียวคล้ำ หมดสติ รูม่านตาโตเต็มที่ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว
อาการอาจแรงขึ้นจากขั้นแรกถึงขั้นที่สี่ในเวลาเพียง 10-15 นาทีเท่านั้น
การรักษา
เนื่องจากยังไม่มียาแก้พิษจึงรักษาตามอาการ และเนื่องจากพิษจะถูกขับทางปัสสาวะ การให้ยาขับปัสสาวะจะช่วยให้พิษถูกขจัดออกได้เร็วขึ้น
ยาเสตียรอยด์มีประโยชน์ในการลดอาการบวมของสมอง
คุณสมบัติของสาร Tetrodotoxin
ชื่ออื่น ๆ TTX, maculotoxin, sheroidine, tarichatoxin, fugu poison
สูตรโครงสร้าง C11H17O8N3
น้ำหนักโมเลกุล 319.28
สารพิษนี้ทนต่อความร้อนสูงกว่า 200 C การต้ม, ทอด, ย่าง ไม่สามารถทำลายสารนี้ได้ ในสภาพ pH เป็นกรด พิษจะอยู่ได้นานแต่จะสลายตัวได้เร็วใน pH ที่เป็นด่าง
ค่าความเป็นพิษ LD50 i.p. in mice 8-10 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อัตราการตายจากคนที่กินแล้วเกิดอาการ 60%
เอกสารอ้างอิง
จินดารัตน์ ทรัพย์เกิด. 1993. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะปลาปักเป้าเป็นพิษ. Roi-t, Kalasin. Mahasarakham hospital Medical Journal. vol 1, no.1 หน้า 69-80. สุรศักดิ์ พุ่มมณี. 2530. สัตว์น้ำมีพิษ. ความรู้เกี่ยวกับสิ่งเป็นพิษ ตอนที่ 3 กองพิษวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หน้า 4-5. John Doull et. Al. 1975. Toxicology. 2nd ed. Macmillan Publishing Co., Inc. New York. P.563. Susan Budavari, et. al. 1989. The Merck Index. 11th ed. Merck & Co., Inc. U.S.A. p.1456
http://wwwnno.moph.go.th/ssj/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=109
จากคุณ :
noriko saki
- [
10 ก.ย. 49 15:18:41
]
|
|
|