ความคิดเห็นที่ 2
ว่าด้วย ดาราคติ (ราศี, นักขัตฤกษ์)
ในยามค่ำคืน เมื่อแหงนดูท้องฟ้าสังเกตด้วยตาเปล่า เราจะพบ ดาวอยู่ 2 ประเภท ประเภทหนึ่งแทบไม่มีการเคลื่อนที่ และอีกประเภทหนึ่ง มีการเคลื่อนที่
ดาวที่แทบไม่มีการเคลื่อนที่ จะเรียกกว้างๆ ว่า หมู่ดาวฤกษ์ สำหรับ ดาวที่มีการเคลื่อนที่ซึ่งจะสังเกตเห็นได้โดยตาเปล่าจะมีอยู่ทั้งหมด 7 ดวง คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ และ รวมกับอีก ราหู และ เกตุ รวมเรียกว่า ดาวนพเคราะห์ (Nine Grahas)
(**แม้พระอาทิตย์สมัยปัจจุบันถือเป็นดาวฤกษ์อย่างหนึ่ง อีกทั้ง ราหูและเกตุ จะไม่ใช่ดาวก็ตาม **)
คนโบราณได้สังเกต และทราบถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเช่นนี้ จึงใช้ หมู่ดาวที่เป็นฉากพื้นหลังนั้น มาเป็นเครื่องมือในการวัดบอกตำแหน่งการเปลี่ยนแปลงของดาวนพเคราะห์
พระอาทิตย์นั้น เมื่อสังเกตดู จะพบแนวเส้นทางเคลื่อนที่จะเกิดเป็นเส้นทางอยู่เส้นทางหนึ่ง กำหนดเรียกเส้นนี้ว่า สุริยวิถี (Ecliptic Line) โดยเส้นสุริยวิถี ก็ได้ทอดผ่านหมู่ดาวฤกษ์เบื้องหลัง หากเทียบไปจนครบรอบ ไปทีละเดือนๆ (ข้างขึ้นข้างแรม) ก็จะปรากฏประมาณได้อยู่ 12 กลุ่มดาว ก็จะกลับมาอยู่ที่เดิม
โบราณาจารย์ จึงมีการจัดระเบียบหมู่ดาวที่พระอาทิตย์พาดผ่านเสียใหม่ แบ่ง 1 รอบปีดาราคติเป็น 12 ส่วนเท่าๆ กัน เรียกหมู่ดาวฤกษ์แต่ละกลุ่มนี้ใหม่ ว่า ราศี (Rashi, Zodiac)
ส่วนหมู่ดาวอื่นๆ ที่เหลือที่ไม่ได้อยู่ในแนวสุริยวิถีก็ไม่เรียกว่า ราศี แต่จะเห็นเป็นกลุ่มดาว และมีการกำหนดเรียกชื่อ หมู่ดาว เป็นชื่อต่างๆ ตามแต่จินตนาการและความสร้างสรรค์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสังเกตหาทิศทาง และ ฤดูกาล ในตามค่ำคืนเดือนมืดได้
ด้วยระยะปีการกลับมาของพระอาทิตย์เทียบราศี กินเวลาอยู่ราว 365-366 วัน เพื่อความสะดวกในระบบเลข จึงได้แบ่ง ระยะวันในรอบปีนี้ใหม่เป็น 360 ส่วนเท่าๆกัน เรียกแต่ละส่วนของรอบปีนี้ใหม่ว่า องศา (Ongsa, Degree)
ในสมัยยังไม่เกิดระบบเลขทศนิยม คนโบราณได้รู้จักแบ่ง สัดส่วนย่อยขององศา ออกเป็น 60 ส่วนเท่าๆกัน เรียกว่า ลิปดา (Minute) และ แบ่ง ลิปดา ออกเป็นย่อยอีก 60 ส่วนเท่าๆ กันเรียกว่า วิลิปดา หรือ ฟิลิปดา ( Second )
ฉะนั้น 12 ราศี = 360 องศา หรือ 1 ราศี = 30 องศา และ 1 องศา = 60 ลิปดา และ 1 ลิปดา = 60 ฟิลิปดา
สำหรับดาวเคราะห์อื่นๆ ที่เหลือ แนวทางโคจร เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะอยู่ใกล้เคียงกับแนวสุริยวิถี ฉะนั้น จึงใช้ หน่วยวัดมุมเชิง ราศี-องศา-ลิปดา-ฟิลิปดา จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือบอกตำแหน่งดาวนพเคราะห์ได้เช่นกัน และใช้เรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั่วทุกมุมโลก
เค้าคงจะอ้างอิงมาจากตรงนี้แหละ
จากคุณ :
<< trepXe <<
- [
8 พ.ย. 49 18:54:11
]
|
|
|