ประโยคที่ว่า "ไม่เชื่ออย่าลบหลู่" มีลักษณะเป็นประโยคปิด ตีความได้หลายแง่เพราะลบหลู่คืออะไร ค่านิยมแบบนี้ก็เห็นมีแต่ในเมืองไทย ไม่มีสำนวนนี้ในภาษาอังกฤษ ไม่มีใครทราบได้แน่ บางคนก็ว่าการสงสัย การตั้งคำถามคือการลบหลู่แล้ว จึงทำให้สังคมบางส่วนเกิดความคิดว่าถ้าเชื่อแล้วเชื่อเลยห้ามสงสัยแม้จะสงสัยในแง่ดีก็ตามก็ถือว่าลบหลู่ได้
น่าจะเปลี่ยนเป็น "ไม่เชื่อต้องพิสูจน์" มากกว่าเพราะเป็นประโยคเปิด คือเปิดกว้างในหลาย ๆ มุมมองและที่สำคัญไม่ต้องทำให้ใครถูกมองว่าเป็นคนไม่ดีเพราะว่าลบหลู่ เพราะการพิสูจน์ก็แล้วแต่วิธีของแต่ล่ะคนแล้วจะเชื่อหรือไม่อย่างไรก็ไม่มีอะไรผิดหรือแปลกเพราะอย่างน้อยก็ได้ผ่านการพิสูจน์แล้ว
เราจึงมาเถียงกันในเรื่องการพิสูจน์แทน ทำให้ไม่ต้องไปเถียงในสิ่งที่เป็นตัวตนที่เรากำลังเชื่อหรือไม่ ทำให้ความขัดแย้งในสังคมนั้นลดลงไปอย่างมีเหตุผล
แต่ไม่เชื่อโดยไม่ลบหลู่นั่นบอกไม่ได้ว่า ไม่ลบหลู่อย่างไรถึงเชื่อ มันอธิบายได้ยาก อย่างน้อยก็สร้างแนวคิดและหลักการเรียนรู้ของคนในสังคมได้ ดีกว่าให้คนตีความคำว่าลบหลู่ไปต่าง ๆ ซึ่งหาคำจำกัดความไม่ได้ว่า อะไรคือการลบหลู่
วิธีคิดของสังคมไทยที่ยึดแนวทางอย่าลบหลู่เป็นหลักแทนที่จะยึดแนวทางพิสูจน์เป็นหลักนั้นจึงทำให้สังคมคลุมเครือและหาแนวทางในหลาย ๆ เรื่องไม่ได้ชัด มีปัญหาสังคมมาก เช่นข่าวที่เราได้ยินเสมอ คนบ้านนอกที่เจ็บป่วยมาก ๆ ไม่รู้สาเหตุก็ว่าผีปอป ผีกระสือเข้า เพราะการยึดแนวคิดที่ว่าอย่าลบหลู่ทำให้ขาดการเรียนรู้ที่จะหาคำตอบที่สามารถทำได้จริง ๆ เสียก่อน ก่อนจะเชื่อผีปอป ซึ่งไม่จำเป็นว่าผีปอปจะไม่มี อาจจะมีจริง แต่แนวคิดนี้ทำให้ตัดตอนกระบวนการเรียนรู้แก้ปัญหาของชาวบ้านที่ควรจะทำในสิ่งที่ดีกว่าเช่น หาหมอสมัยใหม่รักษาแทนไปหาหมอผี
การพยายามพัฒนาการศึกษาบ้านเราให้ก้าวหน้าจึงทำได้ลำบาก สังเกตจากวิชาคณิตศาสตร์บ้านเราที่เรียนเน้นแทนค่าใส่สูตรแล้วตอบ แต่เมืองนอกเน้นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามบทนิยาม เราควรจะเปลี่ยนวิธีคิดเสียใหม่และเลิกคำพูดคำนี้ไปได้แล้ว
.......ก็ว่ากันไป
จากคุณ :
1p2m
- [
28 ก.พ. 50 10:43:49
]